รูปแบบการจัดการความรู้สู่องค์กรอัจฉริยะสำหรับวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และองค์กรอัจฉริยะ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเกษตร รุ่นใหม่กับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะ และ 4) สร้างและรับรองรูปแบบการจัดการความรู้สู่องค์กรอัจฉริยะสำหรับวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ เขต 2 จำนวน 120 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป รายได้จากวิสาหกิจชุมชนต่ำกว่า 150,001 บาท/ปี รายจ่ายจากวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ยต่ำกว่า 100,001 บาท/ปี ภาพรวมระดับความคิดเห็นของขั้นตอนและองค์ประกอบของการจัดการความรู้ อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะของวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการจัดการความรู้ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์กรอัจฉริยะของวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 รูปแบบการจัดการความรู้สู่องค์กรอัจฉริยะสำหรับวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน และ 4 องค์ประกอบและปัจจัยที่จะนำไปสู่องค์กรอัจฉริยะ ได้แก่ 1) จุดเน้น 4 ประการ 2)ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรอัจฉริยะ 3) สิ่งสำคัญที่ทำให้วิสาหกิจชุมชนเป็นองค์กรอัจฉริยะ และ 4) ความสำเร็จขององค์กรที่ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างอัจฉริยะ ผลการรับรองรูปแบบการจัดการความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กษมาพร พวงประยงค์. 2554. แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
โกศล ดีศีลธรรม. 2546. การจัดการความรู้แห่งโลกธุรกิจใหม่. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์, ปทุมธานี.
จันทนา พงศ์สิทธิกาญจนา. 2556. ตัวแบบการจัดการเพื่อการบรรลุยุทธศาสตร์วิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 12 : 8-21.
จิรพร มหาอินทร์ และคณะ. 2554. การดำเนินงานและส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งงกาย จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. แหล่งข้อมูล: https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/1201/Bus_55_12.pdf?se quence=1&isAllowed=y ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2561.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2553. การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้วยวิธีผสมผสานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เอไอซีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของนักเรียนแกนนำ อย. น้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2556. การใช้สื่อสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ตบนมือถือของวิสาหกิจชุมชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 3:8-15.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2559. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี. แก่นเกษตร. 44 . 615-622.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2560. ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. เกษตรพระจอมเกล้า. 37.15-22.
วิจารณ์ พานิช. 2547. การจัดการความรู้. แหล่งข้อมูล: http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2559.
บดินทร์ วิจารณ์. 2547. การจัดการความรู้ สู่ปัญญาปฏิบัติ. เอ็กซเปอร์เน็ท, กรุงเทพฯบุญอนันต์ พินัยทรัพย์. 2552. องค์การกับการจัดการความรู้: ศึกษาองค์การที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจ. วารสารพัฒนาสังคม นิด้า. 49: 127-157.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติ. โรงพิมพ์ฐานบัณฑิต, กรุงเทพ.สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. 2547. การจัดการความรู้คืออะไร. แหล่งข้อมูล: http://www.kmi.trf.or.th/AboutKM/About_KM.pdf. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2559.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. แหล่งข้อมูล: http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=develop_issue. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2560.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2560. ทิศทางการทำงานของแรงงานไทย. แหล่งข้อมูล: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_lfsdirect.jsp. ค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2560.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2561. ประชากรไทยที่ทำงานด้านเกษตรกรรม. แหล่งข้อมูล: http://www.nso.go.th/sites/2014/. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2562.
Kucza, T. 2001. Knowledge management process model. Available: http://www.vii.fi/inf/pdf/publications/2001/P455.pdf. Access Mar. 20, 2015.
Marquardt, M. 1999. Building the Learning Organization. McGraw-Hill, New York:
Probst, G., Raub, S., and Romhardt, K. 2000. Managing Knowledge : Building blocks for success. West Sussex John Wiley and Sons, England
Turban et al. 2004. Information Technology for Management: Transforming Organizations in the Digital Economy. John Wiley & Sons, New Jersey:
Wiig M. Karl. 1999. The Intelligent Enterprise and Knowledge Management. Knowledge Research Institute, Inc., Texas