พืชสมุนไพรท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ในชุมชนไทหล่ม อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางโดยมุ่งศึกษาการใช้พืชสมุนไพรที่มีการใช้ประโยชน์ในไทหล่มของประชาชนในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการสัมภาษณ์และสำรวจพืชสมุนไพรที่นิยมใช้จากปราชญ์ ผู้ทรงภูมิปัญญาและแพทย์พื้นบ้าน พบว่า พืชท้องถิ่นที่มีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรมีจำนวนทั้งหมด 49 ชนิด 45 สุกล และ 28 วงศ์ การใช้สมุนไพรบรรเทาอาการป่วยหรือโรคแบ่งได้ 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาการไข้ ปวดเมื่อย สมุนไพรที่นิยมใช้ คือ กุ่มน้ำ รางจืด หญ้าไข่เหา แผ่นดินเย็น และเนียมหูเสือ กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ประชาชนจะเลือกใช้สมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ขมิ้นต้น เปล้าใหญ่ ขมิ้นขาว ตองแตบ ปอพราน ข้าวเย็นเหนือ และหอมแดง กลุ่มโรคทางเดินหายใจ สมุนไพรที่สำคัญ คือ เหงือกปลาหมอ และฟ้าทะลายโจร กลุ่มอาการอักเสบ ติดเชื้อ ประชาชนเลือกใช้ฝางแดง กุ่มบก หนาดหลวง และกำจาย กลุ่มของยาบำรุงกำลัง สมุนไพรที่สำคัญ คือ ครอบจักรวาล กำลังช้างสาร กำลังเสือโคร่ง จันทร์แดง แฟบน้ำ เครืองูเห่า และนมแมวป่า กลุ่มอาการและโรคผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซึม สมุนไพรที่สำคัญคือ ชะพูลป่าใช้รักษาอาการของโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มอาการผิดปกติจากการตั้งครรภ์และคลอด ประชาชนเลือกใช้เจตมูลเพลิงแดงเพื่อการคุมกำเนิด และกลุ่มสุดท้ายเป็นการรักษาอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น กำจัดเหาและแมลงประชาชนจะนำใบยาสูบมาใช้ในการรักษา หรืออีกกรณีคือ ภาวะขาดสารอาหารประชาชนจะใช้เปลือกและใบของต้นกระเซา
Article Details
References
ธิรดา สุขธรรม. 2557. การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยด้วย chromatographic Fingerprints. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 62: 10-12.
สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์ และคณะ. 2556. พืชสมุนไพรประจำถิ่นและภูมิปัญญาการประยุกต์ใช้สำหรับการแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ฉบับพิเศษ 5: 14-27.
Badami, S., S. Moorkoth, and B. Suresh. 2004. Caesalpinia sappen a medicinal and dye yielding plant. Nat. Prod. Rad. 3: 75-82.
Chidambaram, K., J. Albert, K. Karpagam, Sivasubramanian and Noohu. 2011. Antipyretic activity of Crateva magna bark on tab-vaccine induced pyrexia. Int. J. Pharm. Sci. Res. 2: 856-859.
Inasnu, M., S. Kusmardiyani, and R. Hartati. 2014. Recent studies on phytochemicals and pharmacological effects of Eleutherine americana Merr. Procedia. Chem. 13: 221-228.
Sharma, V., R. Lobo, G. Singh, V. Chanana, V. Kalsi, and A. Suttee. 2017. Antimicrobial evaluation of Caesalpinia decapetala. International Journal of Pharmacognosy and Phytochemical Research 9: 1421-1424
Rafa, T.Z., Ashrafudoulla, F. Fuad, R. Islam, M. Hasan, H.A.Kafi, S. Islam, and S. Parvin. 2016. Phytochemical and pharcological investigation of Plumbago indica L. J. Med. Plants Stud. 4: 115-118.
Xu, H. and F.S. Lee. 2004. The antibacterial principle of Caesalpina sappan. Phytother. Res. 18: 647-651.