ผลของการพอกเมล็ดร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโต GA3 และ IAA ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม

Main Article Content

ธนาคาร กาวดิลก
บุญมี ศิริ
อารักษ์ ธีรอำพน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโต Gibberellic acid (GA3) และ Indole-3-acetic acid (IAA) ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ซึ่งประกอบด้วยความงอก ความเร็วในการงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้า ภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง โดยแบ่งความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ออกเป็น 3 ระดับคือ สูง กลาง และต่ำ ด้วยวิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ จากนั้นทำการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมด้วยวัสดุพอก calcium sulfate และใช้ carboxymethyl cellulose (CMC) เป็นวัสดุประสาน ร่วมกับสารควบคุมฯ GA3 และ IAA ผลการทดลองพบว่า การพอกเมล็ดร่วมกับสารควบคุมฯ GA3 และ GA3 ผสมกับ IAA ทุกกรรมวิธีทำให้เมล็ดพันธุ์ทุกระดับความแข็งแรง มีความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าสูงกว่าเมล็ดที่ไม่ได้พอกและเมล็ดที่พอกโดยไม่ใส่สารควบคุมฯ ทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง ยกเว้นความงอกของเมล็ดความแข็งแรงสูงในสภาพห้องปฏิบัติการ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้การพอกเมล็ดทุกกรรมวิธีส่งผลให้ความเร็วในการงอกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้พอก ทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติวรรณ กล้ารอด และบุญมี ศิริ. 2559. อิทธิพลของการเคลือบเมล็ดด้วยฮอร์โมนพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นกล้าของมะเขือเทศ. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 34: 143-156

จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2558. ศักยภาพของการใช้ carboxymethyl cellulose และ hydroxypropyl methylcellulose เป็นวัสดุประสาน สำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม. แก่นเกษตร 43: 268-273.

ณัฐชญา สายคำวงศ์ และบุญมี ศิริ. 2560. การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศโดยการเคลือบร่วมกับฮอร์โมนพืช. แก่นเกษตร 45: 348-354.

ปรารถนา จันทร์ทา, พัชราพรรณ คงเพชรศักดิ์ และสุกานดา ดอกสันเทียะ. ม.ป.ป. ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone).โครงการส่งเสริมการผลิตเอกสารชุดการเรียนที่เป็นการ สรุปเนื้อหาในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์. 84 หน้า.

พัชรา คำพันธ์, จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2561. ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตระยะต้นกล้าของเมล็ดพันธุ์แตงกวา. แก่นเกษตร 46: 43-48.

สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์. 2560. ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุม ประจำปี 2560. แหล่งข้อมูล: https://www.thasta.com/index.php/2016-05-29-01-47-24/2016-05-29-01-48-39. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561.

Desai, B. B., P. M. Kotecha and D. K. Salunkhe. 1997. Seed Handbook Biology, Production, Processing and Storage. Marecl Deaker, Inc, New York.

ISTA. 2013. International Rules for Seed Testing, Edition 2013. ISTA, Switzerland.

Taylor, A. G. and G. E. Harman. 1990. Concepts and technologies of selected seed treatments. Annual Review of Phytopathology 28: 321-339.

TeKrony, D. M. and Egli, D. B. 1977. Relationship between laboratory indices of soybean seed vigor and field emergence. Crop sci. 17: 573-577.

Yang Wen Qing. 2006. Effects of GA3, 6-BA and 2,4-D Applied in Cucumber Seed Film Coating Available: http://www.dissertationtopic.net/doc/1002130. Accessed Nov. 21, 2018.