ประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์รูปการค้าต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita (Kofoid and White) Chitwood ของมันสำปะหลัง

Main Article Content

ภูมิ ต๊ะอุ่น
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
ศิวิลัย สิริมังครารัตน์
ดวงรัตน์ ธงภักดิ์

บทคัดย่อ

การทดสอบประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์รูปการค้า 4 ชนิด ได้แก่ Product 1 (Beauveria bassiana), Product 2 (Paecilomyces lilacinus), Product 3 (Metarhizium anisopliae) และ Product 4 (Trichoderma harzianum) เพื่อควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (RKN, Meloidogyne incognita) ของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ในสภาพเรือนทดลอง โดยเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอย carbosulfan, กรรมวิธีควบคุม 1 (control 1, ต้นมันสำปะหลังที่มีการราดไข่ไส้เดือนฝอยรากปมอย่างเดียว)  และกรรมวิธีควบคุม 2 (control 2, ต้นมันสำปะหลังที่ไม่มีการใช้ทั้งเชื้อราปฏิปักษ์และสารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอย รวมทั้งไม่มีการราดไข่)  โดยใช้ราปฏิปักษ์รูปการค้าทั้ง 4 ชนิด ตามอัตราแนะนำในฉลากให้กับต้นมันสำปะหลังที่ปลูกในกระถาง ต้นละ 1 กระถางที่ 7, 5, 3  และ 0 วันก่อนมีการราดไข่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) มี 19 กรรมวิธี 4 ซ้ำ (กระถาง) แต่ละกระถางมีมันสำปะหลัง 1 ต้น หลังจากราดไข่ 45 วัน จึงประเมินค่าตัวชี้วัดปริมาณไส้เดือนฝอย ได้แก่ จำนวนกลุ่มไข่ต่อระบบราก (เกณฑ์หลักในการประเมินความรุนแรง) จำนวนไข่ต่อราก 1 กรัม และจำนวนตัวเต็มวัยเพศเมียต่อราก 1 กรัม รวมทั้งประเมินตัวชี้วัดการเจริญเติบโต (ความสูงของต้น น้ำหนักต้นและรากสด และน้ำหนักรากสด) ซึ่งจากการทดลองทั้ง 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ฤดูฝน  27 มิถุนายน – 12 สิงหาคม 2561 (21–35.5 ˚ซ, 88–96% R.H.) และ ฤดูหนาว  23 พฤศจิกายน 2561 – 7 มกราคม 2562 (17–35.7 ˚ซ, 80–96% R.H.) พบว่าทั้งฤดูฝนและฤดูหนาวนั้น การใช้ T. harzianum 7 วันก่อนการราดไข่นั้น ให้ผลดีที่สุดเมื่อเปรียบกับการใช้ราปฏิปักษ์อื่นๆต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม โดยทำให้จำนวนกลุ่มไข่ต่อระบบรากเท่ากับ 21.05 และ 116.64 กลุ่มไข่  ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับการใช้สารเคมี carbosulfan ที่มีค่าน้อยที่สุด (20.87 และ 97.14 กลุ่มไข่  ตามลำดับ) ทั้งนี้สามารถลดจำนวนกลุ่มไข่ต่อระบบรากลงได้ 89.67 และ 93.92 %ตามลำดับ ส่วนตัวชี้วัดการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังเมื่อประเมินจากความสูงของต้น น้ำหนักต้นและรากสด และน้ำหนักรากสดใน 2 ฤดูที่ทดสอบนั้น พบว่าความสูงของต้นจากกรรมวิธีควบคุม 1 มีความสูงของต้นน้อยที่สุด ในขณะที่การใช้รา M. anisopliae ต่างกรรมวิธีทำให้ต้นมันสำปะหลังมีความสูง  และน้ำหนักต้นและรากสด มีค่าอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด ขณะที่กรรมวิธีควบคุม1 นั้นมีน้ำหนักต้นและรากสดอยู่ในระดับต่ำ – ต่ำที่สุด ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าราปฏิปักษ์รูปการค้า T. harzianum มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสารเคมี carbosulfan ต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมของมันสำปะหลังในสภาพเรือนทดลองดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จรรยา มณีโชติ สุเทพ สหายา ปรัชญา เอกฐิน และ ยุธวรรณ อนันตนมณี (บรรณาธิการ). 2559. คู่มือการจัดการ ปัญหาศัตรูพืชมันสำปะหลังแบบผสมผสาน. การันตี: กรุงเทพฯ.

นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ภานุวัตฒน์ มูลจันทะ อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช และ โอภาษ บุญเส็ง. 2558. การคัดเลือกและประเมินเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังต้านทานไส้เดือนฝอยรากปม. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยีแห่งชาติ.

ภารตี ศรีลาศักดิ์ วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ และ ศิวิลัย สิริมังครารัตน์. 2556. การทดสอบการเป็นปฏิปักษ์ของเชื้อราต่อกลุ่มไข่ไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita Chitwood) และกิจกรรมเอนไซม์ย่อยสลาย. แก่นเกษตร 41
(ฉบับพิเศษ 1): 221-231.

ยุวดี ชูประภาวรรณ. 2550. การประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita สาเหตุโรครากปมพริกในแปลงปลูกพืชขนาดเล็ก. แก่นเกษตร 35(2): 189-195.

วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์. 2560. ราปฏิปักษ์สำหรับควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี. หจก. คลังนานาวิทยา: ขอนแก่น.

สมควร คีรีวัลย์. 2539. การป้องกันกําจัดไส้เดือนฝอยโดยวิธีเขตกรรม. เอกสารเผยแพร่วิชาการโรคพืชและจุลชีววิทยา ประจําปี 2539. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. มันสำปะหลัง. (อ้างอิงเมื่อ 1 มีนาคม 2562) สืบค้นจาก: URL: http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=21291&filename=news.

สำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร. ศัตรูพืช. ม.ป.ป. (อ้างอิงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562) สืบค้นจาก: URL: http://www.expertdoa.com/km_plant_info.php?ProductID=16.

สืบศักดิ์ สนธิรัตน เกษกานดา สุทธิสุข วัฒนะ นรสิงห์ สุทิน ราชธา และ ชัชวาล สุวรรณสาร. 2521. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เอกสารงานวิจัยฉบับที่ 3. สำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช. 2558. ประสิทธิภาพของสารเคมีและชีวภัณฑ์ในการควบคุมโรครากปมของมันสำปะหลัง. การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 53. 3–6 กุมภาพันธ์ 2558. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

Batta, Y.A. 2013. Efficacy of endophytic and applied Metarhizium anisopliae (Metch.) Sorokin (Ascomycota: Hypocreales) against larvae of Plutella xylostella L. (Yponomeutidae: Lepidoptera) infesting Brassica napus plants. Crop Protection 44: 128-134

Begum, K., N. Hasan, S. Khandker, F.M. Aminuzzaman, M. Asaduzzamarn, and N. Akhtar. 2014. Evaluation of brinjaI cultivars (Solanum melongena) against root-knot nematode Meloidogyne spp. Applied Science Reports 7(3): 129-134.

Byrd, D.W., T. Kirkpatrick, and K.R. Barker. 1983. An improved technique for clearing and staining plant tissue for detection of nematodes. Journal of Nematology 15(1): 142–143.

Coyne, D.L. 1994. Nematode pests of cassava. African Crop Science Journal 2(4): 355–359.

Ekanayake, H.M.R.K., and N.J. Jayasundara. 1994. Effect of Paecilomyces lilacinus and Beauveria bassiana in controlling Meloidogyne incognita on tomato in Sri lanka. Nematologia Mediterranea 22: 87-88.

Greenfield, M., M.I. Gomez-Jimenez, V. Ortiz, F.E. Vega, M. Kramer, and S. Parsa. 2016. Beauveria bassiana and Metarhizium anisopliae endophytically colonize cassava roots following soil drench inoculation. Biological Control 95: 40-48.

Jatala, P. 1986. Biological control of plant parasitic nematodes. Annual Review of Phytopathology 24: 453–489.

Kagoda, F., D. Coyne, C. Kajumba, and J. Dusabe. 2004. Early screening of cassava for resistance to root knot nematodes. Uganda Journal of Agricultural Sciences 9: 574-577.

Lopez, D.C., K. Zhu-Salzman, M.J. Ek-Ramos, and G.A. Sword. 2014. The entomopathogenic fungal endophytes Purpureocillium lilacinum (Formerly Paecilomyces lilacinus) and Beauveria bassiana negatively affect cotton aphid reproduction under both greenhouse and field conditions. PLOS ONE 9 (Issue 8): e103891

Martinez-Medina, A., I. Fernandez, G.B. Lok, M.J. Pozo, C.M.J. Pieterse, and S.C.M. van Wees. 2016. Shifting from priming of salicylic acid- to jasmonic acid-regulated defences by Trichoderma protects tomato against the root knot nematode Meloidogyne incognita. New Phytologist 213(3): 1363-1377.

Ownley, B.H., K.D. Gwinn, and F.E. Vega. 2010. Endophytic fungal entomopathogens with activity against plant pathogens: Ecology and evolution. Biological Control 55: 113-128.

Sahebani, N., and N. Hadavi. 2008. Biological control of the root knot nematode Meloidogyne javanica by Trichoderma harzianum. Soil Biology and Biochemistry 40(8): 2016–2020.

Sharon, E., M. Bar-Eyal, I. Chet, A. Herrera-Estrella, O. Kleifeld, and Y. Spiegel. 2001. Biological control of the root-knot nematode Meloidogyne javanica by Trichoderma harzianum. Phytopathology 91(7): 687-693.

Thienhirun, P. 1997. Efficacy of Trichoderma spp. in controlling root-knot nematode (Meloidogyne incognita). Ph.D. Thesis, Department of Plant Pathology, Kasetsart University.

Umadevi, P., M. Anandaraj, and S. Benjamin. 2017. Endophytic interactions of Trichoderma harzianum in a tropical perennial rhizo-ecosystem. Research Journal of Biotechnology 12: 22-30.

van Vuuren, R.J., and B. Woodward. 2001. The response of cassava cultivars to root-knot nematode infestation: An in vitro method. Euphytica 120(1): 109-113.

Wallace, H.R. 1968. The influence of soil moisture on survival and hatch of Meloidogyne javanica. Nematologica 14: 231–242.

Windham, G.L., M.T. Windham, and G.A. Pederson. 1993. Interaction of Trichoderma harzianum, Meloidogyne incognita and Meloidogyne arenaria on Trifolium repens. Nematropica 23: 99-103.