ประสิทธิภาพของชุดกำจัดไนเตรทระบบปฏิกรณ์ชีวภาพแบบหลายช่องในการเลี้ยงปลาหมอ

Main Article Content

วรพงษ์ นลินานนท์
สายชล เลิศสุวรรณ

บทคัดย่อ

ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกำจัดไนเตรทระบบปฏิกรณ์ชีวภาพแบบหลายช่องที่ติดตั้งประกอบในชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียนเปรียบเทียบกับชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียนทั่วไป ในการเพาะเลี้ยงปลาหมอ วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุดการทดลอง ๆ ละ 4 ซ้ำ ใช้ปลาที่มีน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 1.83 กรัม ความยาวมาตรฐานเฉลี่ยเริ่มต้น 2.63-2.78 เซนติเมตร จำนวน 30 ตัว/ซ้ำ ชุดการทดลองที่ 1 เป็นชุดควบคุมที่เลี้ยงปลาในชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน (RAT) ทั่วไป และชุดการทดลองที่ 2 เป็นชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียนที่ประกอบชุดกำจัดไนเตรทระบบปฏิกรณ์ชีวภาพแบบหลายช่อง (RAT+MDB) ทำการเลี้ยงเป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์ โดยให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า ค่าคุณภาพน้ำในกลุ่มสารอินทรีย์ไนโตรเจน ในชุดการทดลองที่ 2 (RAT and MDB) มีค่าปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไนเตรทต่ำากว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองควบคุม โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 10 เป็นต้นไป ในขณะที่ค่าประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของปลาหมอทดลองพบว่า ปลาในชุดถังทดลอง (RAT+MDB) มีค่าน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักเพิ่ม น้ำหนักเพิ่มต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ดีที่สุดมีค่าแตกต่างทางสถิติกับชุดการทดลองควบคุม (P < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ขวัญชัย กุลสันติธำรง. 2553. การออกแบบระบบน้ำหมุนเวียน (Reclaim Water). แหล่งข้อมูล: http://thailandindustry.com. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2559.
ชลฤทัย พิญเดช, ประจวบ ฉายบุ, เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน และฐปน ชื่นบาล. 2554. การเปรียบเทียบการเจริญเติบโต และคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาบู่ทรายระบบปิด. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 5: 27-37.
ปฐมพงษ์ กาศสกุล, ประจวบ ฉายบุ, ชนกันต์ จิตมนัส และเกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน. 2557. ความหนาแน่นที่เหมาะสมของการเลี้ยงปลานิลในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอควาโปนิกส์. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 8: 23-32.
สนธิพันธ์ ผาสุกดี และ ไพรัตน์ ก่อสุธารัตน์. 2558. การพัฒนาต้นแบบระบบเลี้ยงปลานิลแดงแบบหนาแน่นในระบบน้ำหมุนเวียน. กองวิจัยประมงน้ำจืด. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
สรวิศ เผ่าทองศุข และ เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต. 2550. การเลี้ยงกุ้งในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดในโรงเรือน. ใน:เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง นวัตกรรมและทิศทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบหมุนเวียนแบบปิดในประเทศไทย จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
สุจินต์ โรจนพิทักษ์. 2550. การเลี้ยงปลาหมอ. เกษตรสยามบุ๊คส์, กรุงเทพฯ. สุทธิชัย ปทุมล่องทอง. 2545. การเลี้ยงปลาน้ำจืด. สำนักพิมพ์น้ำฝน จำกัด, กรุงเทพฯ.
Boyd, C. 1990. Water Quality in Ponds for Aquaculture. Birmingham Publishing Co., Alabama.Crab, R., Y. Avnimelech, T. Defoirdt, P. Bossier, and W. Verstraete. 2007. Nitrogen removal techniques in aquaculture for a sustainable production. Aquaculture. 270: 1-14.
Delanghe B., F. Nakamura, H. Myoga, Y. Magara, and E. Guibal. 1994. Drinking water denitrification in a membrane bioreactor. Water. Sci.Technol. 30: 157-160.
Halver,J.E. 1972. In Fish Nutrition. pp. 651. In: J.E. Halver, Editor. Academic Press, New York.
MacIntyre, C.M., T. Ellis, B.P. North, and J.F. Turnbull. 2008. The influences of water quality on the welfare of farmed rainbow trout: a review; In Fish welfare. Blackwell Publishing Ltd., Singapore.
Popma, T.J., and L.L. Lovshin. 1996. World wide prospects for commercial production of tilapia. In: Research and Development series No. 41. International Center for Aquatic Environments. Department of Fisheries and Allied Aquacultures, Auburn University, Alabama.
Pujol, R., M. Hamon, X. Kendel, and l H. Lemme. 1994. Biofilters: flexible, reliable biological reactors. Wat. Sci. Tech. 29: 33–38.