พฤติกรรมการผลิตผักและทัศนคติในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการผลิตผัก และทัศนคติทางการเกษตร ทางสังคม และทางเศรษฐกิจในการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกผักจำนวน 360 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม พบว่าเกษตรกรปลูกผักเป็นอาชีพหลักร้อยละ 3.06 และเป็นอาชีพเสริมจากการทำนาร้อยละ 52.22 เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการผลิตผักแบบผสมผสานใช้สารเคมีและสารชีวภาพ (ร้อยละ 57.14) รองลงมาคือ ใช้สารเคมี และผลิตแบบอินทรีย์ (ร้อยละ 29.11 และ 13.75 ตามลำดับ) พื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 2.11 ไร่ต่อราย และเกษตรกรผลิตผักหมุนเวียนหลายชนิดในแปลงปลูก พฤติกรรมของเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.33 - 94.72) มีการเก็บเกี่ยวที่เหมะสม ยังมีการใช้สารเคมี แต่มีการควบคุมการใช้สารเคมีในการผลิต ซื้อเมล็ดพันธุ์จากแหล่งจำหน่าย และมีระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิต และพบว่าเกษตรกรส่วนน้อยที่ทำการวิเคราะห์คุณภาพดินและน้ำ การจ้างแรงงานที่มีทักษะ และตรวจสอบสารเคมีตกค้างในผลผลิตเกษตร (ร้อยละ 23.33, 17.22 และ 10.28 ตามลำดับ) ส่วนช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่มีผู้ค้าส่งมารับจากพื้นที่ผลิตโดยตรง (ร้อยละ 44.17) รองลงมาคือ มีการจำหน่ายในตลาดชุมชน สำหรับทัศนคติของเกษตรกรทางการเกษตรพบว่า เกษตรกรมีความตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามยังต้องการใช้สารเคมีในการผลิตผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตตามความต้องการของตลาด อีกทั้งเห็นด้วยว่าการผลิตพืชปลอดภัยยุ่งยากกว่าการผลิตพืชที่ใช้สารเคมี สำหรับทัศนคติทางสังคมพบว่า เกษตรกรเห็นด้วยมากที่สุดในการสนับสนุนและช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐบาล และความรับผิดชอบในการผลิตผักปลอดภัยเป็นหน้าที่ของเกษตรกรและผู้จำหน่าย สำหรับทัศนคติทางเศรษฐกิจพบว่า เกษตรกรเห็นด้วยมากที่สุดในการทำการเกษตรแบบพอเพียงทำให้ครอบครัวมีเงินออม และเห็นด้วยปานกลางว่าการรวมกลุ่มจะทำให้ได้ผลประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรควรมีความรู้ความเข้าใจบนมาตรฐานการผลิตผักปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างแท้จริง
Article Details
References
Yamane, T. (1973) Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2550. คู่มือปฏิบัติการให้คำปรึกษาเกษตรกร ระบบการจัดการคุณภาพ: การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP). ขอนแก่นการพิมพ์, ขอนแก่น.
จารุพงศ์ ประสพสุข, ปริยานุช สายสุพรรณ์ และวัชราพร ศรีสว่างวงศ์. 2557. การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้เพื่อการรับรองระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. แก่นเกษตร. 42: 430 - 439.
ดุษฎี พรหมทัต. 2558. พฤติกรรมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 10: 9 - 15.
ดุษฎี พรหมทัต. 2560. ต้นทุน ผลกำไร และวิถีการตลาดผักปลอดภัย: กรณีศึกษาผักบุ้งจีน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 34: 46 - 54.
พนิดา ลีแสน. 2553. การยอมรับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์: กรณีศึกษาการรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ.
พหล ศักดิ์คะทัศน์ และพุฒิสรรค์ เครือคำ. 2560. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกทำการเกษตรแบบเคมีหรือแบบอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 34: 66 - 77.
ศิริชัย กาญจนวาสี. 2544. ทฤษฏีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. 2560. คู่มือการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี Good Agricultural Practices (GAP). แหล่งข้อมูล: https://www.alro.go.th/alro_th/article_attach/article_attach_201705011493613012.pdf. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560.
สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2558. ด้านเกษตรกรรมข้อมูลด้านพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. แหล่งข้อมูล: http://www.ayutthaya.go.th/Ayu/Agriculture.html. ค้นเมื่อ 4 เมษายน 2558.
สุชาดา แสงดวงดี. 2554. บริบทและปัญหาการสื่อสารแนวคิดการทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีไปสู่เกษตรกรตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. น. 1-13. ใน: The 3rd NPRU National Conference 2011 10 – 11 สิงหาคม 2554. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.
เอกรัตน์ ศรีวรัตน์. 2545. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดสงขลา. การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.