การผลิตไอศกรีมโยเกิร์ตนมถั่วเหลืองผสมนมวัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มสนใจต่อสุขภาพของตนเองมากขึ้นโดยมุ่งเน้นบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดต่างๆ เนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะผลิตอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในรูปของอาหารทั่วไปซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และไอศกรีมโยเกิร์ตจัดเป็นหนึ่งในอาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถรับประทานได้ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากศึกษาการผลิตโยเกิร์ตจากนมถั่วเหลืองผสมนมวัวและแปรปริมาณเชื้อโยเกิร์ตเริ่มต้นเป็น 3 ระดับ คือ 2, 3 และ 4% แล้วบ่มที่อุณหภูมิ 45°C นาน 3 ชั่วโมง เมื่อนำโยเกิร์ตนมถั่วเหลืองผสมนมวัวมาวิเคราะห์ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และค่าความเป็นกรด (%TA) พบว่า โยเกิร์ตนมถั่วเหลืองผสมนมวัวที่ใช้เชื้อเริ่มต้น 2% จะให้ค่าความเป็นกรด-ด่างสูงที่สุด คือ 4.45 ขณะที่โยเกิร์ตนมถั่วเหลืองผสมนมวัวที่ใช้เชื้อเริ่มต้น 4% จะให้ค่าความเป็นกรดสูงที่สุด คือ 0.55% (P≤0.05) จากนั้นศึกษาปริมาณโยเกิร์ตนมถั่วเหลืองผสมนมวัวที่เหมาะสมในการผลิตไอศกรีมโดยแปรปริมาณเป็น 3 ระดับ คือ 10, 20 และ 30% แล้วประเมินความชอบของผู้ทดสอบชิมต่อผลิตภัณฑ์ไอศกรีม พบว่าคะแนนความชอบเฉลี่ยด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมมีค่าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) โดยคะแนนความชอบโดยรวมเฉลี่ยมีค่าอยู่ในช่วง 7.5-7.7 ดังนั้น จึงเลือกใช้ปริมาณโยเกิร์ตนมถั่วเหลืองผสมนมวัว 30% ในการผลิตไอศกรีม นอกจากนี้ ได้ศึกษาการใช้สารช่วยให้คงตัว 2 ชนิด คือ แซนแทนกัมและเจลาติน ที่ระดับปริมาณแตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ 0.1, 0.2 และ 0.3% ในการผลิตไอศกรีมโยเกิร์ตนมถั่วเหลืองผสมนมวัว แล้วนำผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่ได้ไปประเมินความชอบของผู้ทดสอบชิม พบว่าผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่เติมแซนแทนกัม 0.3% ให้ค่าคะแนนความชอบโดยรวมเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 7.73 ซึ่งมีค่าสูงกว่าผลิตภัณฑ์ไอศกรีมโยเกิร์ตนมถั่วเหลืองผสมนมวัวที่เติมแซนแทนกัม 0.2, 0.1 % และ เจลาติน 0.1, 0.2, 0.3% โดยมีค่าคะแนนความชอบโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 6.86, 5.66, 5.86, 5.70 และ 5.73 ตามลำดับ (P≤0.05)
Article Details
References
ชุติมา ไชยเชาว์. 2543. การศึกษาชนิดของหัวเชื ้อโยเกิร์ตที่มีผลต่อคุณภาพของโยเกิร์ต. งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.
ไชยวัฒน์ ไชยสุต. 2553. สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก. ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
บัญญัติ สุขศรีงาม. 2535. โยเกิร์ตอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารใกล้หมอ. 6(39): 15-16.บุญจันทร์ สายยิ้ม. 2530. การใช้นมถั่วเหลืองผสมนมโคในการผลิตนมเปรี้ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปาริชาติ สักกะทำนุ. 2549. อึบอกชะตาอุจจาระวิทยาการล้างพิษลำไส้: บทบาทใหม่โอลิโกฟรุกโตส-FOS. รวมทรรศน์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2556. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 354 เรื่องไอศกรีม. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 87ง หน้า 85 ราชกิจจานุเบกษา, 24 กรกฎาคม 2556.
AOAC. 2000. Official method of analysis of AOAC international. Volume 2, 12nd edition. The association of Official analytical chemists, Virginia.
Carroll, K.K., and E.M. Kurowska. 1995. Soy consumption and cholesterol reduction: review of animal and human studies. Food chem. 125(3 Suppl.): 594S-597S.
Homayouni, A., A. Azizi, M.R. Ehsani, M.S. Yarmand, and S.H. Razavi. 2008. Effect of microencapsulation and resistant starch on the probiotic survival and sensory properties of symbiotic ice cream. Food chem. 111: 50-55.
Lathia, D., and S. Kruchten. 1996. Potential nutritional and health benefits of newly developed fermented soymilk desserts. Second International Symposium on the Role of Soy in Preventing and Treating Chronic Disease. September 15-18, Belgium.
Liener, I.E. 1972. Nutritional value of food protein products. Chap. 7. In: A.K. Smith and S.J. Circle, Soybeans: Chemistry and Technology, Vol. 1, Proteins, Avi Publishing, Westport, Conn.
Loanna, S., and K.Z. Gregory. 1990. Effect of some stabilizer on textural and sensory characteristics of yogurt ice cream from sheep milk. J Food Sci. 55(3): 703–707.
Marshall, R.T., and W.S. Arbuckle. 1996. Ice cream. Chapman & Hall, New York.
Naut, K.R. 2004. Yogurt. In Handbook of food and beverage fermentation technology. Hui, Y.H., L.M. Goddik, A.S. Hansen, J. Josephen, W.K. Nip, P.S. Stanfield, and F. Toldra. (Editors). Marcel Dekker, New York.
Yamabi, S., K. Kobayashi-Hattori, K. Kaneko, H. Endo, and T. Takita. 2007. Effect of soybean varieties on the content and composition of isoflavone in rice-koji miso. Food chem. 100: 369-374.