การใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำบริเวณต้นแม่น้ำจันทบุรี อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

พัชรา นิธิโรจน์ภักดี
เชาวลีย์ ใจสุข
วัชระ น้อยคงคา
ญาณนันท์ สุนทรกิจ
อภิญญา สนธิศักดิ์

บทคัดย่อ

วามหลากหลายของแมลงน้ำและใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำบริเวณต้นแม่น้ำจันทบุรี ในอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 6 สถานี ได้แก่ คลองตารอง คลองตาหลิ่น คลองไพบูลย์ คลองกระสือใหญ่ คลองกระทิง และคลองพลวง ในฤดูน้ำน้อยและฤดูน้ำมาก พ.ศ. 2558-2559 ด้วย surber โดยใช้ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้ำ (Shannon-Wiener Index, H) และ Average Score Per Taxon (ASPT) ในการประเมินคุณภาพน้ำ และมีการวัดค่าทางเคมีและกายภาพของแหล่งน้ำและเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินของประเทศไทย พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ความหลากหลายและจำนวนแมลงน้ำมีแนวโน้มแตกต่างกันตามฤดูกาลและสถานี พบทั้งหมด 7 อันดับ 37 วงศ์ จำนวน 2,442 ตัว อันดับ Ephemeroptera และ Trichoptera มีความหลากหลายของแมลงน้ำสูงกว่าอันดับอื่น โดยอันดับ Ephemeroptera วงศ์ Caenidae และ Diptera วงศ์ Chironomidae พบในทุกสถานีและทุกฤดู ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพเฉลี่ย (H) อยู่ระหว่าง 1.69-2.34 และค่า ASPT อยู่ระหว่าง 5.85-6.91 จากการใช้แมลงน้ำเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ พบว่า คุณภาพนน้ำบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำจันทบุรีอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เอกสํารอ้ ํางอิงกองมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม. 2532. โครงการศึกษาและวิจัยคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก รายงานการศึกษาวิจัย คุณภาพน้ำแม่น้ำแม่กลอง พ.ศ. 2529-2531. สำนักคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์. 2555. การใช้แมลงน้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 5: 15-24.
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, สาธินี สร้อยจิต, และขนิษฐา ตาซื่อตรง. 2559. การใช้แมลงน้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำในลำห้วยสาขาของกว๊านพะเยา. แก่นเกษตร 44: 723-730.
กาญจนาฎ ภัทรเกาวิทย์, ดลยา พลเสน, สรายุทธ ลิ้มสุวรรณ, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, กัญจน์ศิลป์ ประสิทธิ์, และศิริกุล ธรรมจิตรสกุล. 2557. การศึกษาคุณภาพน้ำด้วยดัชนีชีวภาพกับปัญหาสุขภาพของชุมชนริมคลอง: กรณีศึกษาชุมชนหมู่ที่ 5 ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 5: 28-34.
กานต์ธิดา เชียงทอง. 2550. การใช้แมลงน้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำในลุ่มน้ำแม่คำ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12: 277-288.
กิตติธร ชัยศรี, ทัตพร คุณประดิษฐ์, ยุวดี พีรพรพิศาล, และชิตชล ผลารักษ์. 2552. การกระจายตัวของแมลงน้ำในแม่น้ำลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 3: 161-172.
จิรากรณ์ คชเสนี. 2553. นิเวศวิทยาพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.จันดา วงศ์สมบัติ. 2541. ผลกระทบจากการถางป่าริมฝั่งลำธารต่อโครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในแหล่งน้ำจืด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
จุฑามาศ ศรีปัญญา และนิศารัตน์ ตั้งไพโรจน์วงศ์. 2559. ความหลากชนิดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในห้วยหญ้าเครือและห้อยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 18: 60-74.
เชาวลีย์ ใจสุข, อมรชัย ล้อทองคำ, และพัชรา นิธิโรจน์ภักดี. 2559. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาท้องถิ่นสำหรับภูมิประเทศที่สูง: กรณีศึกษาลำน้ำว้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 9: 80-87.
ทิพวัลย์ เลิศธัญญา, ฉัตรชัย ทองเครือมา, และชวัลรัตน์ สมนึก. 2560. การใช้สัตว์หน้าดินเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำบริเวณลำธารน้ำตกกระทิง อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 10: 33-39.
ธเนศ วงศ์ยะรา. 2539. ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช และคุณภาพน้ำคูเมืองเชียงใหม่ ปี 2538. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่นฤมล แสงประดับ. 2548. เอกสารคำสอน วิชา 311780 แมลงน้ำ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
นฤมล แสงประดับ, ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, ชุติมา หาญจวณิช, และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. 2541. ดัชนีชีวภาพสำหรับการจัดจำแนกคุณภาพน้ำทางชีววิทยาในลุ่มแม่น้ำพองด้วยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 26: 289-303.
นัสรียา หมีนหวัง, อ้าพล พยัคฆา, และแตงอ่อน พรหมมิ. 2555. การประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพประเมินคุณภาพน้ำในลำห้วยแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. SDU Res. J. 5: 113-123.
บุญเสฐียร บุญสูง. 2550. การใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในการประเมินคุณภาพน้ำทางชีวภาพแบบเร็วในลำธารของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
บุญเสฐียร บุญสูง. 2557. คู่มือจำแนกตัวอ่อนแมลงชีปะขาว แมลงสโตนฟลาย และแมลงหนอนปลอกน้ำในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
บุญเสฐียร บุญสูง และนฤมล แสงประดับ. 2545. ผลของการเลี้ยงปลาในกระชังต่อชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำน้ำชี. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 30: 228-240.
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8. 2537. ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตีพิมพ์ในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, กรุงเทพฯ.
พรรณทิพย์ กาหยี. 2560. การติดตามตรวจสอบสิ่งแวดล้อมโดยวิธีทางชีวภาพ. วารสารสิ่งแวดล้อม. 21: 53-60.
พัชรา นิธิโรจน์ภักดี, นฤมล มงคลธนวัฒน์, และอภิญญา สนธิศักดิ์. 2559. ความหลากหลายชนิดและคุณค่าทางโภชนาการของตัวอ่อนแมลงน้ำบริเวณคลองกระสือใหญ่ จังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี, จันทบุรี.
มินตรา กว้างใหญ่ และสุทธิวรรณ สันตะโชติ. 2548. การศึกษาชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินเพื่อเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำบริเวณจุดรวบรวมน้ำเสีย จุดปล่อยน้ำที่บำบัดและบริเวณจุดที่ไม่มีการปล่อยน้ำเสียของบ่อบำบัดน้ำเสีย เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
ยุธิดา สกุลทอง, กาญจน์ คุ้มทรัพย์, และสุรเชษฐ เอี่ยมสำอาง. 2558. การใช้ BMWP และ ASPT กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเพื่อตรวจติดตามคุณภาพน้ำในสวนรุกขชาติหนองนารี. น. 44-48. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัย ครั้งที่ 2 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” 14 กุมภาพันธ์ 2558. อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.
รุ่งนภา ทากัน. 2549. การใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ประเภทพื้นท้องน้ำเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำทางชีวภาพของแม่น้ำปิง ปี 2547-2548. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์. 2547. นักสืบสายน้ำน้อย: คู่มือครูและผู้นำกิจกรรม. มูลนิธิโลกสีเขียว, กรุงเทพฯ.อิสระ ธานี. 2557. การใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินขนาดใหญ่เพื่อการติดตามตรวจสอบทางชีวภาพ. SUD RES. J. 7: 125-137.
Boonsoong, B., and N. Sangpradub. 2008. Diversity of stream benthic macroinvertebrates at the Loei River and adjacent catchments, Northeastern Thailand. KKU Sci. J. 36: 107-121.
Boonsoong, B., N. Sangpradup, and M.T. Barbour. 2009. Development of rapid bioassessment approaches using benthic macroinvertebrates for Thai streams. Environ. Monit. Assess. 155: 129-147.
Boonsoong, B., N. Sangpradup, M.T. Barbour, and W. Simachaya. 2010. An implementation plan for using biological indicators to improve assessment of water quality in Thailand. Environ. Monit. Assess. 165: 205-215.
Clarke, K. R., and R. M. Warwick. 1994. Change in Marine Communities. Plymouth Marine Laboratory, Plymouth, United Kingdom.Dudgeon, D. 1999. Tropical Asian Stream Zoobenthos, Ecology and Conservation. Hong Kong University Press, Hong Kong.
Gencer, T. and N. Kazanci. 2010. Applications of various diversity indices to benthic macroinvertebrate assemblages in streams in a national park in Turkey. Rev. Hydrobiol. 3: 111-125.
Kantida, C. and P. Chitchol. 2007. Use of aquatic insects as bioindicators of water quality of Mae Kham Watershed, Chiang Rai province. KKU Res. J. 12: 277-288.
Ludwig, J. A. and J. F. Reynold. 1988. Statistical Ecology. John Wiley and Sons, New York.
Merritt, R. W. and K. W. Cummins. 1996. An Introduction to the Aquatic Insects of North America. 3rd Edition. Kendall Hunt Publishing, Iowa.
McCafferty, W. P. 1981. Aquatic Entomology. Science Books International Inc., Boston.
Morse, J. C., Lianfang, Y., and T. Lixin. 1984. Aquatic Insects of China Useful for Monitoring Water Quality. 2nd Edition. Kendall Hunt Publishing, Iowa.
Mustow, S. E. 2002. Biological monitoring of river in Thailand: Use and adaptation of the BMWP score. Hydrobiologia. 479: 191-229.
Nithirojpakdee, P., C. Jaisuk, and T. Sukkong. 2015. Diversity of macroinvertebrates of in the Wa River, Bo Klua, Nan Province, Thailand. P. 142-149. In: Proceeding of the 5th Rajamangala University of Technology International Conference 23-25 July 2014. Rajamangala University of Technology Suvanabhumi, Phranakhon Si Ayutthaya.
Rosenberg, D. M. and V. H. Resh. 1993. Freshwater Biomonitoring and Benthic Macroinvertebrates. Chapman and Hall, New York.
Sangpradup, N. and B. Boonsoong. 2006. Identication of Freshwater Invertebrates of the Mekong River and Its Tributaries. Mekong River Commission, Vientiane.
Wilhm, J. L. and T. C. Dorris. 1968. Biological parameters for water criteria. Biosci. 18: 477-481.
Wiggins, G. B. 1977. Larvae of the North American Caddisfly Genera (Trichoptera). University of Toronto Press, Toronto.
Yule, C. M. and Y. H. Sen. 2004. Freshwater Invertebrates of the Malaysian Region. Akademi Sains Malaysia, Kuala Lumpur.