ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการเป็น Smart Farmer ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

อภิพล ทองคำ
พิชัย ทองดีเลิศ
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับ Smart Farmer ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากภายนอก และปัจจัยด้านการเปิดรับข่าวสารด้านการเกษตร 2) ความคิดเห็นต่อการเป็น Smart Farmer 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับ Smart Farmer ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากภายนอก และปัจจัยด้านการเปิดรับข่าวสารด้านการเกษตรกับความคิดเห็นต่อการเป็น Smart Farmer กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรจำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.92 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 61.5 เกษตรกรสมรสแล้ว จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน ประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 27.93 ปี ทำการเกษตรผสมผสาน รายได้จากการทำการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 279,520 บาท/ปี รายได้อื่นๆ เฉลี่ย 61,050.77 บาท/ปี พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 17.89 ไร่ จำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.92 คน ส่วนใหญ่มีการกู้เงิน เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับ Smart Farmer อยู่ในระดับมาก การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและจากหน่วยงานภาคเอกชนอยู่ในระดับปานกลาง ได้รับข่าวสารด้านการเกษตรผ่านเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ โทรทัศน์ และการฝึกอบรม/บรรยายพิเศษ 2) เกษตรกรมีระดับความคิดเห็นต่อการเป็น Smart Farmer ในระดับปานกลาง 3) สถานภาพการสมรส สาขาการทำ การเกษตร และการเปิดรับข่าวสารด้านการเกษตรผ่านสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการเป็น Smart Farmer ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2556. คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/E4WrT4. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2558.
กฤติพล แก้วโพธิ์. 2536. ความต้องการและปัญหาของเกษตรกรในรับรู้ข่าวสารการเกษตรจากวิทยุโทรทัศน์ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นฤมล รื่นไวย์. 2552. จอตู้ (ต่างแดน) เลาะดูขบวนการปกป้องเด็ก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, กรุงเทพฯ.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,กรุงเทพฯ.
สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ. 2559. ข้อมูลพื้นที่และครัวเรือนเกษตรกรประจำปี 2558,สมุทรปราการ. (อัดสำเนา).สำนักงานเกษตรอำเภอบางเสาธง. 2560. ข้อมูล Smart Farmer ประจำปี 2560, สมุทรปราการ. (อัดสำเนา).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560. ตารางสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด (2538-2558). แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/5wJq5x. ค้นเมื่อ 1 กรกฏาคม 2560.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. บุ๊คส์ ทู ยู, กรุงเทพฯ.
Yamane, Taro. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. Harper and. Row Publication, New York.