การเปรียบเทียบศักยภาพทางชีวมวลในสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด

Main Article Content

อนุรักษ์ อรัญญนาค
สินีนาฎ เกิดทรัพย์
พัชรินทร์ ตัญญะ
พรศิริ เลี้ยงสกุล
พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์

บทคัดย่อ

การผสมข้ามชนิดอาจนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำให้มีศักยภาพทางชีวมวลสูง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโต ผลผลิตชีวมวล คุณภาพเนื้อไม้ และการฟื้นตัวหลังการตัดฟันของสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด โดยปลูกทดสอบสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด ร่วมกับสบู่ดำ และเข็มปัตตาเวีย จำนวนรวม 27 สายพันธุ์ เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิตชีวมวล คุณภาพเนื้อไม้ และการฟื้นตัวหลังการตัดฟัน ผลการทดลองพบความแปรปรวนของทุกลักษณะที่ทำการศึกษา ลูกผสมข้ามชนิดของสบู่ดำส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโต ผลผลิตชีวมวลและคุณภาพเนื้อไม้ดีกว่าสบู่ดำ โดยลูกผสมระหว่างสบู่ดำกับเข็มปัตตาเวียมีศักยภาพด้านชีวมวลและความสามารถในการฟื้นตัวหลังตัดฟันดีกว่าลูกผสมระหว่างสบู่ดำกับฝิ่นต้น ดังนั้น การผสมข้ามชนิดระหว่างสบู่ดำกับเข็มปัตตาเวียจึงมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำเพื่อให้ได้พืชพลังงานชีวมวล

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

พุฒิชาติ คิดหาทอง, วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์ และ อัจฉริยา สุริยะวงค์. 2557. การศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ของชีวมวลสำหรับผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย. วารสารวิจัยพลังงาน. 11: 63-76.

มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์, เกษม หฤทัยธนาสันติ์, เอกพงษ์ ธนะวัติ, ศักดา พรมเลิศ และเอกชัย บ่ายแสงจันทร์. 2553. ศักยภาพของกระถินยักษ์ ยูคาลิปตัส กระถินเทพา และกระถินเทพณรงค์ในการปลูกเป็นสวนป่าพืชพลังงาน. น. 579-586. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553. กรุงเทพมหานคร.

วิไลรัตน์ ฤกษ์วิรี, อนุรักษ์ อรัญญนาค, พัชรินทร์ ตัญญะ, พรศิริ เลี้ยงสกุล และ พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2561. การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตเมล็ดและชีวมวลในสบู่ดาลูกผสม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49 : 361-364.

สินีนาฎ เกิดทรัพย์, พัชรินทร์ ตัญญะ, พรศิริ เลี ้ยงสกุล และ อนุรักษ์ อรัญญนาค. 2559. ศักยภาพผลผลิตเนื้อไม้ของลูกผสมข้ามชนิดในพืชสกุล Jatropha. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 47: 361-364.

อนุรักษ์ อรัญญนาค, พัชรินทร์ ตัญญะ, พรศิริ เลี้ยงสกลุ และ พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2561. การประเมินผลผลิตและชีวมวลในสบู่ดำลูกผสมภายในชนิดและลูกผสมข้ามชนิด. แก่นเกษตร. 46 : 1191-1202.

Barghini, E., R.M. Cossu, A. Cavallini, and T. Giordani. 2015. Transcriptome analysis of response to drought in poplar interspecific hybrids. Genomics Data. 3: 143–145.

Brewbaker, J.L. 2013. ‘KX4-Hawaii’, seedless interspecific hybrid Leucaena. HortScience. 48: 390–391.

Gramlich, S., N.D. Wagner, and E. Hörandl. 2018. RAD-seq reveals genetic structure of the F2-generation of natural willow hybrids (Salix L.) and a great potential for interspecific introgression. BMC Plant Biology. 18: 317-329.

Laosatit, K., P. Tanya, N. Muakrong, and P. Srinives. 2014. Development of interspecific and intergeneric hybrids among jatropha-related species and verification of the hybrids using EST–SSR markers. Plant Genetic Resources: Characterization and Utilization. 12: S58–S61.

Muakrong, N., K. Thida One, P. Tanya, and P. Srinives. 2014. Interspecific jatropha hybrid as a new promising source of woody biomass. Plant Genetic Resources: Characterization and Utilization. 12: 17 – 20.

Na-ek, Y., A. Wongkaew, T. Phumichai, N. Kongsiri, R. Kaveeta, T. reewongchai, and C. Phumichai. 2011. Genetic diversity of physic nut (Jatropha curcas L.) revealed by SSR markers. Journal of Crop Science and Biotechnology. 14: 105-110.

Santoso, B.B., I.G.M.A. Parwata, S. Susanto, and B.S. Purwoko. 2016. Yield Performance of Jatropha curcas L. after pruning during five years production cycles in North Lombok dry land, Indonesia. Global Advanced Research Journal of Agricultural Science. 5: 103-109.

Sumathi, M., and Y. Ramasamy. 2017. Microsatellite allele length variations in inter-specific hybrids of Eucalyptus. Acta Botanica Croatica 76: 103–106.