อิทธิพลของการใช้ที่ดินต่างกันต่อการสะสมอินทรีย์คาร์บอน ในดินร่วนปนทราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาอิทธิพลของการใช้ที่ดินที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางชีวภาพและการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดินร่วนปนทรายของพื้นที่ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยทางการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่มีการจัดการดินต่างกัน ดังนี้ 1) แปลงไม้ดอก (พื้นที่ไถพรวน) 2) แปลงไผ่ (ป่าปลูก) และ 3) แปลงทุ่งหญ้า (ทุ่งหญ้าธรรมชาติ) วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ เก็บตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ 5 ครั้ง ในเดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2561 ผลการศึกษาพบว่าแปลงไม้ดอกที่มีการไถพรวนอย่างเข้มข้นร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี ส่งผลให้มวลชีวภาพจุลินทรีย์คาร์บอน (MBC) ต่ำสุด (49-94 mg C kg-1) อินทรีย์คาร์บอนในดิน (TOC) ต่ำสุด (2.8-4.7 g kg-1) microbial quotient (MBC/TOC) ต่ำสุด (11.8-21.9 mg MBC g-1 soil C) แต่ส่งผลให้ค่า metabolic quotient (qCO2) สูงสุด (0.39-0.7 mg CO2-C g-1 MBC d-1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เทียบกับแปลงไผ่และทุ่งหญ้าธรรมชาติ ผลจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดการดินโดยนำวัสดุอินทรีย์เข้าสู่ระบบดิน เช่น แปลงไผ่หรือทุ่งหญ้าส่งผลให้มีการสะสมคาร์บอนในดินได้สูงเมื่อเทียบกับการไถพรวนอย่างเข้มข้น
Article Details
References
Analytical Software. 2003. Statistix 8 Users Manual, Tallahassee, FL, USA.
Anderson, T. H. and K. H. Domsch. 1989. Ratios of microbial biomass carbon to total organic carbon in arable soil. Soil Biol. Biochem. 21: 471-479.
Anderson, T. H. and K. H. Domsch. 1993. The metabolic quotient for CO2 (qCO2) as a specific activity parameter to assess the effects of environmental conditions, such as pH, on the microbial biomass of forest soils. Soil Biol. Biochem. 25: 393-395.
Blagodatskaya, E. V. and T. H. Anderson. 1998. Anderson Interactive effects of pH and substrate quality on the fungal-to-bacterial ratio and qCO2 of microbial communities in forest soils. Soil Biol. Biochem. 30: 1296-1274.
Buschiazzo, D. E., G. G. Havis, E. N. Hepper, A. M. Urioste and E.L. Anton. 2002. Organic matter accumulation in soil of the semiarid Pampa of Argentina. Available: https://pdfs.semanticscholar.