พารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะปริมาณซาก สี และความหนาหนังในไก่เบตง (สาย เคยู)

Main Article Content

ปานศิริ พุทธรักษา
อัจฉรา ขยัน
ชัยวัฒน์ บุญแก้ววรรณ
พรรณวดี โสพรรณรัตน์

บทคัดย่อ

ไก่เบตง เป็นไก่พื้นเมืองไทยที่ลักษณะซากตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดชั้นสูง ไก่เบตง (สาย เคยู) เป็นไก่เบตงที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตในฝูงปิด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะปริมาณซาก สี และความหนาหนังในไก่เบตงพันธุ์แท้ (สาย เคยู) จากข้อมูลลูก จำนวน 501 ตัว และข้อมูลสัตว์ในพันธุ์ประวัติจำนวน 1,155 ตัว วิเคราะห์องค์ประกอบความแปรปรวน และความแปรปรวนร่วมด้วยวิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) โดยใช้การวิเคราะห์หลายลักษณะด้วยโมเดลตัวสัตว์ (animal model) ผลการศึกษาพบว่า ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะน้ำหนักมีชีวิต น้ำหนักซากเย็น น้ำหนักอก น้ำหนักปีก น้ำหนักขา ค่าสีหนัง (L* a* b*) และความหนาหนัง เท่ากับ 0.60, 0.54, 0.57, 0.61, 0.53, 0.34, 0.12, 0.30 และ 0.73 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฏระหว่างน้ำหนักมีชีวิต และน้ำหนักซากเย็น น้ำหนักอก น้ำหนักปีก น้ำหนักขา มีค่าเป็นบวกในระดับสูง (rg = 0.80 ถึง 0.97 และ rP = 0.79 ถึง 0.96) ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างปริมาณซาก และ สีหนัง ความหนาหนังอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง มีค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานสูง ดังนั้นในการปรับปรุงลักษณะดังกล่าวสามารถปรับปรุงได้โดยการคัดเลือก การคัดเลือกเพื่อเพิ่มน้ำหนักมีชีวิตสามารถเพิ่มปริมาณซากทางอ้อมได้แต่ไม่มีผลกับสีหนังและความหนาหนัง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กฤษณา อ่อนทอง, พรรณวดี โสพรรณรัตน์, ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ และ สมบัติ ประสงค์สุข. 2560. การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะขนาดร่างกายบางลักษณะที่ อายุ 4 สัปดาห์ ในไก่เบตง (สาย เคยู). น. 359-365. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 วันที่ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2560. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นัฐพงษ์ หวังทวีสุขกมล, วิริยา ลุ้ง ใหญ่, บุญอ้อม โฉมที และพรรณวดี โสพรรณรัตน์. 2556. พารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะน้ำหนักตัวในไก่เบตง (สายเคยู). ว. วิทย. กษ.44:167-170.
ปิยะนันท์ นวลหนูปล้อง, ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ และสุธา วัฒนสิทธิ์. 2562. ผลของรูปแบบการเลี้ยงต่อคุณภาพเนื้อของไก่เบตง. แก่นเกษตร 47: 327-334.
พรรณวดี โสพรรณรัตน์ และชัยภูมิ บัญชาศักดิ์. 2558. ไก่เบตง (สายเคยู) หรือ ไก่เคยูเบตง. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 61: 13-21.
วิศาล อดทน, ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ และสุธา วัฒนสิทธิ์. 2547. ลักษณะรูปร่างภายนอก และคุณภาพซากของไก่คอล่อนที่เลี้ยงในระบบการผลิตแบบพื้นบ้าน. ว. มหาวิทยาลัยทักษิณ 7: 58 – 67.
สมปอง สรวมศิริ. 2557. กายวิภาค และสรีรวิทยาของสัตว์เลี้ยง. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ. 2548. เนื้อไก่ (มกอช. 6700-2548). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ. 2549. การปฏิบัติที่ดีสาหรับโรงฆ่าสัตว์ปีก (มกอช. 9008-2006). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
อนุพล พุฒสกุล, ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์, บุญอ้อม โฉมที, ศานิต เก้าเอี้ยน และพรรณวดี โสพรรณรัตน์. 2553. ผลของระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารต่อการเจริญเติบโตและปริมาณซากในไก่เบตง (สายเคยู). น. 158-166. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Argentão, C., T. Michelan Filho, J.L.B. Marques, E.M. Souza, J.P. ELer, and J.B.S. Ferraz. 2002. Genetic and phenotypic parameters of growth and carcass traits of a male line of broilers raised in tropical conditions. p. 333-336. In Proceedings of the 7th World Congress on Genetics Applied to Livestock Production. Montpellier, France.
Bungsrisawat, P., S. Tumwasorn, W. Loongyai, S. Nakthong, and P. Sopannarath. 2016. Variance components and heritability estimates on carcass traits in Betong chicken (KU Line), pp. 296-298. In The 17th Asian-Australasian Association of Animal Production Societies Animal Science Congress. 22-25 August 2016. Fukuoka, Japan.
Chanjula, P. and K. Pattamarakha. 2002. Betong chicken raising in southern Thailand: a preliminary survey. J. ISSAAS. 8:14-24.
Chuaynukool, K., S. Wattanachant and S. Siripongvutikorn. 2007. Chemical and properties of raw and cooked spent hen, broiler and Thai indigenous chicken muscles in mixed herbs acidified soup (Tom Yum). J. Food Tech. 5:180-186.
CIE. 1978. Recommendations on uniform colour spaces, colour difference equations, psychometric colour terms. CIE Publication No.15 (E-1.3.1) 1971/(TO-1.3). Suppl. 15. CIE, Paris, France.
Falconer, D.S. and T.F.C. Mackay. 1996. Introduction to Quantitative Genetics. 4th Ed. Longman Group Ltd., London.Fletcher, D. L. 1992. Methodology for achieving pigment specifications. Poult. Sci. 71:733–743.
Gaya, L.G., J.B.S. Ferraz, F.M. Rezende, G.B. Mourão, E. C. Mattos, J. P. Eler, and T. Michelan Filhot. 2006. Heritability and genetic correlation estimates for performance and carcass and body composition traits in a male broiler line. Poult. Sci. 85: 837-843.
Gongruttananun, N. and R. Chotesangasa. 1996. A study of growth and carcass yield of Betong chickens compared with those of native and crossbred Betong x native chickens. Kasetsart J, (Nat. Sci.) 30: 312-321.
Jaturasitha, S., T. Srikanchai, M. Kreuzer and M. Wicke. 2008. Different in carcass and meat characteristics between chicken indigenous to Northern Thailand (Blackboned and Thai native) and improved extensive breeds (Bresse and Rhode Island Red). Poult. Sci. 87:160-169.
Makchumpon, S., C. Bunchasak, T. Poeikampha, K. Poonthawee and C. Rankangthong. 2015. Comparison of meat quality between broiler and KU Betong chickens, pp. 836-843. In Proceedings of 53rd Kasetsart University Annual Conference: Plants, Animals, Veterinary Medicine, Fisheries, Agricultural Extension and Home Economics. 3-6 February 2015. Kasetsart University, Thailand.
Meyer, K. 2007. WOMBAT - A tool for mixed model analyses in quantitative genetics by restricted maximum likelihood (REML). J. Zhejiang. Univ.-Sci. B. 8: 815-821.
Meyer, K. 2013. WOMBAT a Program for Mixed Model Analyses by Restricted Maximum Likelihood. Animal genetic and breeding unit, University of New England, Armidale, Australia.Meyer, K. and S.P. Smith. 1996. Restricted maximum likelihood estimation for animal models using derivatives of the likelihood. Genet. Sel. 28: 23-49.
Olawumi, S. O. 2013. Phenotypic correlations between live body weight and carcass traits in arbor acre breed of broiler chicken. I.J.S.N. 4: 145-149.
Ponte, P.I.P., C.M. Rosado, J.P. Crespo, D.G. Crespo, J.L. Mourao, M.A. Chaveiro-Soares, J.L.A. Bras, I. Mendes, L.T. Gama, J.A.M. Prates, L.M.A. Ferreira, and C.M.G.A. Fontes. 2008. Pasture intake improves the performance and meat sensory attributes of free – range broiler. Poult. Sci. 87: 71-79.
Salim, H. M., H. R. Lee, C. Jo, S. K. Lee and B. D. Lee. 2008. Zinc in broiler feeding and nutrition. Avian Biol. Res. 1, 5-18.
Salim, H. M., H. R. Lee, C. Jo, S. K. Lee and B. D. Lee. 2012. Effect of dietary zinc proteinate supplementation on growth performance, and skin and meat quality of male and female broiler chicks. Brit. Poult. Sci. 53(1): 116-124.
SAS – University – Edition © 2014, SAS Institute Inc, Cary. NC, USA.Schleifer, J. 1988. Costly skin tear problem has several major causes. Poult. Dig. 580-586.
Shafey T. M., M. A. Alodan, E.O.S. Hussein and H.A. Al-Batshan. 2013. The effect of sex on the accuracy of predicting carcass composition of Ross broiler chickens. J. Anim. Plant Sci. 23: 975-980.
Sirri, F., M. Petracci, M. Bianchi and A. Meluzzi. 2010. Survey of skin pigmentation of yellow-skinned broiler chickens. Poult. Sci. 89:1556-1561.
Soltan, M.A. 2009. Influence of dietary glutamine supplementation on growth performance, small intestinal morphology, immune response and some blood parameters of broiler chickens. Poult. Sci. 8: 60-68.
Venturini, G.C., V.A.R. Cruz, J.O. Rosa, F. Baldi, L. El Faro, M.C. Ledur, J.O. Peixoto and D.P. Munari. 2014. Genetic and phenotypic parameters of carcass and organ traits of broiler chickens. Genet. Mol. Res. 13: 10294-10300.