ผลของพันธุ์และวัสดุเพาะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตในการผลิตต้นอ่อนผักบุ้ง

Main Article Content

เอกรินทร์ สารีพัว
ปริญดา แข่งขัน
ชยพร แอคะรัจน์

บทคัดย่อ

ต้นอ่อนผักบุ้ง ถือว่าเป็นผักปลอดสารเคมีที่มีกระบวนการผลิตโดยใช้ระยะเวลาไม่นาน และยังมีคุณประโยชน์ทางโภชนาการสูงกว่าผักบุ้งที่ปลูกแบบปกติ โดยปัจจุบันเริ่มมีการผลิตต้นอ่อนผักบุ้งเพื่อการค้ามากขึ้น แต่ยังมีข้อมูลไม่มากนักโดยเฉพาะปัจจัยที่เหมาะสมต่อการผลิต ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาอิทธิพลของเมล็ดพันธุ์กับวัสดุเพาะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นอ่อนผักบุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ factorial in CRD จำนวน 4 ซ้ำ 2 ปัจจัย A คือ พันธุ์ผักบุ้งใบไผ่พันธุ์การค้า จำนวน 2 พันธุ์ ปัจจัย B คือ วัสดุเพาะ 4 ชนิด ได้แก่ พีทมอส ขุยมะพร้าว แกลบดำ และดินผสม จากผลการทดลอง พบว่า ผักบุ้งแต่ละพันธุ์มีการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นอ่อนแตกต่างกัน และวัสดุเพาะมีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความงอก ระยะเวลาที่ใช้ในการงอกและชูใบเลี้ยง ความสูงต้น ผลผลิต และจำนวนวันเก็บเกี่ยว โดยที่วัสดุเพาะพีทมอสและดินผสม มีเปอร์เซ็นต์ความงอก ความสูงต้นอ่อน และน้ำหนักผลผลิตสดสูงที่สุด ในขณะที่แกลบดำและขุยมะพร้าว มีระยะเวลาที่ใช้ในการงอกและชูใบเลี้ยง และจำนวนวันเก็บเกี่ยวนานที่สุด ส่วนอิทธิพลระหว่างพันธุ์ต่อวัสดุเพาะมีผลต่อเปอร์เซ็นต์ความงอก ระยะเวลาที่ใช้ในการงอกและชูใบเลี้ยง ความสูงของต้นอ่อน และน้ำหนักผลผลิตสดแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. เอกสารคำแนะนำที่ 3/2559 “การเพาะผักงอก” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.
คริษฐ์สพล หนูพรหม. 2559. ผลของวัสดุเพาะกล้าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าบรอคโคลี (Brassica oleracea L. var. italic). การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ภูเก็ต.
เฉลิมเกียรติ โภดาวัฒนา และภัสรา ชวประดิษฐ์. 2539. ผักบุ้งจีน. กองส่งเสริมพืชสวน. กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ.
ชนาธิป กุลดิลก และสุทัศน์ เล้าสกุล. 2543. อิทธิพลของวัสดุเพาะชำและวัสดุกลบที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดหวายโป่งและหวายกำพวน. สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ชยพร แอคะรัจน์. 2546. วิทยาการเมล็ดพันธุ์. คณะวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ.
ทวีป เสนคาวงศ์ ฉันทนา วิชรัตน์ ปรีชา รัตนัง และสุเทพ วัชรเวชศฤงคาร. 2559. ศึกษาผลของวัสดุเพาะ อัตราเมล็ดพันธุ์ และอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมต่อการผลิตต้นกล้างอกของผักขี้หูด. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ. 17-23.
รณรงค์ อยู่เกตุ ภัทรพล บุตรฉิ้ว และวิไลลักษณ์ ชินะจิตร. 2557. ผลของวัสดุเพาะกล้าและการแช่เมล็ดพันธุ์ที่มีต่อการผลิตทานตะวันงอก. แก่นเกษตร. 42 ฉบับพิเศษ3: 926-930. องอาจ ตัณฑวณิช. 2553. เมล็ดทานตะวันงอก คุณค่าอาหารสูง. เทคโนโลยีชาวบ้าน. 23(489) 22.