สมบัติทางฟิสิกส์ดินและการย่อยสลายของเศษซากใบยางพาราในแปลงยางพาราที่มีอายุแตกต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน และอัตราการย่อยสลายของเศษซากใบยางพาราในแปลงยางพาราของเกษตรกรที่บ้านคำไฮผักแว่น อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นชุดดินชุมพวง (Chum Phuang series: Cpg) (Coarse-loamy, siliceous, isohyperthermic Typic Kandiustults) วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 3 ซ้ำ ในแปลงยางพาราที่มีอายุแตกต่างกัน คือ 5, 11 และ 22 ปี พบว่าความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density, BD) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติในทุกระดับความลึกระหว่างแปลงปลูกยางพาราที่มีอายุต่างกัน ดินที่ปลูกยางพาราอายุ 22 ปี มีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินสูงกว่า ดินที่ปลูกยางพาราอายุน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแปลงยางพาราอายุ 5 ปี มีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินต่ำที่สุด สำหรับการศึกษาการย่อยสลายของใบยางพารา ใช้เทคนิคการฝังถุงตาข่ายในดินในลักษณะแนวตั้ง 3 ซ้ำต่อแปลง โดยให้ส่วนบนของถุงตาข่ายอยู่ในระดับพื้นผิวดิน เก็บถุงตาข่ายที่ช่วงเวลา 0, 1, 6 และ 12 เดือน ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักแห้งของซากที่เหลืออยู่ของเศษซากใบยางพาราในช่วง 1, 6 และ 12 เดือน มีความแตกต่างในแต่ละช่วงเดือน โดยแปลงยางพาราอายุ 11 และ 22 ปี มีน้ำหนักแห้งของซากที่เหลืออยู่ต่ำที่สุดหลังวางเศษซากทิ้งไว้ 1 เดือน(36.2 - 40.25%)ตามด้วยแปลงยางพาราอายุ 5 ปี (51.63%)โดยมีอัตราการย่อยสลายเศษซาก (k)สูงสุดในช่วงหลังวางเศษซากทิ้งไว้ 1 เดือนในแปลงยางพาราอายุ 11 และ 22 ปี เท่ากับ 0.030 – 0.033 d-1 และ 0.023 d-1 สำหรับแปลงยางพารา อายุ 5 ปี เศษซากใบยางพารามีการย่อยสลายจนหมดที่ช่วง 12 เดือนหลังการวางถุงเศษซาก ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักเศษซากที่หายไปในแปลงยางพาราทุกอายุมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์และความชื้นของดิน
Article Details
References
กรมพัฒนาที่ดิน. 2556. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ “ยางพารา”. เอกสารวิชาการ. กองนโยบายและการใช้ที่ดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื ้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นพมณี สุวรรณัง, Cathy Clemont - Dauphin, กมรินทร์ นิ่มนวลรัตน์ และจิราพร สวยสม. 2559. พืชคลุมดิน: ตระกูลถั่วและแฝก ข้อดี ข้อเสียสำหรับการฟื ้นฟูทรัพยากรดินพื ้นที่ปลูกยางพาราในพื ้นที่ที่มีข้อจำากัด. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 95 หน้า.
บุญมา ดีแสง, ชลดา เต็มคุณธรรม, สมชาย อ่อนอาษา และรัตนา อ่อนสนิท. 2545. การเปลี่ยนแปลงของค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำและสมบัติทางกายภาพบางประการของดินภายหลังการทำลายป่าเพื่อใช้ประโยชน์ ที่ดินประเภทต่างๆ ในพื้นที่ต้นน้ำ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์. น.1-20. ใน: รายงานการวิจัยพื้นที่ต้นน้ำา สำนักวิชาการป่าไม้ กรมการป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ประชุม สันทัดการ. 2516. การเสื่อมคุณสมบัติของดินป่าดิบเขาภายหลังถูกแผ้วถางในช่วงเวลาต่างกันบริเวณดอยปุย เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประดิษฐ์ ตรีพัฒนาสุวรรณ, สาพิศ ดิลกสัมพันธ์, ดุริยะ สถาพร และเจด็จ รัตนแก้ว. 2550. การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพรรณไม้บางชนิดที่ปลูก ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร. รายงาศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ลักษณะที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/cMX7pi. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560.
ภูชนาฏ แสงอ่อน และ รุ่งเรือง พูลศิริ. 2553. การสลายตัวของซากใบในสวนป่าไม้ต่างถิ่น ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่. วนศาสตร์. 29: 26-35.
วิทยา ตรีโลเกศ. 2541. ฟิสิกส์ของดิน. ภาควิชาปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วีระชน ศักดิ์พงษ์. 2557. การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี ความชื้นในดิน การเจริญเติบโตและการใช้น้ำของยางพาราในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.สถาบันวิจัยยาง. 2550. พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง. กรมวิชาการเกษตร. น.29 – 31. ใน: ข้อมูลวิชาการยางพารา.สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สถาบันวิจัยยาง. 2553. ข้อมูลวิชาการยางพารา. กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/wrvYdm. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560.
สถาบันวิจัยยาง. 2556. พื้นที่ปลูกยางพาราของประเทศไทย. กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/fSH9FC. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2558. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/NxaMy4. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560.
อารักษ์ จันทุมา, ธีรชาต วิชิตชลชัย, พิศมัย จันทุมา, สุจินต์ แม้นเหมือน, วันเพ็ญ พฤกษ์วิวัฒน์, พนัส แพชนะ, สว่างรัตน์ สมนาค, พิบูลย์ เพ็ชรยิ่ง และสิริวัตร เต็มสงสัย. 2548. การเก็บรักษาก๊าซคาร์บอนในสวนยาง. น.14. ใน: รายงานโครงการวิจัยและพัฒนาระบบกรีดสรีระที่เหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิตสวนยาง. ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6.
Back, G. R., and K. H. Hartge. 1986. Bulk density. pp. 363-375. In: A. Klute, Ed. Methods of soil analysis. Part 1, Agronomy No.9, 2 nd ed. American Society of Agronomy, Madison, WI.
Bocock, K. L. 1964. Change in the amounts of dry matter, nitrogen, carbon and energy in decomposing woodland leaf litter in relation to the activities of the soil fauna. J. Ecol. 52: 273 - 284.
Braud, I., D. Condappa, D. Soria, J. M. Haverkamp, R. Augulo Jaramillo, R. Galle, S., and M. Vauclin. 2005. Use of scaled forms of the infiltration equation for the estimation of unsaturated soil hydraulic properties (the beerkan method). Eur. Journal Soil Sci. 56: 361 - 374.
Buol, S. W., F. D. Hole, and R. J. Mc Cracken. 1989. Soil Genesis and Classification. The Iowa State University Press, Amer., Iowa. 403 p.
Cunningham, R. K. 1963. The Effect of Clearing Tropical Forest Soil. Soil Sci. J. 14: 334- 345.
Gardner, W. H. 1982. Water content. Chapter 21 in Klute, A., ed. Methods of soil analysis. Part 1. Physical and mineralogical methods. 2nd Ed. Soil Science Society of America, Inc. Madison, Wisconsin.
Gosz, J. R., G. E. Likens, and F. H. Bormann. 1973. Nutrient release from decomposing leaf and branch litter in the Hubbard. Brook Forest, New Hampshire Ecological Monograph. 43: 173-191.
Jobi, M. C. 2006. Studies on the biology of luprops curticollis (Coleoptera: Tenebrionidae) and rubber litter insect dynamics in relation to rubber litter fall patterns. Thesis. Department of Zoology, St. Joseph’s College Devagiri, University of Calicut.
Lin, X. H., Q. B. Chen, Y. G. Hua, L. F. Yang, and Z. H. Wang. 2011. Soil moisture content and fine root biomass of rubber tree (Hevea brasiliensis) plantations at different ages. 2(2): 331 - 336.
María, J. andI. Briones. 2014. Soilfaunaandsoilfunctions: ajigsawpuzzle. FrontiersinEnviron. Sci., ReviewArticlevol2, Article7. 22p.
MooreT. R., J. A. Trofymow, B. Taylor, C. Prescott, C. Camiré, L. Duschene, J. Fyles, L. Kozak, M. Kranabetter, I. Morrison, M. Siltanen, S. Smith, B. Titus, S. Visser, R. Wein, andS. Zoltai. 1999. LitterdecompositionratesinCanadianforests. GlobalChangeBiology. 5: 75–82.
O’Neal, A. M. 1952. Akeyforevaluatingsoilpermeabilitybymeansofcertainfieldclues. SoilSci. Soc. Amer. Proc.16: 312 - 315.
Orimoloye, J. R., G. E. Akinbola., S. O. Idoko., Y. Waizah, and U. Esemuede. 2012. Effectofrubbercultivationandassociatedlandusetypesonthepropertiesofsurfacesoils. Natureandscience. 10: 48-52.
Pandey, U., andJ. S. Singh. 1982. Leaf - LitterdecompositioninanOak-coniferForestinHimalaya: TheEffectofclimateandchemicalcomposition. InternationalJournalofForestResearch. 55: 47-59.
Sajubala, A. andP. S. Yadava. 2007. WoodandleaflitterdecompositionofDipterocarpustaberculatusRoxb. inatropicaldeciduousforestofManipurNortheastIndia. Curr. Sci. 93: 243-246.
Seephueak, P. 2012. FungiAssociatedwithDegradationofRubberWoodLogandLeafLitter. Ph.DDissertation. PrinceofSongklaUniversity, Songkhla.
Smith, V. C., andM. A. Bradford. 2003. Litterqualityimpactsongrasslandlitterdecompositionaredifferentlydependentonsoilfaunaacrosstime. AppliedSoilEcology. 24: 197-203.
SoilSurveyStaff. 1975. SoilTaxonomy - Abasicsystemofsoilclassificationformakingandinterpretingsoilsurvey. U.S. Dept. Agric., U.S. Govt. PrintingOfficer, WashingtonD.C.
Walpola, H., M. Leichtfried, andL. Füreder. 2011. LeaflitterdecompositionofthreeripariantreespeciesandassociatedmacroinvertebratesofEswathuoyaalowordertropicalstreaminSriLanka. International. Rev. Hydrobiol. 96: 90-104.