ผลของเกลือสินเธาว์ที่มีต่อพัฒนาการของใบมะนาวโห่

Main Article Content

สุพัตรา สารเเสน
สกุลกานต์ สิมลา
สุรศักดิ์ บุญแต่ง
เบ็จพร กุลนิตย์

บทคัดย่อ

การปลูกพืชทนเค็ม หรือพืชชอบเกลือ เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดินเค็มโดยการหาพืชมาปลูก จึงได้ทำการประเมินผลของเกลือสินเธาว์ที่มีต่อพัฒนาการของใบมะนาวโห่ ซึ่งใบเป็นชิ้นส่วนที่มีตลอดทั้งปี และมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ คือ มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ต้านอาการอักเสบและลดไข้ และมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ โดยทำการประเมินความเข้มข้นของเกลือสินเธาว์ 6 ระดับ คือ 0, 0.15, 0.29, 0.44, 0.58 และ 0.73% ที่ 4 ระยะพัฒนาการของใบ คือใบอ่อน ใบเพสลาด ใบเจริญเต็มที่ และใบแก่ ผลการศึกษาพบว่า มะนาวโห่สามารถทนความเค็มจากเกลือสินเธาว์ได้ถึงระดับความเข้มข้นที่ 0.29% โดยเมื่อมีความเค็มเพิ่มมากขึ้น (≤0.29%) ไม่ส่งผลให้ระยะเวลาการเกิดยอดใหม่ และระยะเวลาในการพัฒนาใบ 4 ระยะแตกต่างกัน และไม่ส่งผลให้ลักษณะความกว้าง ความยาว ขนาดพื้นที่ใบ น้ำหนักสด ค่าพื้นที่ผิวเฉพาะ และค่าความสว่างของใบแตกต่างกัน แต่มีผลทำให้ค่าความเป็นสีเขียวและค่าความเป็นสีเหลือง และค่า SCMR แตกต่างกัน ซึ่งผลการศึกษาสามารถใช้เป็นทางเลือกในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเค็ม และยังเป็นการเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกมะนาวโห่ให้มากขึ้นอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมทรัพยากรธรณี. 2550. ดินเค็มในภาคอีสานกับปัจจัยทางธรณีวิทยา. http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid= 1094&filename=saline_soil. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2535. แผนที่การแพร่กระจายดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาตราส่วน 1: 500,000. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
ณัฏฐ์สิริ ลักษณะอารีย์, มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์, ยุทธนา บรรจง และเอกพงษ์ ธนะวัติ. 2557. การคัดเลือกไม้โตเร็วทนเค็มด้วยวิธีการปลูกในสารละลายอาหาร. วารสารวนศาสตร์ 33: 11-17.
ภานุวัฒน์ สีพันธ์, สกุลกานต์ สิมลา, พัชรี สิริตระกูลศักดิ์ และ ชฎาพร เสนาคุณ. 2560. ระยะพัฒนาการต่อปริมาณสารพฤกษเคมีและความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระในใบมะนาวโห่. วารสารแก่นเกษตร 45: 336-341.
วันชัย วงษา. 2555. ดินเค็มและการปรับปรุงแก้ไข. http://bophloi.kanchanaburi.doae.go.th/content/new%2057/005.pdf. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2559.
สกุลกานต์ สิมลา, สุรศักดิ์ บุญแต่ง และ พัชรี สิริตระกูลศักดิ์. 2556. การประเมินปริมาณสารพฤกษเคมีบางประการและกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระใน Carissa carandas L. แก่นเกษตร 41 (ฉบับพิเศษ 1): 602-606.
สมศรี อรุณินท์. 2539. ดินเค็มในประเทศไทย. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.สุมาลี ชูกำแพง. 2555. พืชในสภาวะเครียดเกลือ. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย 4: 15-24.
อรุณี ยูวะนิยม. 2539. กลไกความทนเค็มของพืชชอบเกลือ.http://www.ldd.go.th/Lddwebsite/web_ord/Research/Full_Research_pdf/Full_Research_gr03/R3903F002.pdf. ค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2559.
อรุณี ยูวะนิยม. 2547. การจัดการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. http://www.sri.cmu.ac.th/~environment/Download/050505.pdf. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560.
Agarwal, T., R. Singh, A.D Shukla, and I. Waris. 2012. In vitro study of antibacterial activity of Carissa carandas leaf extracts. Asian J Plant Sci Res. 2: 36-40.
Hati, M., B.K. Jena, S. Kar, and A.K. Nayak. 2014. Evaluation of anti-inflammatory and anti-pyretic activity of Carissa carandas L. leaf extract in rats. J. Pharm. Chem. Bio. Sci. 1(1): 18-25.
Kumar, S., P. Gupta, and V. Gupta K.L. 2013. A critical review on Karamarda (Carissa carandas Linn.). Int. J. Pharm. Bio. Arch. 4: 637 -642
Philippine Medicinal Plants. 2012. Caranda. http://goo.gl/kBShxE. Accessed Aug. 6, 2014.
Sulaiman, S.F., W.S. Teng, O.K. Leong, S.R. Yusof, and T.S.T. Muhammad. (n.d.). Anticancer study of Carissa carandas extracts. http://goo.gl/ W2WjSG. Accessed May 16, 2014.
Tayyab, M. Azeem, M. Qasim and R. Ahmad.2016. Effect of sea salt irrigation on plant growth, yield potential and some biochemical attributes of Carissa carandas. Pak. J. Bot. 3: 853-859.