การเสริมแบคทีเรียโปรไบโอติกเอนเทอโรคอคคัส อีทาลิคัส (Enterococcus italicus) ในแม่สุกรระยะอุ้มท้องต่อภูมิคุ้มกันการติดโรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (Porcine Epidemic Diarrhea) ของลูกสุกรระยะดูดนม

Main Article Content

จารุณี เกษรพิกุล
สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล

บทคัดย่อ

การติดเชื้อไวรัสโรคท้องร่วงติดต่อในสุกรหรือพีอีดี (Porcine Epidemic Diarrhea: PED) สามารถก่อให้เกิดโรคได้ในสุกรทุกช่วงอายุ โดยลูกสุกรแรกเกิดมักมีอัตราการตายเกือบร้อยละ 100 และในลูกสุกรระยะดูดนมจะมีอัตราการตายถึงร้อยละ 80 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมแบคทีเรียโปรไบโอติกเอนเทอโรคอคคัส อีทาลิคัส (Enterococcus italicus) ให้แม่สุกรระยะอุ้มท้อง เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันของลูกสุกรดูดนมที่ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสพีอีดี โดยทำการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ซึ่งเป็นแม่สุกรระยะอุ้มท้องครั้งแรก จำนวน 18 ตัว แบ่งแม่สุกรออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 3 ตัว ทั้งนี้วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design: CRD) โดยให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม และให้น้ำแบบกินได้เต็มที่ตลอดเวลา ทำการแบ่งกลุ่มทดลอง ดังนี้กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ให้อาหารสำเร็จรูปแต่เพียงอย่างเดียว และ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลอง ให้อาหารสำเร็จรูปที่ผสมกับโปรไบโอติกส์ ไม่น้อยกว่า 1X106 ซีเอฟยูต่อกรัมของอาหาร (CFU/g) ตลอดระยะเวลาเลี้ยง การอุ้มท้อง การคลอด และระยะการให้นมของสุกรแม่พันธุ์ โดยก่อนถึงกำหนดคลอด 2 สัปดาห์ ทำการป้อนเชื้อพีอีดีจากลำไส้ลูกสุกรที่มีการป่วยแก่แม่สุกร และเมื่อลูกสุกรคลอด ทำการสุ่มลูกสุกร อายุ 3 วันจากแต่ละกลุ่ม เป็นจำนวนกลุ่มละ 27 ตัว ทำการป้อนเชื้อพีอีดี สังเกตอาการลูกสุกร จากนั้นเจาะเก็บเลือดเพื่อแยกซีรั่มหลังจากป้อนเชื้อพีอีดีแล้ว 3 วัน เพื่อตรวจดูระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อไวรัสพีอีดี โดยวิธี Immunoperoxidase monolayer assay (IPMA) ตัวอย่างละ 3 ซ้ำ รวมกลุ่มละ 81 ตัวอย่าง ผลการทดสอบพบว่าลูกสุกรกลุ่มที่ 2 มีอาการแสดงทางคลินิก และอัตราการตายน้อยกว่าลูกสุกรกลุ่มที่ 1 และมีระดับค่าภูมิคุ้มกัน (Antibody titer) ต่อเชื้อพีอีดีสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แสดงว่าลูกสุกรได้รับภูมิคุ้มกันมาจากแม่ผ่านทางน้ำนมน้ำเหลือง โดยแม่สุกรที่ได้รับอาหารสำเร็จรูปที่ผสมกับแบคทีเรียโปรไบโอติก Enterococcus italicus สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันผ่านทางนมน้ำเหลืองได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารสำเร็จรูปแต่เพียงอย่างเดียว

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จารุณี เกษรพิกุล และ สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล. 2554. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การแยกเชื้อแบคทีเรียโปรไบโอติกส์จากช่องจมูกลูกสุกร. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันดี ศิริโชคชัชวาล. 2559. การคัดเลือกสายพันธุ์แบคทีเรียกรดแลคติกจากสุกรเพื่อต่อต้านแบคทีเรียก่อโรคและไวรัส porcine epidemic diarrhea (PED). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย. แนวทางการปฏิบัติงานทางคลินิกต่อปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสพีอีดีในประเทศไทย ครั้ง 1: สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย, 2558.

ส่วนระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์. 2557. Porcine epidemic diarrhea (PED) แหล่งข้อมูล: http://region7.dld.go.th/DControl/Data/Disease/Pig/PED.pdf ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564.

สุจิรา ปาจริยานนท์. 2541. โรคท้องเสียในสุกรที่เกิดจากเชื้อไวรัส. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ แหล่งข้อมูล: http://niah.dld.go.th/th/AnimalDisease/pig_diarhea.htm#viro. ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564.

สุพล เลื่องยศลือชากุล. 2558. วิเคราะห์สภาพการณ์ปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสพีอีดีในลูกสุกรดูดนม. จุลสารโรงพยาบาลปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม. มกราคม - พฤษภาคม 2558. แหล่งข้อมูล: https://www.swinethailand.com/15349982/ ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564.

Chalorsuntisakul, S., J. Sirithunyalug, C. Chaiyasut, W. Aengwanich, T. Pewnim. 2010. Effect of synbiotics on caecal morphology and lesion score in broilers infected with Eimeria tenella. Avian Biology Research. 3: 187-190.

Decaluwé, R., D. Maes, B. Wuyts, A. Cools, S. Piepers, and G.P.J. Janssens. 2014. Piglets’ Colostrum intake associates with daily weight gain and survival until weaning. Livestock Science 162: 185-192.

Fuller, R. 1993. Probiotic food current use and future developments. International of Food Ingredients. 3 : 23-26.

Inatomi, T., M. Amatatsu, G.A. Romero-Pérez, R. Inoue, and T. Tsukahara. 2017. Dietary Probiotic Compound Improves Reproductive Performance of Porcine Epidemic Diarrhea Virus-Infected Sows Reared in a Japanese Commercial Swine Farm under Vaccine Control Condition. Frontiers in Immunology 8: 1877.

Kasornpikul, C., C. Chaiyasut, B. Sirithanyalug, W. Aeagwanich, and T. Pewnim. 2009. Effect of the probiotic Lactobacillus plantalum CMU-FP002 on oocyst shedding by broilers inoculated with Eimeria tenella. Avian Biology Research. 2: 157-159.

Kasornpikul, C., and S. Chalorsuatisakul. 2016. Efficacy of isolated Probiotic Bacteria from Piglet Nostrils in Fattening Pigs. Silpakorn University Science and Technology Journal 10: 15 – 19.

Kristas, S.K., and R.B. Morrison. 2005. Evaluation of probiotics as a substitute for antibiotics in a large pig nursery. Veterinary Record. 156: 447-448.

De Arriba M.L., A. Carvajal, I. Lanza, P. Rubio, and P.C. Blanchard. 1995. Development of an ELISA for the detection for antibody isotypes against porcine epidemic diarrhoea virus (PEDV) in sow’s milk. P. 222–225. Proceeding 3rd Congress of European Society for Veterinary Virology.

Olanratmanee, E.O., A. Kunavongkrit, and P. Tummaruk. 2010. Impact of porcine epidemic diarrhea virus infection at different periods of pregnancy on subsequent reproductive performance in gilts and sows. Animal Reproduction Science. 122: 42–51.

Oh Y.i, J.B. Lee, S. Y. Park, C.S. Song, I.S. Choi, Y.H. Kim, E.J. Han, J.H. Lee, K.S. Lim, C.S. Huh, S.H. Kim, S.S. Park, and S.W. Lee. 2008. In vivo evaluation of preventive effect of Lactobacillus reuteri on porcine epidemic diarrhea in suckling piglets. Korean Journal of Veterinary Research. 48: 167-174.

Perdigon, G., S. Alvarez, M. Rachid, G. Agüero, and N. Gobbato. 1995. Immune System Stimulation by Probiotics. Journal of Dairy Science. 78: 1597-1606.

Puranaveja S., P. Poolperm, P. Lertwatcharasarakul, S. Kesdangsakonwut, A. Boonsoongnern, K. Urairong, P. Kitikoon, P. Choojai, R. Kedkovid, K. Teankum, and R. Thanawongnuwech. 2009. Chinese-like Strain of Porcine Epidemic Diarrhea Virus, Thailand. Emerging Infectious Diseases. 15: 1112-1115.

Rinkinen, M., K. Jalava, E. Westermarck, S. Salminen, and A. Ouwehand. 2003. Interaction between probiotic lactic acid bacteria and canine enteric pathogens: A risk factor for intestinal Enterococcus faecium colonization?. Veterinary Microbiology. 92. 111-119.

Song, D., and B. Park. 2012. Porcine epidemic diarrhoea virus: a comprehensive review of molecular epidemiology, diagnosis, and vaccines. Virus Genes. 44: 167–175.

Tsukahara T., T. Inatomi, K. Otomaru, M. Amatatsu, G.A. Romero-Perez, and R. Inoue. 2018. Probiotic supplementation improves Reproductive performance of unvaccinated farmed sows infected with porcine epidemic diarrhea virus. Animal Science Journal. 89: 1144–1151.

Zhang, W., M. S. P. Azevedo, K. Wen, A. Gonzalez, L. J. Saif, G. Li, and L. Yuan. 2008. Probiotic Lactobacillus acidophilus enhances the immunogenicity of an oral rotavirus vaccine in gnotobiotic pigs. Vaccine. 26: 3655–3661.