ลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมหลังการพอกด้วยวัสดุประสานและวัสดุพอกที่แตกต่างกัน

Main Article Content

ศศิประภา บัวแก้ว
บุญมี ศิริ

บทคัดย่อ

เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมเป็นเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็ก มีรูปร่างเรียวแบน และอาหารสะสมในเมล็ดน้อย การพอกเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่สามารถทำให้เพาะกล้าได้สะดวกขึ้น ซึ่งวัสดุประสานและวัสดุพอกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้การพอกเมล็ดพันธุ์ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุประสานและวัสดุพอกที่เหมาะสมสำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม โดยทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ อาคารโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การศึกษาวัสดุประสาน ใช้วัสดุประสาน 4 ชนิด คือ methylhydroxy ethylcellulose (MHEC), hydroxylpropyl methylcellulose (HPMC), polyvinyl pyrrolidone (PVP-K90) และ polyvinyl alcohol (PVA) และใช้ calcium sulfate อัตรา 250 กรัม เป็นวัสดุพอกต่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 10 กรัม การทดลองที่ 2 การศึกษาวัสดุพอก ใช้วัสดุพอก 6 ชนิด คือ talcum, calcium carbonate, calcium sulfate, calcium carbonate ร่วมกับ pumice, calcium carbonate ร่วมกับ bentonite และ calcium carbonate ร่วมกับ zeolite และใช้ methylhydroxy ethylcellulose อัตรา 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เป็นวัสดุประสานต่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม 10 กรัม จากการตรวจสอบตรวจสอบลักษณะทางกายภาพเมล็ดพอก พบว่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมที่พอกด้วย MHEC และ calcium sulfate สามารถขึ้นรูปเมล็ดพอกได้ง่าย เมล็ดพอกมีความกร่อนต่ำ และสามารถละลายน้ำได้ดี เมื่อตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการพอกพบว่า การใช้ MHEC เป็นวัสดุประสาน และ calcium sulfate เป็นวัสดุพอก ไม่มีผลต่อความงอกและความเร็วในการงอก นอกจากนี ้ยังพบว่าการพอกเมล็ดพันธุ์ทุกกรรมวิธีทำให้ต้นกล้าผักกาดหอมมีรากยาวกว่าเมล็ดพันธุ์ไม่พอก

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติวรรณ กล้ารอด และ บุญมี ศิริ. 2557. การเปรียบเทียบชนิดของสารเคลือบต่อการเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม. แก่นเกษตร. 41(ฉบับพิเศษ 1): 97-103.
จักรพงษ์ กางโสภา และ บุญมี ศิริ. 2556. ผลของการพอกเมล็ดด้วย pumice zeolite และ bentonite ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย. แก่นเกษตร. 41(ฉบับพิเศษ 1): 257-262.
จักรพงษ์ กางโสภา และ บุญมี ศิริ. 2558. ศักยภาพของการใช้ carboxymethyl cellulose และ hydroxypropyl methylcellulose เป็นวัสดุประสาน สำหรับการพอกเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม. แก่นเกษตร. 43(ฉบับพิเศษ 1): 268-273.
จักรพงษ์ กางโสภา. 2557. ผลของสูตรตำรับและวิธีการพอกเมล็ดด้วยสารเคมีป้ องกันโรคเน่าคอดินต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ญานิศา บุญวัชรพันธ์, แสงระวี สุทธิปริญญานนท์ และผดุงขวัญ จิตโรภาส. 2556. การศึกษาความเป็นไปได้ของแป้ งข้าวเจ้าดัดแปรด้วยด่างในแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นสารช่วยแตกตัวในยาเม็ด. ใน: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น.
ธีระศักดิ์ สาขามุละ และ บุญมี ศิริ. 2554. ผลของขนาดเมล็ดต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพด. แก่นเกษตร. 39(ฉบับพิเศษ): 98-103.
นงนุช แสงหิน. 2557. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็กด้วยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การเจริญเติบโตของต้นกล้าและผลผลิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานา, ขอนแก่น.
พิสิทธิ์ สุทธิอารมณ์ และ ภารุณี ถนอมเกียรติ. 2535. Tablet Coating. แผนกวิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วิชุดา คะสีทอง และ บุญมี ศิริ. 2560. ผลของการเคลือบก้อนพอกด้วยสารป้ องกันโรคพืชที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นกล้ายาสูบ.แก่นเกษตร. 45(ฉบับพิเศษ 1): 217-223.
ศศิประภา บัวแก้วและ บุญมี ศิริ. 2559. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วย Methylhydroxy Ethylcellulose และ Polyvinyl pyrrolidone เป็นวัสดุประสานต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ผัดกาดหอม. แก่นเกษตร. 44(ฉบับพิเศษ 1): 356-361.
สรินทร ลิ่มปนาท. 2550. ดินเบนโทไนต์. แหล่งที่มา: https://goo.gl/4thbDk. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สถิติการส่งออก-นำเข้า. แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2559.
สุริยา ตราชู และ บุญมี ศิริ. 2558. การพอกเมล็ดด้วย pumice talcum และ green cal ที่มีผลต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ยาสูบเวอร์จิเนีย. แก่นเกษตร. 41(ฉบับพิเศษ 1): 83-88.
สุริยา ตราชู. 2559. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยธาตุอาหารพิชที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรอนงค์ กิตติพงษ์พัฒนา. 2548. สารเคลือบ: เอกสารคำสอนระดับปริญญาตรี กระบวนวิชาสารช่วยสำหรับรูปแบบยาเตรียมของแข็ง. สายวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Anbarasan, R., P. Srimathi, and A. Vijayakumar. 2016. . Influence of nutrient pelleting on seed quality improvement in redgram (Cajanus cajan L.). India Legume Research. 39: 584-589.
Anderson, R.A., H.F. Conway, V.F. Pfeifer, and E.L. Griffin. 1969. Gelatinization of corn grits by roll and extrusion cooking. Cereal Science Today. 14: 4-12.
Bruggink, G.T. 2005. Flower Seed priming, Pregermimation, Pelleting and Coating. McDonald, M.B. and Kwong, F.Y. (eds). pp. 249-262. In: Flower seed biology and technology. CABI publishing, USA.
Butler, R. 1993. Coatings films and treatments. Seed World October. pp. 19-24. Coraspe, H.M., H.G. Idiarte, and K. Minami. 1993. Avaliacao do efeito da peletizacao sobre o vigor de sementes de alface (Lactuca sativa L.). Scientia Agricola, Piracicaba. 50: 349-354.
Damrosch, B. 2012. Why you should try pelleted seeds. Available: https://goo.gl/XgvEMS. Accessed Aug. 18, 2016.
Evlakova, E.S. 1985. Effect of concentration of physiologically active compounds on germination of pelleted cotton seeds. Materially-republicans-koi-nauchno teoreticheskoi konferenstsil molodykh-uchenykh-i-spectsialistov tadzhikskoi SSR-sektsiya-biology. 35: 50-55.
Geetha, V.V., and P. Balamurugan. 2011. Organic Seed Pelleting in Mustard. Research Journal of Seed Science. 4: 174-180.
Gouda, V.M., S.N. Vasudevan, M.B. Kurdikeri, N. Basavaraj, and B.B. Channappagoudar. 2008. Influence of seed pelleting on storability of onion (Allium cepa L.) Seeds. Karnataka Journal of Agricultural Sciences. 21: 206-211.
Gregg. B.R., and G. L. Billups. 2010. Seed Conditioning Volume Two Technology Part-A. Science Publishers, New York.
Guan, Y., J. Wang, J. Hu, Y. Li, W. Ma, W. Hu, and S. Zhu. 2013. Pathway to keep seed security: The application of fluorescein to identify true and fake pelleted seed in tobacco. Industrial Crops and Products. 45: 367-372.
Hill, H.J. 1999. Advances in Seed Technology. Original of New seeds. The Haworth Press, Inc 1(1).Hirota, H., M. Fukuyama, and T. Kanno. 1989. Improving seed pellets for grassland renovation. pp. 541-542. In: Conference paper Proceedings of the XVI International Grassland Congress, 4-11 October 1989, Nice, France.
ISTA. 2010. International Rules for Seed testing. Seed Science and Technology. Glattbrugg, Switzerland.
Kim, J.D., C.H. Kwon, S.G. Kim, J.K. Kim, and S.N. Hur. 2005. Development of seed pelleting Technique for surface sowing of alfalfa. Affiliation Cheonan Yonam College, Sunghwan, Cheonan-Si 330-709, Korea Republic, Jouenal of Animal Science and Technology. 47: 475-480.
Kiran, S.P., R. Paramesh, G.K. Nishanth, Channakeshava, and B. Niranjana Kumara. 2014. Influence of Seed Pelleting on Seed Quality of Sunflower hybrid seed production of KBSH-53 (Helianthus annus L.). International Journal of Advances in Pharmacy. Biology and Chemistry. 3: 2277-4688.
Kitamura, S., M. Watanabe, and M. Nakazama. 1981. Sumitiomo Chemical Company, assignee. Process for producing coated seed. United States Patent 4,250,660. Feb, 17.
Kubik, K. 2015. Putting pellets around seed: a science and an art, newsletter-6. Available: https://goo.gl/WgLpDx. Acessed May 13, 2016.Lowther, W.L. 1975. Interaction of lime and seed pelleting on the nodulation and growth of white clover. New Zealand Journal of Agricultural Research. 18: 357-360.
Peek D.R., T.D. Reed, C.S. Johnson, P.J. Semtner, and C.A. Wilkinson. 2008. Burley Tobacco Production Guide. Virginia Cooperative Extension, Virginia State University.
Porter, F.E., and H.E. Kaerwer. 1972. Coated seeds and methods. United States Patent 3,808,740. May 7.
Selvaraju, K. 1992. Studies on certain aspects of seed management practices for seed production under moisture stress conditions in sorghum (Sorghum bicolor L. Moench). M.Sc. (Agri.) Thesis, Tamil Nadu Agri. Univ., Coimbatore.
Shashibhaskar, M.S., S.N. Vasudevan, S.N. Nagabhushan, and V. Ramanjinappa. 2011. Effect of seed pelleting treatment on growth, seed yield and quality of tomato (Lycopersicum essulentum mill.) CV.PKM-1. Plant Archives. 11: 443-445.
Silva, J.B.C., and J. Nakagawa. 1998. Methods for evaluating cements for seed pelleting. Journal Horticulture Brasileira. 16: 31-37.
Soulange, J.G., and M. Levantard. 2008.Comparative studies of seed priming and pelleting on percentage and meantime to germination of seeds of tomato (Lycopersicon esculentummill.). African Journal of Agricultural Research. 3: 725-731.
Suma, N., P. Srimathi, and S.Sumathi. 2010. Influence of nutrient pelleting on seed quality of sesame (Sesamum indicum L.). Madras AgricJournal. 97: 23-24.
Taylor, A.G., and G.E. Harman. 1990. Concepts and technologies of selected seed treatments. Annual Review of Phytopathology. 28: 321-339.
Tuna, D., and Z. Ahmet. 2009. Improving the traditional sesame seed planting with seed pelleting. African Journal. 8: 6120-6126.
Vanangamudi, K., K. Natarajan, T. Saravanan, R. Renuka, N. Natarajan, R. Umarani, and A. Bharathi. 2006. Seed hardening, pelleting and coating: Principles and Practices. Satish Serial Publishing House, India.
Zareian, A., A. Hamidi, H. Sadeghi, and M.R. Jazaeri. 2013. Effect of seed size on some germination characteristics, seedling emergence percentage and yield of three wheat (Triticumaestivum L.) cultivars in laboratory and field. Middle-East Journal of Scientific Research. 13: 1126-1131.
Zenk, P. 2004. Seed coatings get serious. Available: http://farmindustrynews.com/mag. Accessed Feb. 1, 2016.Zink, F.W. 1954. Studies with pelleted lettuce seed. American Society for Horticultural Science, Davis. 15: 335-341.