โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองเล็งทราย จังหวัดพะเยา

Main Article Content

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์
ขวัญใจ วงค์กุลพิลาศ
หทัยทิพย์ ธรรมวันตา
สยามรัฐ สุดระกำ
อิฐสะราม แสนสุภา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างประชาคมปลาการแพร่กระจายและความชุกชุมของปลาที่ติดข่าย และประสิทธิภาพผลจับของเครื่องมือข่ายขนาดช่องตา 3.0 5.0 และ 7.0 เซนติเมตร ในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองเล็งทราย โดยทำการศึกษาทุก 4 เดือน จำนวน 7 สถานี ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561 พบปลาทั้งหมด 5 อันดับ 12 วงศ์ 21 ชนิด โดยปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) พบมากที่สุด ปลาแป้นแก้วมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.8 ปลาตะเพียนขาวมีน้ำหนักรวมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30.5 ดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์และดัชนีความมากชนิดอยู่ในช่วง 0.527- 0.639 และ 1.418-1.650 ตามลำดับ เปรียบเทียบผลจับต่อหน่วยลงแรง (CPUE) ของเครื่องมือประมงข่ายที่มีขนาดตาอวนต่างกัน 3 ขนาด พบว่าขนาดตาอวน 3.0, 5.0 และ 7.0 เซนติเมตร มีผลจับต่อหน่วยลงแรงเท่ากับ 1,320.9±114.8 867.0±113.4 และ 510.3±145.7 กรัม/100 ตารางเมตร/วัน ตามลำดับ โดยอัตราส่วนปลากินพืชต่อปลากินเนื้อ เท่ากับ 3.49:1 ซึ่งบ่งบอกถึงพื้นที่ชุ่มน้ำหนองเล็งทรายมีความสมดุลของสัตว์น้ำ พบปลาดุกด้านที่อยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เกรียงไกร สีตะพันธุ์ แตงอ่อน พรหมมิ กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ และสายสุนีย์ สมฤทธิ์. 2553. ความหลากหลายของแมลงน้ำพื้นที่ชุ่มน้ำหนองเล็งทราย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. น. 268-275. ใน: ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ เกษตร วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 วันที่ 24 สิงหาคม 2553. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
เขมชาติ จิวประสาท. 2552. ประมงพะเยา ร่วมรักษาสมดุลระบบนิเวศแหล่งน้ำ ผ่านการจัดกิจกรรมแข่งขันตกปลาชะโดและปลากินเนื้อในกว๊านพะเยา. วันเสาร์ที่ 6 - วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2552 และวันเสาร์ที่ 13 - วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2552. แหล่งข้อมูล: http://news.sanook.com/773060/. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557.
คีรี กออนันตกุล. 2536. การศึกษาประชาคมปลาในหนองหาร จังหวัดสกลนคร ปี 2534. เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2536. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสกลนคร กองประมงน้ำจืดกรมประมง, สกลนคร.
จินตนา ดำรงไตรภาพ, องอาจ คำประเสริฐ, ศิริวัลยา วงษ์อูทอง และ วิวิธนนท์ บุญยัง. 2556. ประสิทธิภาพของเครื่องมือข่ายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี. เอกสารวิชาการฉบับที่ 8/2556. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.
จุลทรรศน์ คีรีแลง, กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล และอภินันท์ สุวรรณรักษ์. 2556. กำลังผลิตของสัตว์น้ำและและประสิทธิภาพเครื่องมือประมงในกว๊านพะเยา. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ชัยณรงค์ ชื่นชม และ วสันต์ ตรุวรรณ. 2549. ชลชีววิทยาและทรัพยากรประมงในอ่างเก็บน้ำธวัชชัยหลังการขุดลอก จังหวัดร้อยเอ็ด. เอกสารวิชาการฉบับที่ 13/2549. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง, กาฬสินธุ์.
ปริญดา รัตนแดง คฑาวุธ ปานบุญ และ สุธิดา โส๊ะบีน. 2558. โครงสร้างและการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 2/2558. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุโขทัย กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง, สุโขทัย.
ศรุตา นุชเทียน. 2557. โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี. สาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
ศิริลักษณ์ ตันเจริญ, กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์และเปรมดา ทิพย์เดโช. 2558. ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทางน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองเล็งทราย จังหวัดพะเยา. งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2558. มหาวิทยาลัยพะเยา, จังหวัดพะเยา.
สุธิดา โต๊ะบีน และ ปาริฉัตร มูสิกธรรม. 2551. โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 3/2551. ศูนย์วิจัยชายฝั่งและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง, พะเยา.
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. 2542. ทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ ของประเทศไทย. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
Clarke, K.R. and R.M. Warwick. 1994. Change in Marine Community: an Approach to Statistical Analysis and Interpretation. Plymouth Marine Laboratory, Plymouth, UK.
Harley, S.J., R.A. Myers and A. Dunn 2001. Is catch-per-unit-effort proportional to abundance. Canadian J. Fish. Aqua. Sci. 58:1760-1772.
Ludwig, J.A. and J.F. Renold. 1988. Statistical Ecology; a Primer on Methods and Computing. John Wiley & Sons, New York.
Nelson, J.S., T.C. Grande, and , M.V.H. Wilson. 2016. Fishes of the World. 5th Edition. John Wiley & Sons, Inc.,
Hoboken, NJ. Rahman, M.M., M.Y. Hossain, F. Ahamed, Fatematuzzhura, B.R. Subba, E.M. Abdallah, and J. Ohtomi, 2012. Biodiversity in the Padma distributary of the Ganges River, Northwestern Bangladesh: Recommendations for conservation. World J. Zoo. 7: 328-337.
Swingle, H.S. 1950. Relationships and dynamics of Balanced and Unbalanced fish population. Bulletin No.274; Agricultural Experiment Station of the Alabama Polytechnic Institute Auburn., Alabama.
Vijaylaxmi, C., M. Rajshekhar and K. Vijaykumar. 2010. Freshwater fishes distribution and diversity status of Mullameri River, a minor tributary of Bheema River of Gulbarga District, Karnataka. Int. J. Sys. Bio. 2:01-09.
Washington, H.G. 1984. Review of diversity, biotic and similarity indices. Water Res. 18:653-694.