ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการผลิต ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เพื่อการค้าของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน, ประเทศไทย

Main Article Content

ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
วุฒิชัย คำดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการผลิตไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เพื่อการค้าของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน จำนวน 200 ราย คำนวณโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ระดับ 0.05 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์โลจิสติก ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 46.50 ปี การศึกษาประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เฉลี่ย 4.55 ปี มีรายได้จากการเลี้ยงไก่เฉลี่ยปีละ 67,628.30 บาท โดยจะจำหน่ายในระยะไก่รุ่นแบบชั่งตามน้ำหนัก ราคาเฉลี่ย 101.33 บาท/กิโลกรัม ในปี พ.ศ.2562 เกษตรกรเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เฉลี่ย 439.70 ตัว เลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อยอิสระโดยใช้อาหารสัตว์สำเร็จรูปเป็นหลักและทำวัคซีนสม่ำเสมอ ทั้งนี้บุตรของเกษตรกรส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะสืบทอดอาชีพการเลี้ยงไก่ต่อรุ่นพ่อแม่ อย่างไรก็ตามเกษตรกรประสบปัญหาพื้นที่โรงเรือนคับแคบ การไม่มีพ่อแม่พันธุ์ที่ดี และไม่มีเงินทุนหมุนเวียน โดยเกษตรกรต้องการให้มีการกำหนดราคาจำหน่ายที่แน่นอน มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และการส่งเสริมช่องทางการตลาด ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้และการปฏิบัติในการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ที่ถูกต้องอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ลักษณะวิธีการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่และความยั่งยืนในการประกอบอาชีพของเกษตรกรมีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เจนรงค์ คำมงคุณ, ดรุณี โสภา และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2558. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เมื่อเลี้ยงในระบบขังคอกและปล่อยอิสระ. แก่นเกษตร. 43(ฉบับพิเศษ 1): 231-236.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. 2555. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Research Methodology in social Science). พิมพ์ครั้งที่ 1. ตาก: โพรเจ็คท์ไฟฟ์-โฟว์.

ดนัยศักดิ์ เย็นใจ และศิรพงศ์ มาสำราญ. 2563. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ไก่พื้นเมืองจังหวัดระยอง. แหล่งข้อมูล: http://region2.dld.go.th/webnew/images/GM_2562/DOC /2563-04/6304131.pdf. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.

ธิรดา วงษ์กุดเลาะ, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2562. แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 1): 1017-1022.

เบญจมาศ พันธุ์ดี และนิวัฒน์ มาศวรรณา. 2555. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงตามระบบจัดการคุณภาพเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ. แก่นเกษตร. 40(ฉบับพิเศษ 1): 321-326.

ลำพล ศรีดอนชัย. 2561. การวิเคราะห์ศักยภาพของการผลิตไก่ประดู่หางดำ. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สิน พันธุ์พินิจ. 2554. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สำนักพิมพ์ วิทยพัฒน์ จำกัด.

สำนักงานปศุสัตว์เขต 5. 2562. โครงการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการผลิตไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เพื่อการค้า. (อัดสำเนา).

อังคณาภรณ์ พงษ์ด้วง, โปรดปราน ทาเขียว, สัญชัย จตุรสิทธา, อภิรักษ์ เพียรมงคล และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2556. คุณภาพการบริโภค กลิ่นและรสชาติของเนื้อไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ไก่ลูกผสมประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 และไก่กระทง. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 30(2): 37-46.

อำนวย เลี้ยวธารากุล, ศิริพันธ์ โมราถบ และชาตรี ประทุม. 2552. แนวทางสร้างการรับรู้ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ในกลุ่มผู้บริโภค. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ.

Jaturasitha, S., T. Srikanchai, M. Kreuzer, and M. Wicke. 2008. Differences in Carcass and Meat Characteristics Between Chicken Indigenous to Northern Thailand (Black-Boned and Thai Native) and Imported Extensive Breeds (Bresse and Rhode Island Red). Poultry Science. 87(1): 160-169.