ประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ Amblyseius longispinosus (Evans) ต่อไรแมงมุมหม่อน Tetranychus truncatus (Ehara) บนต้นมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ Amblyseius longispinosus (Evans) ต่อไรแมงมุมหม่อน Tetranycus truncatus (Ehara) อัตรา 1:10 ตัว/ต้น บนต้นมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 อายุ 3 เดือนเพื่อใช้เป็นอัตราเริ่มต้นในการใช้ไรตัวห้ำต่อไรแมงมุมหม่อน ดำเนินการทดลอง ที่ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วางแผนการทดลองแบบ CRD 3 กรรมวิธี 4 ซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 ไม่มีการปล่อยไรแมงมุมหม่อนและไรตัวห้ำ กรรมวิธีที่ 2 ปล่อยไรแมงมุมหม่อน 1ตัว/ใบ กรรมวิธีที่ 3 ปล่อยไรแมงมุมหม่อน 1 ตัว/ใบ หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ปล่อยไรตัวห้ำ A. longispinosus อัตรา 1:10 ตัว/ต้น ระยะเวลาดำเนินงาน มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2560 ผลการทดลอง กรรมวิธีที่ 1 ต้นมันสำปะหลังเจริญได้ดี ระยะเวลา 1 เดือน ความสูงเฉลี่ย 29 ซม. จำนวนใบเพิ่มขึ ้นเฉลี่ย 17 ใบ กรรมวิธีที่ 2 เมื่อมีไรแมงมุมหม่อนเข้าทำลายมีผลให้พืชชะงักการเจริญเติบโต แตกยอดช้า ความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14 ซม. จำนวนใบเฉลี่ย 8.75 ใบ และมีประชากรไรแมงมุมหม่อนเฉลี่ยสูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 จำนวน 543.5±39.38 ตัว/ต้น ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีที่ 3 ที่มีการปล่อยไรตัวห้ำ ซึ่งสามารถควบคุมประชากรไรแมงมุมหม่อนให้ลดจำนวนประชากรจาก 104.25±35.43 ตัว/ต้น ในสัปดาห์ที่ 1 เหลือ 14.5±14.18 ตัว/ต้น ในสัปดาห์ที่ 2 มันสำปะหลังสามารถฟื ้นตัวและแตกยอดได้ ความสูงเพิ่มขึ้น 23.50 ซม.
Article Details
References
กลุ่มงานวิจัยไร และแมงมุม. 2560. ไรแดงหม่อน ศัตรูมันสำปะหลัง. แหล่งข้อมูล https://goo.gl/vefGxj. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560.
ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ และวัชลาวลี บุญมี. 2558. การแพร่กระจายของไรแมงมุมหม่อนบนต้นมันสำปะหลัง. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปี 2558. โครงการการพัฒนาใช้ศัตรูธรรมชาติ เพื่อควบคุมศัตรูพืช และศัตรูสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. เสนอสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ, กชมน วงศ์ใหญ่ และจันทร์เพ็ญ ชาดาเม็ก. 2559. การแพร่กระจายของไรแมงมุมหม่อนบนต้นมันสำปะหลัง. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปี 2559. โครงการการพัฒนาใช้ศัตรูธรรมชาติ เพื่อควบคุมศัตรูพืช และศัตรูสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. เสนอสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
มานิตา คงชื่นสิน และวัฒนา จารณศรี. 2543. ชีววิทยาและประสิทธิภาพของไรตัวห้ำพันธุ์ต่างประเทศและไรตัวห้ำพันธุ์พื้นเมือง. วารสารกีฏและสัตววิทยา. 22: 202-216.
มานิตา คงชื่นสิน พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และอัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล. 2555. การควบคุมศัตรูมันสำปะหลังโดยชีววิธี.รายงานผลการวิจัยประจำ ปี2555 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.
มานิตา คงชื่นสิน วัฒนา จารณศรี เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ โอชา ประจวบเหมาะ และพุทธวรรณ ขันต้นธง. 2539. การใช้ไรตัวห้ำ, Amblyseius longispinosus (Evans) ควบคุมไรสองจุด ศัตรูสำคัญของสตรอว์เบอร์รี่. วารสารกีฏและสัตววิทยา. 14: 157-181.
รัตน์ติยา สุระโยธี และนุชรีย์ ศิริ. 2546. ชีววิทยาของไรตัวห้ำ Amblyseius longispinosus (Evans) เมื่อเลี้ยงด้วยเหยื่อ 3 ชนิด, หน้า 641-649 ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติครั้งที่ 5. ขอนแก่น.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. มันสำปะหลังโรงงาน: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยวผลผลิต และผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว ปี 2557 – 2559. แหล่งข้อมูล https://goo.gl/jUoxzh. ค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2560
อรุณี วงษ์กอบรัษฎ์. 2535. แมลงและไรศัตรูมันสำปะหลังและการป้ องกันกำจัด, หน้า 209-210 ในสุวัฒน์ รวยอารีย์ (รวบรวม) แมลงและสัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจและการบริหาร. เอกสารวิชาการบับพิเศษ กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. ห.จ.ก.ไอเดียสแควร์. กรุงเทพฯ.
Rahman, V. J., A. Babu, A. Roobakkumar and K. Perumalsamy. 2013. Life table and predation of Neoseiulus longispinosus(Acari: Phytoseiidae) on Oligonychus coffeae (Acari:Tetranychidae) infesting tea. Exp. Appl. Acarol. 60: 229–240.
Thongtab T., A. Chandrapatya, and G.T. Baker. 2001. Biology and efficacy of the predatory mite, Amblyseius longispinosus (Evans) (Acari, Phytoseiidae) as a biological control agent of Eotetranychus cendanaiRimando (Acari, Tetranychidae). J. Appl. Ent. 125: 543-549.