การติดตามการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินบางประการและพืชทดลองที่ได้รับน้ำเสียโรงพยาบาลชุมชนในร่องซึม

Main Article Content

ชัญชณาฎฐ์ สุวรรณวิวัฒน์
วิทยา ตรีโลเกศ
ชัชชาย แจ่มใส

บทคัดย่อ

การกำจัดน้ำเสียที่ได้รับความนิยมวิธีหนึ่ง คือ การซึมใต้ผิวดิน น้ำเสียทั้งหมดที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นมาแล้ว เมื่อนำมาปล่อยเข้าสู่ดินชั้นบนเพื่อทำลายนั้น เป็นผลให้มีสารตกค้างจากน้ำเสียจำนวนมากในดิน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินเมื่อได้รับน้ำเสียตัวอย่าง ซึ่งเป็นน้ำเสียจากโรงพยาบาลชุมชน โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD 3 ซ้ำ 3 ตำรับการทดลอง (ปลูกข้าวโพด ปลูกหญ้าแฝก และไม่ปลูกพืชเป็นชุดควบคุม) ทำการทดลองเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ในขณะทำการทดลองปล่อยน้ำเสียตัวอย่างตลอดเวลา ผลการทดลองพบว่า ดินที่ได้รับน้ำตัวอย่าง มีปริมาณธาตุอาหารพืช (N P K) ในรูปไนโตรเจนรวม ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ มีค่าเพิ่มขึ้นทุกหน่วยทดลอง โดยในชุดควบคุมมีการเพิ่มขึ้นมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.01 ส่วนข้าวโพดและหญ้าแฝกที่ปลูกในหน่วยทดลองพบว่า หญ้าแฝกมีมวลชีวภาพมากกว่าข้าวโพด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.01 ซึ่งสภาพดังกล่าวเป็นผลมาจากหน่วยทดลองที่ปลูกพืชนั้น พืชทดลองได้ดูดใช้ธาตุอาหาร จึงทำให้พบมีปริมาณต่ำกว่าชุดควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. 2552. การบำบัดน้ำเสีย. พิมพ์ครั้งที่ 3. [ม.ป.พ.], นนทบุรี.
จำเนียร มูลเทพ. 2552. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม. 11(4): 14 – 20.
ชัชชาย แจ่มใส. 2549. ความเหมาะสมของการนำตะกอนน้ำเสียโรงพยาบาลชุมชนเพื่อใช้ในการปลูกข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปฐพีศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัชชาย แจ่มใส. 2554. รายงานการวิจัย การกำจัดน้ำเสียโดยระบบการซึมผ่านใต้ผิวดินโรงพยาบาลตระการพืชผล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ณัฐภูมิ สุดแก้ว. 2551. ขับถ่ายอย่างไรไม่เป็นภาระ. วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ. 11(8): 38-45.
พรชัย ศรีเชียงสา. 2559. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิรัชฌา วาสนานุกูล, ปรัชญา ธัญญาดี และสุภาพร จันรุ่งเรือง. 2551. การแปรสภาพสิ่งขับถ่ายของเสียของคน เป็นปุ๋ ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน. วารสารเกษตรธรรมชาติ. 11(8): 54 – 58.
ลัฐกา จันทร์จิต และ ชาญชัย เกษจันทร์. 2552. การจัดการเรื่องส้วมและสิ่งปฏิกูลตามกฎหมายไทย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม. 11(2): 3 – 13.
วิทยา ตรีโลเกศ. 2545. หลักการทางฟิสิกส์ของดิน. ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิไลวัล ศรีสุโพธิ์. 2555. ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียในดินที่ผ่านระบบกำจัดน้ำเสียแบบร่องซึมกรณีถังเกรอะที่มีระยะพักตัวแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. 2547. ฟอสฟอรัสในดินระดับที่เป็นพิษ. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/Y595mg. ค้นเมื่อ 4 กันยายน 2560.
อภิญญา จันทรวัฒนะ. 2554. การตรวจหา Coliform bacteria และ E. coli. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/ZW4izv. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2559.
Hammond, C., Tyson and Tony. 1991. Septic tank design and construction. Athens, GA: University of Georgia, Cooperative Extension Service, Georgia.
Hargett, D., L. Tyler, and R.L. Siegrist.. 1981. Soil Infiltration Capacity as Affected by Septic Tank Effluent Application Strategies. Onsite Sewage Treatment Symposium Chicago. [n.p.], Illinois.
Koupai, J.A., B.M. Fard, M. Atyuni, and M.R. Bagheri. 2006. Effect of treated wastewater on soil chemical and physical properties in an arid region. Plant Soil. Environ. 8(8): 344 – 355.
Montiel, O.V., N.J. Horan, and D.D. Mara. 1996. Management of Domestic Wastewater for reuse in irrigation Wat. Sci. 33(10): 355-362.
Scherer, T.F. 2006. Individual home sewage treatment systems. North Dakota State University. [n.p.].Tyler, E.J., E.M. Drozd, and J.O. Peterson. [n.d.]. Estimating wastewater loading rates using soil morphological descriptions. Wisconsin of University, Madison.
Venhuizen, D.P.E. 2011. An analysis of the potential impacts on groundwater quality of on site wastewater management using alternative management practices. Available: https://goo.gl/y77nLk. Accessed Jul 17, 2010.
Vogeler, I. 2009. Effect of long-term wastewater application on physical soil properties. Water Air Soil Pollut. 196: 385-392.
Ziebell, W, A., R.J. Otis, and J. Bouma. 1973. An Evaluation of two Experimental Household Wastewater Treatment and Disposal Systems in Southeastern Wisconsin. Wisconsin of University, Madison.