ผลของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิตในอ้อยตอ1

Main Article Content

เศวตฉัตร เศษโถ
จริยา นามวงษา
นันทวุฒิ จงรั้งกลาง
พัชริน ส่งศรี

บทคัดย่อ

อ้อยเป็นพืชปลูกเชิงเดี่ยวทำให้ต้องปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่องโดยไม่ปลูกพืชชนิดอื่นรวมทั้งยังใช้เวลาเพาะปลูกยาวนานซึ่งครอบคลุมไปถึงอ้อยตอ แนวคิดการปลูกอ้อยหลายพันธุ์ร่วมกันในแปลงอาจเป็นอีกหนึ่งหนทางสำหรับการพัฒนาผลผลิตอ้อยให้เพิ่มสูงขึ้นในอ้อยตอ โดยการอาศัยการแข่งขันของสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างในการเจริญเติบโต ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิต ภายใต้ระบบปลูกอ้อยข้ามแล้ง ปลูกทดสอบคู่พันธุ์ผสมจำนวน 10 คู่พันธุ์ เปรียบเทียบกับการปลูกอ้อยพันธุ์เดี่ยวอีก 5 พันธุ์ รวมเป็น 15 กรรมวิธี พันธุ์ที่ใช้ประกอบด้วย KK3, Kps01-12, KKU99-02, MP02-458 และ UT-13 ที่หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือนมกราคม 2559 ถึง มกราคม 2560 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อกจำนวน 3 ซ้ำ ตรวจวัดข้อมูลที่อายุ 12 เดือน ได้แก่ ผลผลิต เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ค่าซี.ซี.เอส และองค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ จำนวนลำ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำ และความยาวลำ พบว่าทุกลักษณะที่ตรวจวัดมีความแตกต่างระหว่างการปลูกร่วมพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อประเมินการปลูกร่วมกันของคู่พันธุ์พบว่าคู่พันธุ์ KK3 กับ KKU99-02, KK3 กับ Kps01-12 และ UT-13 กับ KKU99-02 ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกร่วมกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าพันธุ์ที่มีทรงกอแคบควรปลูกผสมกับพันธุ์ที่มีทรงกอปานกลางหรือทรงกอกว้างจึงจะสามารถให้ผลผลิตอ้อยสูง การปลูกแบบผสมทำให้ลักษณะของทรงกอของทั้งสองพันธุ์เกิดการแข่งขันในเชิงบวกส่งเสริมให้ความยาวลำและจำนวนลำเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังทำให้เปอร์เซ็นต์บริกซ์และค่าซีซีเอสสูงตามไปด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จุฑามาศ เครื่องพาที, พัชริน ส่งศรี และนันทวุฒิ จงรั้งกลาง. 2560. การประเมินผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์อ้อยดีเด่นภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เกษตรพระวรุณ 14:30-40.
ณรงค์ ตรีสุวรรณ. 2544. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินที่พบในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 483 กองสำรวจและจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2555. พันธุ์อ้อย. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกระทรวงอุตสาหกรรม. แหล่งข้อมูล: http://www.ocsb.go.th/breedcane.asp. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2561.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2560. พื้นที่การผลิตอ้อย. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย 2559/60. แหล่งข้อมูล: www.ocsb.go.th. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/view/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/28911/TH-TH. ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2561.
Limpinuntana, V. 2001. Physical factors related to Agricultural potential and limitations in Northeast Thailand, pp. 3-17. In: Natural resource management issues in the Korat Basin of Northeast Thailand: an overview. Proceeding of the Planning Workshop on Eco-regional Approaches to Natural Resource Management in the Korat Basin, Northeast Thailand: Toward Further Research Collaboration, held on 26-29 October 1999, Khon Kaen, Thailand. Los Banos (Philippines): International Rice Research Institute.
Newton, A.C., and J.S. Swanson 1999. Cereal variety mixtures reduce inputs and improve yield and quality -why isn’t everybody growing them? Annual Report 1998/1999 of Scottish Crop Research Institute. 55-59.
Spaull, V. W., P. Cadet, and S. Berry. 2006. Effect of variety combinations on yield of sugarcane. In Proc S Afr Sug Technol Ass. 80: 274-277.
Singels, A., and M.A. Smit. 2009. Sugarcane response to row spacing-induced competition for light. Field Crops Res. 113: 149-155.
Takaragawa, H., K. Watanabe, J. Thanankorn, M. Nakabaru, and Y. Kawamitsu 2016. Crop diversity in sugarcane: effect of mixed cultivars on the growth and yield of sugarcane. University of the Ryukyus, Okinawa, Japan.
Tominaga, J., S. Yabuta, Y. Fukuzawa, S.I. Kawasaki, T. Jaiphong, R. Suwa, and Y. Kawamitsu 2015. Effects of vertical gradient of leaf nitrogen content on canopy photosynthesis in tall and dwarf cultivars of sorghum. PPS. 18: 336-343.
Zhu, Y., H. Chen, J. Fan, Y. Wang, Y. Li, J. Chen, and C.C. Mundt. 2000. Genetic diversity and disease control in rice. Nature. 406: 718-722.