การเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรของสมาชิกองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ฝากจิต ปาลินทร ลาภจิตร
จำนงรักษ์ อุดมเศรษฐ์
ธานินทร์ คงศิลา

บทคัดย่อ

แรงงานเป็นปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพการผลิตทางการเกษตร จากการศึกษาข้อมูลขั้นต้น พบว่า ประชากรภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังขาดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ภาคเกษตร จึงได้ทำการศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรของสมาชิกองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (อกท.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถือเป็นเยาวชนและอาจเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ในอนาคต โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 362 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2559 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า สมาชิก อกท.เปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรเป็นบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 1.09) เมื่อพิจารณาแต่ละแหล่งข้อมูลข่าวสารพบว่า ครู/อาจารย์ เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีการเปิดรับบ่อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย 1.63) รองลงมาได้แก่ ครอบครัว (ค่าเฉลี่ย 1.32) โทรทัศน์ (ค่าเฉลี่ย 1.29) และอินเตอร์เน็ต (ค่าเฉลี่ย 1.28) ซึ่งได้กำหนดค่าคะแนนความถี่ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรของเยาวชนจากแต่ละแหล่ง 3 ระดับ จาก 0-2 ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ 1) อายุ แตกต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรแตกต่างทางสถิติ 1 แหล่ง ได้แก่ การศึกษาดูงาน (P < 0.05) 2) ประสบการณ์ด้านการเกษตรแตกต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรแตกต่างทางสถิติ 7 ช่องทาง ได้แก่ ครู/อาจารย์ วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์และเพื่อน (P<0.05) การศึกษาดูงานและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของภาครัฐ (P < 0.01) และ 3) การได้รับการฝึกอบรมด้านการเกษตรแตกต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรแตกต่างทางสถิติ 6 แหล่ง ได้แก่ ครู/อาจารย์ เพื่อนบ้าน สิ่งพิมพ์ การศึกษาดูงาน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของภาครัฐ (P < 0.05) และวิทยุ (P < 0.01) ส่วนการเปรียบเทียบปัจจัยด้านครอบครัวของสมาชิก อกท. พบว่า 1) อาชีพบิดาแตกต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรแตกต่างทางสถิติ 2 แหล่ง ได้แก่ ครอบครัว (P < 0.05) และครู/อาจารย์ (P < 0.001) 2) อาชีพมารดาแตกต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรแตกต่างทางสถิติ 5 แหล่ง ได้แก่ เพื่อนบ้าน กระจายข่าวชุมชน และโทรทัศน์ (P < 0.05) ครอบครัว (P < 0.01) และครู/อาจารย์ (P < 0.001) การมีที่ดินเพื่อการเกษตรของผู้ปกครองแตกต่างกัน มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรแตกต่างทางสถิติ 3 แหล่ง ได้แก่ ครู/อาจารย์ ครอบครัว และเพื่อน (P < 0.05) ส่วนการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านครอบครัวที่มีต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตร พบว่า เกรดสะสมเฉลี่ย ประสบการณ์ในการทำการเกษตร การเป็นสมาชิกกลุ่มการเกษตและจำนวนแรงงานด้านการเกษตรในครัวเรือน มีอิทธิพลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และการได้รับการฝึกอบรมด้านการเกษตร มีอิทธิพลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการเกษตร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า บุคคลใกล้ชิดเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารการเกษตรที่สำคัญและมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของสมาชิก อกท.

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กำพล ดวงพรประเสริฐ, อุไรวรรณ ชาญชลยุทธ และดลฤดี ศรีมันตะ. 2558. การเปิดรับ การใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจและความต้องการข่าวสารเกี่ยวกับข้าวของนักเรียนโรงเรียนทัพราชวิทยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารสังคมศาสตร์. 4(1): 41-47.
ชานนท์ ศิริธร และ วิฏราธร จิรประวัติ. 2555. การเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภคเจเนเรชั่นเอ็กซ์และเจเนเรชั่นวาย. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 5(2): 111-130
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. 2552. รายงานการเกษตรทางโทรทัศน์: ภาพสะท้อนความสำคัญของอาชีพเกษตรกรรมในสังคมไทย. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/54NSeu. ค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2559.
พนมวรรณ คาดพันโน และคณะ. 2556. โครงการงานวิจัยท้องถิ่นประเด็น เด็และเยาวชนจังหวัดยโสธร สู่การสื่อสารสังคม. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/5oRPaa. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2558.
สมคิด จุปะมะตัง, ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน และไพศาล วรคำ. 2555. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการเรียนวิชาเกษตร นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4.วารสารการวัดผลการศึกษา. 17: 305-318
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร กรณีศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/wRGcMw. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2558.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. เจาะลึกภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร เกาะติดรายได้ หนี้สินเกษตรกรไทย. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/miwRNN. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/wAbrVo. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560.
สุทิน คล้ายมนต์. 2556. คลอดสื่อ “เกษตรกรรมลองทำดู” กษ.จับมือ “นานมีบุคส์” ผลิตหนังสือชุดจุดประกายเด็กไทย. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/WE6ns6. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2559.
สุวดี นำพาเจริญ และ ชลทิชา จำรัสพร. 2557. การวิเคราะห์สมการถดถอย. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/pCBJfG. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2560.
อรนิภา ศรีคุณน้ำเที่ยง และ ชัยชาญ วงศ์สามัญ. 2560. แรงจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรในอนาคตของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นในจังหวัดอุดรธานี. แก่นเกษตร. 45(ฉบับพิเศษ 1): 1497-1502.
เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์. 2556. มีเดียร์มอนิเตอร์เสนอเกณฑ์ช่องสาธารณะ กสทช.แนะ TV 5 เน้นประโยชน์. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/dY24UX. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2560.
Boleman C. T., and Jr. F. Burrell. 2003. Agricultural science fairs: Are students truly learning from this activity?. Extension Journal. Available: https://goo.gl/8iAk26. Accessed Oct. 4, 2017.
Hunt, Todd, and D. Ruben Brent. 1993. Mass communication: producers and consumers. Harper College Publishers, New York.