การเปลี่ยนแปลงความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าหลังการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชของเมล็ดยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย

Main Article Content

วิชุดา คะสีทอง
จักรพงษ์ กางโสภา
บุญมี ศิริ

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสูตรสารพอกที่เหมาะสมสำหรับการพอกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ยาสูบ และเพื่อใช้สูตรสารพอกที่ดีที่สุดนำมาพอกเมล็ดร่วมกับธาตุอาหารพืชเพื่อช่วยส่งเสริมการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้ายาสูบ โดยดำเนินการทดลอง ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ อาคารโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แบ่งออกเป็น 2 การทดลองโดยการทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ CRD โดยการคัดเลือกสูตรสารพอกเมล็ดพันธุ์ คือ การพอกเมล็ดด้วย pumice เพียงอย่างเดียว และการพอกเมล็ดด้วย talcum และ pumice โดยใช้ Hydroxypropyl methylcellulose (HPMC) ความเข้มข้น 0.5% โดยน้ำหนัก เป็นวัสดุประสาน ต่อเมล็ดพันธุ์ยาสูบ 3 กรัม ผลการทดลองพบว่า การพอกเมล็ดด้วย talcum และ pumice ทำให้ก้อนพอกสามารถขึ้นรูปได้ง่ายกว่า และสามารถละลายน้ำได้เร็วกว่าการพอกเมล็ดด้วย pumice และเมื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ พบว่าการพอกเมล็ดด้วย talcum และ pumice ทำให้เมล็ดพันธุ์ยาสูบมีความงอก และความยาวรากมากที่สุด เมื่อตรวจสอบทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพเรือนทดลอง การทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ CRD ทำการคัดเลือกสูตรการพอกเมล็ดด้วย talcum และ pumice ในการทดลองที่ 1 แล้วนำมาพอกร่วมกับธาตุอาหารพืช 3 อัตรา (F1-F3) มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ผลการทดลองพบว่า การพอกเมล็ดพันธุ์ยาสูบด้วยธาตุอาหารพืชสูตร F2 ความเข้มข้น 2 เท่า ทำให้เมล็ดพันธุ์ยาสูบมีความงอก ความยาวต้นและผลรวมการเจริญเติบโตของต้นกล้าดีมากกว่าเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่พอกร่วมกับธาตุอาหารพืชสูตรอื่น ๆ และเมล็ดพันธุ์ยาสูบที่ไม่ผ่านการพอก

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จักรพงษ์ กางโสภา. 2557. ผลของสูตรตำรับและวิธีการพอกเมล็ดด้วยสารเคมีป้ องกันโรคเน่าคอดินต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
จักรพงษ์ กางโสภา และ บุญมี ศิริ. 2556. ผลของการพอกเมล็ดด้วย pumice zeolite และ bentonite ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 41(ฉบับพิเศษ 1): 257-262.
จักรพงษ์ กางโสภา และ บุญมี ศิริ. 2557. ผลของชนิดสารพอกเมล็ดต่อความงอก และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. แก่นเกษตร. 42: 283-292.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.
วิชุดา คะสีทอง, สมศรี พวงขุนทด, สุริยา ตราชู และบุญมี ศิริ. 2559. ผลของการพอกเมล็ดร่วมกับ ZnSO4 และ KH2PO4 ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นกล้ายาสูบ. น. 25-32. ใน: การประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 21 - 25 มิถุนายน 2559. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, สุรินทร์.
วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ. 2548. ยาสูบพืชเศรษฐกิจของไทย. เอกสารวิชาการขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตร 8ว กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชไร่.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการส่งออก-นำเข้า. แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 4 เมษายน 2559.
สุริยา ตราชู และ บุญมี ศิริ. 2557. ผลของการพอกเมล็ดร่วมกับแมกนีเซียมซัลเฟตและโพแทสเซียมคลอไรด์ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ยาสูบ. น. 1-8. ใน: การประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 20-23 พฤษภาคม 2557. โรงแรมแกรนด์ จอมเทียน พาเลซ, ชลบุรี.
สุริยา ตราชู และ บุญมี ศิริ. 2558. การพอกเมล็ดด้วย pumice talcum และ green cal ที่มีผลต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ยาสูบเวอร์จิเนีย. แก่นเกษตร. 43(ฉบับพิเศษ 1): 83-88.
Anil, V.S., and K.S. Rao. 2001. Calcium‐mediated signal transduction in plants: a perspective on the role of Ca2+and CDPKs during early plant development. Journal of Plant Physiology. 158: 1237-1256.
Barker, A.V., and D.J. Pilbeam. 2007. Handbook of plant nutrition. CRC press, Boca Raton, FL.Burstrom, H.G. 1968. Calcium and plant growth. Biol. Rev. (Camb.). 43: 287–316.
Bush, D.S. 1995. Calcium regulation in plant cells and its role in signaling. Annu Rev Plant Physiol Plant MolBiol. 46: 95-122.
Caldelas, C., and D.J. Weiss. 2017. Zinc Homeostasis and isotopic fractionation in plants. Plant Soil. 411: 17-46.
Copeland L.O., and M.B. McDonald. 1995. Principles of Seed Science and Technology.3rd Edition. Chapman & Hall, New York.
Guan, Y., J. Wang, Y. Tian, W. Hu, and L. Zhu. 2013. The Novel Approach to Enhance Seed Security: Dual Anti-Counterfeiting Methods Applied on Tobacco Pelleted Seeds. PLoS One. 8: e57274.
ISTA. 2010. International Rules for Seed testing. Seed Science and technology. Glattbrugg, Switzerland.
Kaewkham, T., R.K. Hynes, and B. Siri. 2016. The effect of accelerated seed ageing on cucumber germination following seed treatment with fungicides and microbial biocontrol agents for managing gummy stem blight by Didymellabryoniae. Biocontrol Science and Technology. 26: 1048-1061.
Kangsopa, J., and B. Siri. 2017. Seed germination and seedling growth of lettuce after seed pelleting with zinc. Khon Kaen Agri. J. 45: 553-560.
Kaya, C., and D.E.B. Higgs. 2002. Response of tomato (Lycopersicon esculentum L.) cultivars to foliar application of zinc when grown in sand culture at low zinc.Sci. Hortic. 93: 53-64.
Kucera B.M., A. Cohn, and G. Leubner-Metzger. 2005. Plant hormone interactions during seed dormancy release and germination. Seed Science Research. 15: 281-307.
Marschner, H. 1995. Mineral nutrition of higher plants, 2nd edition. Academic Press, London.Marschner, P. 2012. Marschner’s mineral nutrition of higher plants. 3rd Edn. Elsevier, Academic Press, USA.
Mengel, K., and E.A.Kirkby. 1978. Principles of plant nutrition. International Potash Institute, Worbhavefen-Bern, Switzerland.
Mi, G.F. Chen, and F. Zhang. 2008. Multiple signaling pathways controls nitrogen-mediated root elongation in maize. Plant signaling & behavior. 3: 1030-1032.
Portis, A.R.J. 1992. Regulation of ribulose15-bisphosphate carboxylase/oxygenase activity.Annu Rev Plant Physiol. 43: 415-437.
Roy J., D. Shaklega, P. Callery, and J. Thomas. 2006. Chemical constituents and antimicrobial activity of a traditional herbal medicine containing garlic and black cumin. African Journal of Traditional, Complementary and Alternative medicines. 3: 1-7.
Shashibhaskar, M.S., S.N. Vasudevan, Nagabhushan, and V. Ramanjinappa. 2011. Effect of seed pelleting treatment on growth, seed yield and quality of tomato (Lycopersicum esculentum Mill.) CV.PKM-1. Plant Archives. 11: 443-445.
Wedding, R.T., and M.K. Black. 1988. Role of magnesium in the binding of substrate and effectors to phosphoenolpyruvate carboxylase from a CAM plant. Plant Physiol. 87: 443–446.
Wyn Jones, R.G., and O.R. Lunt. 1967. The function of calcium in plants.Bot. Rev. 33: 407–426.