ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตกระเทียมในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
แม้ว่าอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ผลิตกระเทียมที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ แต่อัตราเพิ่มของผลผลิตเฉลี่ยของอำเภอฝางกลับต่ำที่สุด กล่าวคือ ช่วงระหว่างปี 2550-2558 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.96 จนกระทั่งมีผลผลิตเฉลี่ยเพียง 3,570 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2558 ซึ่งเป็นผลผลิตเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้มเชิงเฟ้นสุ่ม (Stochastic Nonparametric Envelopment of Data: StoNED) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตกระเทียมในปีการผลิต 2558/2559 ของเกษตรกรในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 100 ราย และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตกระเทียมด้วยแบบจำลอง Tobit ผลการศึกษาพบว่า ค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยของเกษตรกรเท่ากับ 0.60 และเกษตรกรตัวอย่างร้อยละ 55 มีระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคอยู่ในระดับสูง (0.6-0.8) สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตกระเทียม พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตกระเทียมในทิศทางบวกที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและ ตัวแปรหุ่นลักษณะพื้นที่ปลูก และที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ ตัวแปรหุ่นแหล่งน้ำเสริม สำหรับตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตกระเทียมในทิศทางลบ ได้แก่ ประสบการณ์ในการปลูกกระเทียมของเกษตรกร และพื้นที่ปลูกกระเทียม ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการส่งเสริมความรู้ การให้ความสำคัญต่อการศึกษาของเกษตรกร การเลือกใช้ที่ดินในการปลูกอย่างเหมาะสม และการมีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในการเกษตรต่อไปในอนาคต
Article Details
References
จิราพร ปาลี. 2555. ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวเหนียวในอำเภอหางดงและสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวิธีเส้นห่อหุ้มเชิงเฟ้นสุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พรพรรณ์ เลสัก. 2556. ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตถั่วเหลืองในเขตชลประทานในจังหวัดเชียงใหม่โดยวิธีเส้นห่อหุ้มเชิงเฟ้นสุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุดชล วุ้นประเสริฐ และ ธีรยุทธ เกิดไทย. 2558. การจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
เยาวเรศ เชาวนพูนผล, อารี วิบูลย์พงศ์, และ ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์. 2547. ประสิทธิภาพทางเทคนิค ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตชลประทานจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 8: 1-14.
สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. 2558. กระเทียม. แหล่งข้อมูล: http://www.ndoae.doae.go.th/web/far/far.htm. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2558.
อารี วิบูลย์พงศ์. 2549. เศรษฐมิติประยุกต์สำหรับการตลาดเกษตร. ภาควิชาเศรษฐศาสตรเกษตรคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
Charnes, A., W.W. Cooper, A.Y. Lewin, and L. M. Seiford. 1995. Data Envelopment Analysis: Theory, Methodology and Applications Kluwer Academic Publishers, Boston.
Factfish. 2015. Garlic: Area harvested (hectare) for all countries. Available: https://goo.gl/dzikoS. Accessed Aug. 19, 2015.
Farrell, M.J. 1957. The Measurement of Productive Efficiency. Journal of Royal Statistical Society. 120: 253-290.
Kuosmanen, T. 2006. Representation theorem for convex nonparametric least squares. Journal of Econometrics. 11: 308-325.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. Harper and Row, NewYork.