ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยธาตุอาหารพืชที่แตกต่างกันต่อ ความงอก ความแข็งแรง และการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศลูกผสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศมีขนาดเล็ก รูปร่างแบน บาง ขนาดเบา และอาหารสะสมในเมล็ดน้อย การพอกเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะการพอกร่วมกับธาตุอาหารพืชเป็นวิธีการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ให้สูงขึ้น ทำให้ต้นกล้าสามารถเจริญเติบโตและสม่ำเสมอมากขึ้น การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของธาตุอาหารพืชในการพอกเมล็ดที่มีผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศมาพอกโดยใช้ calcium sulfate อัตรา 100 กรัม ต่อเมล็ด15 กรัม และใช้ Methyl hydroxylethyl cellulose ที่ความเข็มข้น 0.7% โดยน้ำหนักเป็นวัสดุประสาน นำมาพอกร่วมกับธาตุอาหารพืชโดยแบ่งออกได้เป็น 8 กรรมวิธี คือเมล็ดไม่พอก, การพอกเมล็ดปราศจากธาตุอาหารพืช, การพอกเมล็ดร่วมกับสูตรที่ (F1) และสูตรที่ (F2) สูตรละ 3 ความเข้มข้น ที่ความเข้มข้น1, 2 และ 3 เท่าตามลำดับ (M1, M2 และ M3) (F1M1, F1M2, F1M3 และ F2M1,F2M2,F2M3) โดยทุกกรรมวิธีใช้ธาตุอาหารพืชอัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ 15 กรัม ผลการทดลองพบว่าการพอกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศร่วมกับธาตุอาหารพืชทั้ง 2 สูตร ไม่ทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์แตกต่างกันกับเมล็ดที่ไม่ได้พอกเมื่อตรวจสอบทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง ด้านการเจริญเติบโตพบว่าการพอกเมล็ดร่วมกับธาตุอาหารพืชทุกกรรมวิธีการทำให้ต้นกล้ามีความยาวต้น น้ำหนักแห้งต้น และความยาวรากเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเมล็ดไม่พอก ซึ่งผลการทดลองนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการเร่งอายุ จากการทดลองนี้สรุปได้ว่าการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชสูตร F1M3 ทำให้คุณภาพเมล็ดพันธุ์ และการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่พอก
Article Details
References
กิตติวรรณ กล้ารอด. 2559. ผลของตำรับสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชต่อคุณภาพเมล็ดและอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2557. อิทธิพลของวัสดุประสานที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการพอกเมล็ด ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย. แก่นเกษตร, 42: 201-210.
ดวงกมล ศรีราจันทร์ และเตชิษฐ์ ประสิทธิ์วุฒิเวช. 2549. การพัฒนาตำรับพญายอสำหรับใช้ภายนอก. โครงการพิเศษ ปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
ธรรมนูญ ฤทธิ์มณี. 2526. ยาสูบ. กรุงสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 202 หน้า.นงนุช แสงหิน. 2557. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก ด้วยฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์การเจริญเติบโตขอต้นกล้าและการผลิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
บุญมี ศิริ. 2552. วิทยาการเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 234 หน้า
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานา, ขอนแก่น. 239 หน้า.
ภาณี ทองพำนัก, วุฒิชัย ทองดอนแอ, ประภาส ประเสริฐสูงเนิน, กนิษฐา สังคะหะ และญาณี มั่นอ้น. 2540. การเคลือบและการพอกเมล็ดพันธุ์พืชและการใช้ประโยชน์. รายงานผลวิจัยทุนอุดหนุนวิจัยปี 2540 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วัชลาวลี ทองจันทร์, นิวัต เหลืองชัยศรี และ บุญมี ศิริ. 2561. ผลของการพอกเมล็ดพันธ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อความ งอกและการเจริญเติบโตต้นกล้าของมะเขือเทศลูกผสม. แก่นเกษตร, 46: 487-496.
ศศิประภา บัวแก้ว และบุญมี ศิริ. 2561. ลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธ์ผักกาดหอมหลังการพอกด้วยวัสดุประสานและวัสดุพอกที่แตกต่างกัน. แก่นเกษตร, 46: 469-480.
สันติภาพ ไชยสาร และบุญมี ศิริ. 2561. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพของมะเขือเทศลูกผสม. น. 1-12. ใน: การประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 15 19-21 มิถุนายน 2561. ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ, เชียงใหม่.
สันติภาพ ไชยสาร, จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2561. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุประสานชนิดแตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพของก้อนพอก และคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม. แก่นเกษตร, 46: 36-42.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2560. สถิติการค้าการค้าสินค้าเกษตรไทยไปกับต่างประเทศ ปี 2560. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
สุริยา ตราชู. 2559. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยธาตุอาหารพืชที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
Al-Maskri, Y., M. Khan, A. Khan, and K. Al-Habsi. 2003. Effect of accelerated ageing on viability, vigor (RGR), lipid peroxidation and leakage in carrot (Daucuscarota L.) seeds. International Journal of Agriculture and Biology, 5:580-584.
Bewley, J.D., K.J. Bradford, H.W.M. Hilhorst, and H. Nonogaki. 2013. Seeds Physiology of Development, Germination and Dormancy. 3th Edition. New York, Springer.Gawande, M., S.C. Mohapatra, and W.H. Johnson. 1980. Effect of seed size and pelletization on tobacco seed germination under varying temperature regimes. Tobacco Science, 24: 49-52.
George, J.H, and C.H. Robert. 2015. Nutrient solution formulation for hydroponic (Perlite, Rockwool, NFT) tomatoes in florida. Available: http://edis.ifas.ufl.edu. Accessed December 18, 2018.
Gidrol, X., P.A. Sabelli, Y.S. Fern, and A.K. Kush. 1990. Annexin–like protein from Arabidopsis thaliana rescues delta oxyR mutant of Escherichia coli from H2O2 stress. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 93: 11268-11273.
Gregg, B.R, and G.L. Billups. 2010. Seed condition. 3th edition. P.O. Box 699, Enfield, HN 03748, USA
Hoagland, D.R, and Arnon, D.I. 1938. The water culture method for growing plants without soil. California Agricultural Experiment Station Circulation, 347: 1-39.
Huett, D.O, and E.B. Dettmann. 1991. Nitrogen response surface models of zucchini squash, head lettuce and potato. Plant and Soil, 134: 243-254.
ISTA. 2013. International Rules for Seed Testing, Seed Science and technology. Glattbrugg, Switzerland.Jensen, H, and J. Malter. 1995. Protected agriculture a Global review merle. The International Bank for Reconstruction and Development/The World Bank 1818 H Street, N.W.Washington, D.C. 20433, U.S.A.
Kaewnareea, P., S. Vichitphan, P. Klanrit, B. Siri and K. Vichitphan. 2008. Electrolyte leakage and fatty acid changing association in accelerated aging sweet pepper seed. Journal of Biotechnology,136: 149-149.
Kangsopa, J, and B. Siri. 2017. Seed germination and seedling growth of lettuce after seed pelleting with zinc. Khon Kaen Agriculture Journa, 45: 553-560.
Kapoor, N., A. Arya, M.A. Siddiqui, H. Kumar, and Amir, A. 2011. Physiological and biochemical changes during seed deterioration in aged seeds of rice (Oryza sativa L.) American Journal of Plant Physiology, 6:28-35.
Lee, J., R. Welti, M. Roth, W. T. Schapaugh, J. Li, and H.N. Trick. 2012. Enhanced seed viability and lipid compositional changes during natural ageing by suppressing phospholipase Dalpha in soybean seed. Plant Biotechnology Journal, 10: 164-173
Lehner, A., N. Mamadou, P. Poels, D. Côme, C. Bailly, and F. Corbineau. 2008. Changes in soluble carbohydrates, lipid peroxidation and antioxidant enzyme activities in the embryo during ageing in wheat grains. Journal of Cereal Science, 47: 555-565.
Mao, D.R., M.J. Lock, and X.R. Wang. 1980. On a summer maize experiment with fertilizer seed pelleting. J o u r n a l Acta Agriculturae, 1: 45-46.
Marschner, H. 1995. Mineral Nutrition of Higher Plants. San Diego, CA: Academic; Press, 379–396.Maynard, D.N, and G.J. Hochmuth. 2007. Handbook of vegetable growers. 5th edition. John Wiley and Sons, Inc.
Mosavi, N.M., H. Gholami, G.H. Kord, M. Sadeghi, and E. Sedighi. 2011. Free fatty acid and electrical c o n d u c t i v i t y changes in cotton seed (Gossypium hirsutum). International Journal of Agricultural Science, 1: 62-66.
Murthy, U.N, and W.Q. Sun. 2000. Protein modification by the Amadori and Maillard reactions during seed storage: roles of sugar hydrolysis and lipid peroxidation. Journal of Experimental Botany, 51:1221-1228.
Niu,Y., Y. Xu, X.F. Liu, S.X. Yang, S.P. Wei, F.T. Xie, and Y.M. Zhang. 2013. Association mapping for seed size and shape traits in soybean cultivars. Molecular Breeding, 31: 785-794.
Parkhey, S., S.C. Naithani, and S. Keshavkant. 2012. ROS production and lipid catabolism in desiccating Shorea robusta seeds during aging. Plant Physiology and Biochemistry, 57: 261-267.
Ponnusamy, A.S., J. Vijaya, V. Krishnasamy, and K. Raja. 2003. Economics of seed hardening and pelleting treatment with productivity of black gram. ICAR Short Course on Seed Hardening and Pelleting Technologies for Rainfed/Garden land Ecosystems, May 27-June 5, Tamil Nadu Agricultural University, Coimbatore, p.213.
Shashibhaskar, M.S., S.N. Vasudevan, Nagabhushan, and V. Ramanjinappa. 2011. Effect of seed pelleting treatment on growth, seed yield and quality of tomato (Lycopersicum esculentum Mill.) CV.PKM-1. Plant Archives, 11: 443-445.
Smith, S, and D. Read. 2008. Mycorrhizal Symbiosis. 9th Edition. Academic Press.Soltani, E., S. Galeshi, B. Kamkar, and F. Akramghaderi. 2008. Modeling seed aging effects on the response of germination to temperature in wheat. Seed Science and Biotechnology, 2: 32-36.
Tian, X., S. Song, and Y. Lei. 2008. Cell death and reactive oxigen species metabolism during acceleratedageing of soybean axes. Russian Journal of Plant Physiology, 55: 33-40.
Yamazaki, K. 1982. Soilless Culture (in Japanese). Tokyo, Japan: Hakuyu Press.Zelko, N., T.J. Mariani, and R.J. Folz. 2002. Superoxide dismutase multigene family: a comparison of the CuZn-SOD (SOD1), Mn-SOD (SOD2), and EC-SOD (SOD3) gene structures, evolution, and expression. Free radical biology and medicine, 33(3):337-349.
Zenk, P. 2004. Seed coatings get serious. Available: http://farmindustrynews.com/mag/ Accessed February 1, 2004.