สมรรถภาพการผลิตของไก่ลูกผสมพื้นเมืองไทยที่เกิดจากพ่อพันธุ์ประดู่หางดำและแม่พันธุ์ไก่เนื้อ-ไก่ไข่

Main Article Content

สุรชัย สุวรรณลี
อินทร์ ศาลางาม

บทคัดย่อ

การทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบสมรรถภาพการผลิต และคุณภาพซากของไก่ลูกผสมพื้นเมืองที่เกิดจากพ่อพันธุ์ประดู่หางดำ2 กลุ่ม คือประดู่เชียงใหม่ และประดู่ มข. และแม่พันธุ์ที่เป็นลูกผสมไก่เนื้อ-ไก่ไข่ 2 กลุ่ม คือแม่พันธุ์ที่เป็นลูกผสมระหว่างพ่อพันธุ์ของไก่เนื้อและแม่พันธุ์ของไก่ไข่ (PSB*PSL) และแม่พันธุ์ที่เป็นลูกผสมระหว่างพ่อพันธุ์ของไก่เนื้อและไก่ไข่พันธุ์การค้า (PSB*CML) วางแผนการทดลองแบบ 2x2 Factorial in RCBD ผลการทดลองพบว่า ไม่มีอิทธิพลร่วมของพ่อและแม่พันธุ์ในทุกลักษณะที่ศึกษา โดยไก่ลูกผสมพื้นเมืองที่เกิดจากพ่อพันธุ์ประดู่ มข. มีน้ำหนักตัวที่อายุ 12 สัปดาห์ (1,765 กรัม) ไม่แตกต่าง (P>0.05) จากลูกผสมที่เกิดจากพ่อพันธุ์ประดู่เชียงใหม่ (1,709 กรัม) เช่นเดียวกับอัตราการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว และคุณภาพซาก อย่างไรก็ตาม ไก่ลูกผสมที่เกิดจากพ่อพันธุ์ประดู่ มข. มีความกว้างอกมากกว่า (P<0.05) ไก่ลูกผสมที่เกิดจากพ่อพันธุ์ประดู่เชียงใหม่ ส่วนอิทธิพลของสายแม่พันธุ์ พบว่าไก่ลูกผสมพื้นเมืองที่เกิดจากแม่ PSB*PSL และลูกผสมที่เกิดจากแม่ PSB*CML ที่อายุ 12 สัปดาห์ ไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) ในทุกลักษณะที่ศึกษา ยกเว้นน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโตในช่วง 2 สัปดาห์แรก ที่พบว่าลูกผสมที่เกิดจากแม่ PSB*PSL มีค่าสูงกว่า (P<0.05) ลูกผสมที่เกิดจากแม่ PSB*CML จึงสรุปได้ว่าพ่อพันธุ์ประดู่ มข. ให้ลูกผสมที่มีความกว้างอกมากกว่าพ่อพันธุ์ประดู่เชียงใหม่ ในขณะที่สมรรถภาพการผลิตด้านอื่นไม่มีความแตกต่างกัน เช่นเดียวกับกรณีของสายแม่พันธุ์ทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เฉลียว บุญมั่น และ ศรัณย์ วีสเพ็ญ. 2552. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินความเป็นไปได้ของการผลิตไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ในระดับชุมชน กรณีศึกษา: ไก่ย่างไม้มะดัน ไก่ย่างบ้านแคน และการค้าขายไก่พื้นเมืองในตลาดบางแห่งในจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร และ อุบลราชธานี.
บัญชร ลิขิตเดชาโรจน์, อมรรัตน์ โมฬี, วิทธวัช โมฬี, สุทิศา เข็มผะกา, เพลิน เมินกระโทก, เฉลิมชัย หอมตา และ ธีระชัย ช่อไม้. 2555. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การสร้างสายพันธุ์ “ไก่เนื้อโคราช” เพื่อการผลิตเป็นอาชีพวิสาหกิจชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, เทวินทร์ วงษ์พระลับ, พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา, เกษม นันทชัย, สุจิตรา สราวิช และ วรวิทย์ รักสงฆ์. 2552. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การพัฒนาฝูงพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำและชีด้วยดัชนีการคัดเลือก”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วุฒิชัย เคนไชยวงศ์, มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ และ เทวินทร์ วงษ์พระลับ. 2550. การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี. วารสารเกษตร. 23: 253-261.
อุดมศรี อินทรโชติ, อำนวย เลี ้ยวธารากุล, ธีระชัย ช่อไม้, ทวีศิลป์ จีนด้วง และ ชูศักดิ์ ประภาสวัสดิ์. 2551. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ การสร้างฝูงไก่พื้นเมืองจำนวน 4 พันธุ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและกองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์.
Dana, N., E.H. vander Waaij and J.A.M. van Arendonk. 2011. Genetic and phenotypic parameter estimates for body weights and egg production in Horro chicken of Ethiopia. Trop Anim Health Prod. 43: 21-28. ISA Brown. 2010. ISA Brown commercial management guide.https://www.isa-poultry.com/en/product/isa-brown/ ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560.