พารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะคุณภาพน้ำเชื้อในไก่เบตง (สาย เคยู)

Main Article Content

โสธยา เทพณรงค์
จำเริญ เที่ยงธรรม
พรรณวดี โสพรรณรัตน์

บทคัดย่อ

ปริมาตรและคุณภาพน้ำเชื้อไก่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการผสมพันธุ์ และเกี่ยวข้องกับต้นทุนการผลิตลูกไก่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อประมาณพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม และลักษณะปรากฏของลักษณะคุณภาพน้ำเชื้อในไก่เบตง (สาย เคยู) จากข้อมูลคุณภาพน้ำเชื้อ 4,286 บันทึก ของไก่เพศผู้ 286 ตัว และสัตว์ในพันธุ์ประวัติ 1,005 ตัว ประมาณค่าองค์ประกอบของความแปรปรวนด้วยวิธี Average Information Restricted Maximum Likelihood ใช้การวิเคราะห์ร่วมหลายลักษณะ โดยใช้โมเดล repeatability animal model มีปัจจัยคงที่ (Fixed effects) ได้แก่ สีขน อายุ และกลุ่มการจัดการ และปัจจัยสุ่ม (Random effects) ได้แก่ พันธุกรรมแบบบวกสะสมของตัวสัตว์ สภาพแวดล้อมถาวร และ ความคลาดเคลื่อน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาตรน้ำเชื้อ การเคลื่อนที่ของอสุจิ ความเข้มข้นของอสุจิ และจำนวนอสุจิที่รีดได้ในแต่ละครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.32 มล., 4.07 คะแนน, 3,176.86 ล้านเซลล์ / มล. และ 1,001.31 ล้านเซลล์ ตามลำดับ ค่าอัตราพันธุกรรมเท่ากับ 0.09, 0.12, 0.04 และ 0.04 ตามลำดับ ค่าอัตราซ้ำของลักษณะดังกล่าวเท่ากับ 0.29, 0.32, 0.17 และ 0.24 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อมถาวร และลักษณะปรากฏ ของลักษณะการเคลื่อนที่ของอสุจิ และลักษณะปริมาตร กับลักษณะอื่นๆ เป็นบวก คือลักษณะการเคลื่อนที่ของอสุจิกับความเข้มข้นของอสุจิ (rG = 0.99, rEp = 0.66, rp = 0.30) ลักษณะปริมาตรน้ำเชื้อกับจำนวนอสุจิที่รีดได้ในแต่ละครั้ง (rG = 0.82, rEp = 0.84, rp = 0.69) ดังนั้น การวางแผนการปรับปรุงพันธุ์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์ควรพิจารณาจากลักษณะการเคลื่อนที่ของอสุจิ และปริมาตรน้ำเชื้อ และทำให้สามารถปรับปรุงลักษณะความเข้มข้นของอสุจิ และจำนวนอสุจิที่รีดได้ในแต่ละครั้งได้พร้อมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

นิรัตน์ กองรัตนานันท์ และ รัตนา โชติสังกาศ. 2539. การศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตซากของไก่เบตงเปรียบเทียบกับของไก่พื้นเมืองและไก่ลูกผสมเบตง X พื้นเมือง. ว. เกษตรศาสตร์ (วิทย.). 30: 312-321.
พรรณวดี โสพรรณรัตน์ และ ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์. 2558. ไก่เบตง (สาย เคยู) หรือ ไก่เคยูเบตง. ข่าวสารเกษตรศาสตร์.61 : 13-21.
มงคล คงเสน และ เปลื้อง บุญแก้ว. 2556. ปริมาณและคุณภาพของน้ำเชื้อ. ว. นราธิวาสราชนครินทร์.5: 144-152.
วรวิทย์ วณิชาภิชาติ. 2531. ไข่และการฟักไข่. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.สมชัย จันทร์สว่าง. 2530. การปรับปรุงพันธุ์สัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
AI-Daraji, H. J., D. H. AI-Hassani., B. T. O.AI-Tikriti, and M. H. Abd-Alabaas. 2001. The influence of breed and season on semen quality of cocks. IPA J. Agric. Res. 11: 152-161.
Bourdon, R. M. 2000. Understanding Animal Breeding. 2nd Edition. Prentice-Hall, London.
Burrows, W. H., and J. P. Quinn. 1937. The collection of spermatozoa from the domestic fowl and turkey. Poult. Sci. 16: 19-24.
Chanjula, P., and K. Pattamarakha. 2002. Betong chicken raising in southern Thailand a preliminary survey. J. ISSAAS. 8: 14-24.
Falconer, D. S. 1960. Introduction to Quantitative Genetics. Oliver & Boyd, Edinburgh, London.
Falconer, D. S., and T. F. C. Mackay. 1996. Introduction to Quantitative Genetic. 4th Edition. Longman House, Jarlow.
Gebriel, G. M., M. A. Kalamah, A. A. El-Fiky, and A. F. A. Ali. 2009. Some factors affecting semen quality traits in Norfa roosters. Poult. Sci. 29: 677-693.
Hafez, E. S. E. 1980. Reproduction in Farm Animal. Balliere Tindell, London.
Hu, J., J. L. Chen, J. Wen, G. P. Zhao, M. Q. Zheng, R. R. Liu, W. P. Liu, W. P. Liu, L. H. Zhao, G. F. Liu, and Z.W. Wang. 2013. Estimation of the genetic parameters of semen quality in Beijing- You chickens. Poult. Sci. 92: 2606-2612.
Meyer, K. 2007. WOMBAT - A tool for mixed model analyses in quantitative genetics by restricted maximum likelihood (REML). J. Zhejiang Univ. Sci. B. 8: 815-821.
Patterson, H. D., and R. Thompson. 1971. Recovery of interblock information when block sizes are unequal. Biometrika. 58: 545-554.
Peters, S. O., O. D. Shoyebo, B. M. Ilori, M. O. Ozoje, C. O. N. Ikeobe, and O. A. Adebambo. 2008. Semen quality traits of seven strain of chickens raised in the humid tropics. Int. J. Poult. Sci. 7: 949- 953.
Sexton, T. J. 1986. Effect of dietary protein and season on fertility of turkey semen stored 18 hours at 5°C. Poult. Sci. 65: 604-606.
Sturkie, P. D. 1976. Avian Physiology. Springer - Verlag New york Inc., New york: