ผลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากในสุกรพันธุ์กระโดน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบจีโนไทป์ ความถี่อัลลีล ความถี่จีโนไทป์ และอิทธิพลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของสุกรพันธุ์กระโดน เก็บตัวอย่างเลือดจากสุกรพันธุ์กระโดนจำนวน 24 ตัว เพื่อตรวจจีโนไทป์ ของยีน IGF-II ด้วยเทคนิค PCR-RFLP ที่ตัดด้วยเอนไซม์ BcnI ผลการศึกษาพบว่า ยีน IGF-II ในสุกรพันธุ์กระโดนมีจีโนไทป์ จำนวน 3 รูปแบบ โดยจีโนไทป์ GG (0.63) พบความถี่สูงกว่าจีโนไทป์ GC (0.21) และจีโนไทป์ CC (0.17) สุกรพันธุ์กระโดนมีความถี่อัลลีล G (0.73) สูงกว่าความถี่อัลลีล C (0.27) ยีน IGF-II มีอิทธิพลต่อลักษณะความหนาไขมันสันหลังที่ต่ำแหน่งซี่โครงซี่ที่ 10 (back fat depth at 10th rib) และซี่สุดท้าย (back fat depth at last rib) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยสุกรที่มีจีโนไทป์ CC มีความหนาไขมันสันหลังน้อยที่สุด และยีน IGF-II มีอิทธิพลต่อเปอร์เซ็นต์ผิวหนังและไขมันใต้ผิวหนัง (skin and subcutaneous fat) สุกรที่มีจีโนไทป์ CC มีเปอร์เซ็นต์ผิวหนังและไขมันใต้ผิวหนังน้อยที่สุด (P<0.05) ดังนั้น หากต้องการคัดเลือกสุกรพันธุ์กระโดนเพื่อให้มีไขมันน้อยลงด้วยยีน IGF-II ควรคัดเลือกสุกรที่มีจีโนไทป์ CC หรือ GC
Article Details
References
จตุพร คูณแก้ว. 2551. การศึกษาลักษณะซากและคุณภาพเนื้อของสุกรพื้นเมืองไทย. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
จรัญ จันทลักขณา. 2526. ปศุสัตว์สำหรับท้องถิ่น. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
คมสัน ตวงสิทธิตานนท์. 2552. อิทธิพลของรูปแบบยีน IGF2 ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและลักษณะซากในสุกร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ธวัชชัย แถวถาทำ และ ประภาส มหินชัย. 2560. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของยีน IGF2 ต่อสมรรถนะการผลิตของสุกร. วารสารวิชาการ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์, กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
มนวิไล เสริมบุตร และ อมรรัตน์ โมฬี. 2551. การใช้ยีน MC4R และยีน IGF2 เป็นเครื่องหมายเพื่อช่วยในการคัดเลือกสุกร. ศูนย์ประสานงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. BPS Library Online. 18: 29-39.
แพรว เที่ยงพิมล, ธนาทิพย์ สุวรรณโสภี, ศุภมิตร เมฆฉาย และศกร คุณวุฒิฤทธิรณ. 2552. ความสัมพันธ์ของความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีน Insulin-like growth factor II (IGF-II) ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและขนาดร่างกายในประชากรสุกรเชิงการค้าแห่งหนึ่ง. แก่นเกษตร. 37: 319-330.
วินัย ประลมพ์กาญจน์ และผกาพรรณ สกุลมั่น. 2543. เอกสารการสอนชุดวิชาการปรับปรุงพันธุ์ และการสืบพันธุ์สัตว์ หน่วยที่ 1-7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2547. การจัดการเนื้อสัตว์ (Meat Management). ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุวรรณา พรหมทอง. 2544. ตำราออนไลน์รายวิชา AT328 การทำฟาร์มสุกร (Swine Farm Management) บทที่ 12. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/QEKaBk. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560.
Braunschweig, M.H. 2012. Biallelic transcription of the porcine IGF2R gene. J. Gene. 500: 181-185.
Burgos, C., A. Galve, C. Moreno, J. Altarriba, R. Reina, C. García, and P.López-Buesa. 2012. The effects of two alleles of IGF2 on fat content in pig carcasses and pork. Meat Sci. 90: 309-313.
Burgos, C., J.A. Carrodeguas, C. Moreno, J. Altarriba, L. Tarrafeta, J.A. Barcelona, and P. López-Buesa. 2006. Allelic incidence in several pig breeds of a missense variant of pig melanocortin-4 receptor (MC4R) gene associated with carcass and productive traits; its relation to IGF2 genotype. Meat Sci. 73: 144-150.
Carrodeguas, J..A., C. Burgos, C. Moreno, A.C. Sánchez, S. Ventanas, L. Tarrafeta, J.A. Barcelona, M.O. López, R. Oria, and P.L. López-Buesa. 2005. Incidence in diverse pig populations of an IGF2 mutation with potential inXuence on meat quality and quantity: An assay based on real time PCR (RT-PCR). Meat Sci. 71: 577-582.
Gardan, D., J. Mourot, and I. Louveau. 2008. Decreased expression of the IGF-II gene during porcine adipose cell Differentiation. Mole. Cell. Endocrin. 292: 63-68.
Goodwin, W, A. Linacre, and S. Hadi. 2007. An Introduction to Forensic Genetics. John Wiley & Sons Ltd., Chicheste, UK.
Klomtong, P., K. Chaweewan, Y. Phasuk, and M. Duangjinda. 2015. MC1R, KIT, IGF2, and NR6A1as markers for genetic differentiation in Thai native, wild boars, and Duroc and Chinese Meishan pigs. Genet. Mol. Res. 14: 12723- 12732.
Kolarikova, O., L. Putnova, T. Urban, J. Adamek, A. Knoll, and J. Dvorak. 2003. Associations of the IGF2 gene with growth and meat efficiency in Large White pigs. J. Appl. Genet. 4: 509-513.
Nezer, C., L. Moreau, B. Brouwers, W. Coppieters, J. Detilleux, R. Hanset, L. Karim, A. Kvasz, P. Leroy, and M. Georges. 1999. An imprinted QTL with major effect on muscle mass and fat deposition maps to the IGF2 locus in pig. Nat. Genet. 21: 155-156.
Oczkowicz, M., M. Tyra, K. Ropka-Molik, A. Mucha, and K. Žukowski. 2012. Effect of IGF2 of intron3-g.3072G>A on intramuscular fat (IMF) content in pigs raise in Poland. J. Lives. Sci. 149: 301-304.
Reina, R., L-B. Pascual, J. S. del Pulgar, J. Ventanas, and C. Garcia. 2012. Effect of IGF-II (insulin-like factor-II) genotype on the quality of dry-cured hams and shoulders. Meat Sci. 92: 562-568.
SAS. 2002. User’s Guide: Statistics, V.6.12. SASInstitute Inc., Cary. NC.Tiiley, R.E., C.J. McNeil, C.J. Ashworth, K.R. Page, and H.J. Mcardle. 2007. Altered muscle development and expression of the insulin-like growth factor system in growth retarded fetal pigs. J. Domest. Anim. Endocrin. 32: 167-177.
Van den, M.K., A. Stickens, E. Claeys, N. Buys, and S. De Smet. 2008. Effect of the insulin-like growth factor –II and RYR1 genotype in pigs on carcass and meat quality traits. Meat Sci. 80: 293-303.
Van Laere, A.S., M. Nguyen, M. Braunschweig, C. Nezer, C. Collette, L. Moreau, A.L. Archibald, C.S. Haley, N. Buys, M. Tally, G. Anderson, M. Georges, and L. Anderson. 2003. A regulatory mutation in IGF2 causes a major QTL effect on muscle growth in pig. Nature. 425: 832-836.
Vykoukalová, Z., A. Knoll, J. Dvorák, and S. Cepica. 2006. New SNPs in the IGF2 gene and association between this gene and backfat thickness and lean meat content in Large White pigs. J. of Anim. Breed. Genet. 123: 204-207.