การจัดการความเสี่ยงทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ศุภิสรา พรายมูล
พิชัย ทองดีเลิศ
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ความรู้เกี่ยวกับการปลูกลิ้นจี่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงในการปลูกลิ้นจี่ 2) การจัดการความเสี่ยงทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ความรู้เกี่ยวกับการปลูกลิ้นจี่และความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงในการปลูกลิ้นจี่กับการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามและ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกร จำนวน 317 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าไคสแควร์สำหรับทดสอบสมมติฐาน ผลวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59.9 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักทำสวนส้มโอ อาชีพรองทำสวนลิ้นจี่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.47 คน ประสบการณ์ปลูกลิ้นจี่เฉลี่ย 30.27 ปี รายได้เฉลี่ย 55,679.49 บาท/ไร่ รายจ่ายเฉลี่ย 1,778.62 บาท/ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 4.93 ไร่ พื้นที่ปลูกลิ้นจี่เฉลี่ย 2.12 ไร่ แรงงานเฉลี่ย 3.17 คน ส่วนมากใช้ทุนตนเอง การเปิดรับข้อมูลข่าวสารมาจากเพื่อนเกษตรกร การจัดประชุม โทรทัศน์ ส่วนใหญ่ไม่มีการเข้าร่วมกลุ่ม หน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนเกษตรกร ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศมีผลต่อการปลูกลิ้นจี่ เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกลิ้นจี่ในระดับมาก มีการจัดการความเสี่ยงทางการเกษตรในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อาชีพรอง ประสบการณ์ปลูกลิ้นจี่ รายได้ รายจ่าย พื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่ปลูกลิ้นจี่ แรงงาน การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร สมาชิกกลุ่ม ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงในการปลูกลิ้นจี่ ความรู้เกี่ยวกับการปลูกลิ้นจี่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2552. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 174 หน้า.
กฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์. 2552. แผนบริหารความเสี่ยง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2552. แหล่งข้อมูล: www.nrct.go.th. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559.
ขจรศักดิ์ พิทักษศรี. 2557. ไม้ผลเศรษฐกิจ. เกษตรสยาม, กรุงเทพฯ.
จุฑาทอง จารุมิลินท. 2553. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินสำหรับเกษตรกร: กรณีศึกษาการประกันภัยพืชผลโดยใช้ดัชนีสภาพอากาศในประเทศไทย. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, กรุงเทพฯ.
จุฬาภรณ์ ถาวร. 2550. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของแกนนำเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, กรุงเทพฯ.นที ขลิบ. 2544. กลุ่ม กระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมบุคคล ในประมวลสาระชุดวิชาองค์กรพัฒนาเพื่อการส่งเสริมการเกษตร หน่วยที่ 8 สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และ บำเพ็ญ เขียวหวาน. 2558. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรของเกษตรกร. วารสารสังคมศาสตร์. 4(2): 43-54.
ปราชญา กล้าผจัญ. 2551. การบริหารความเสี่ยง. ปราชญา พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ.
มัทยา กลิ่นหวล. 2557. เทคนิคการทำสาวลิ้นจี่พันธุ์ค่อมทรงพุ่มเตี้ยของจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเคหการเกษตร. 38(12): 109-112.
รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2552. ความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตลิ้นจี่และการจัดการของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา. วารสารเกษตร. 25(2): 163-168.
วรรณี สุทธใจดี. 2553. รายงานวิจัยวิเคราะห์รูปแบบการกระจายผลิตผลลิ้นจี่เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ของอำเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.
สาธิต อดิตโต. 2556. การเปรียบเทียบการรับรู้ความเสี่ยงทางและการจัดการความเสี่ยงทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 41(3): 285-294.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2558. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/ZNnWDA. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2558.
สำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม. 2558. ข้อมูลทั่วไป จังหวัดสมุทรสงคราม. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/DSeRJa. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. นำเข้า – ส่งออกสินค้าที่สำคัญ. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/yieXon. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. ข้อมูลการผลิตสินค้าการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/WXnCjG. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2541. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง. ฐานบัณฑิต, กรุงเทพฯ.
อำนาจ ชิดไธสง. 2553. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย เล่มที่1 สภาพภูมิอากาศในอดีต. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.