ลักษณะดินอันดับอัลทิซอลส์และแอลฟิซอลส์ในสวนลิ้นจี่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วิษณุ เจียมใจ
นิวัติ อนงค์รักษ์
สุนทร คำยอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะดินอันดับอัลทิซอลส์ 3 บริเวณ และอันดับแอลฟิซอลส์ 3 บริเวณในสวนลิ้นจี่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์และความเหมาะสมของดินในการปลูกลิ้นจี่ พบว่า ดินทุกบริเวณเป็นดินลึกถึงลึกมาก และมีการสะสมดินเหนียวในชั้นดินล่าง เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนร่วนถึงดินร่วนเหนียวปนทราย ส่วนเนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียว พบปริมาณกรวดมากในชั้นดินบนของอันดับดินอัลทิซอลส์ ความหนาแน่นรวม ของดินอัลทิซอลส์มีค่าสูงกว่าดินแอลฟิซอลส์ในชั้นดินบนและต่ำกว่าในชั้นดินล่าง ค่าปฏิกิริยาดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส การกักเก็บธาตุอาหารในดิน และระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินอัลทิซอลส์มีค่าต่ำกว่าดินแอลฟิซอลส์ทั้งชั้นดินบนและชั้นดินล่าง อันดับดินอัลทิซอลส์ที่ปลูกลิ้นจี่จัดเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยเหมาะสม ขณะที่พื้นที่แอลฟิซอลส์มีความเหมาะสมมากกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2541. รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่ม 2 ดินบนที่ดอน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2556. แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มาตราส่วน 1: 50,000.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.กองสำรวจและจำแนกดิน. 2543. คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2544. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นิพัฒน์ สุขวิบูลย์. 2558. เอกสารวิชาการ: การผลิตลิ้นจี่. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 1 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช. 2545. ฐานข้อมูลพันธุ์พืช: ลิ้นจี่. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. 2561. สถิติการปลูกพืช ปี 2559/2560. แหล่งข้อมูล:http://www. chiangmai.doae.go.th/reports/stat_plan/stat_plantproduction57-58.pdf. ค้นเมื่อ 3 เมษายน 2561

สุนทร คำยอง. 2558. ดินป่าไม้: ธรรมชาติของดินป่าไม้ในประเทศไทย. ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2547. คู่มือปฏิบัติการการสำรวจดิน. พิมพ์ครั้งที่ 5. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Brady, N.C. and R.R. Weil. 2002. The Nature and Properties of Soils. 13th Edition. Prentice Hall, Inc., New Jersey.

Buol, S.W., R.J. Southard, R.C. Graham and P.A. Mcdaniel. 2003. Soil Genesis and Classification. 5th Edition. Iowa State Press, Iowa.

Fisher R.F. and D. Binkley. 2000. Ecology and Management of Forest Soils. 3rd Edition. John Wiley and Sons, New York.

National Soil Survey Center. 1996. Soil survey laboratory methods manual. Soil Survey Invest. Rept. No. 42, Version 3.0. U.S. Dept. of Agr., U.S. Government Printing Office, Washington D.C.

Nelson, D.W. and L.E. Sommers. 1996. Total carbon, organic carbon, and organic matter. pp. 961-1010. In: J.M. Bigham. Method of Soil Analysis. Part III. Chemical Methods. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Pratt, P.E. 1965. Potassium. pp. 1022-1030. In: C.A. Black. Methods of Soil Analysis. Part II. Chemicaland Microbiologocal Properties. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Sanchez, P.A., C.A. Palm and S.W. Buol. 2003. Fertility capability soil classification: a tool to help assess soil quality in the tropics. Geoderma 114: 157-185.

Soil Survey Staff. 2014. Key to Soil Taxonomy. 12th Edition. USDA-NRCS, Washington D.C.

Summer, M.E. and W.P. Miller. 1996. Cation exchange capacity and exchange coefficients. pp. 1201-1229. In: J.M. Bigham. Method of Soil Analysis. Part III. Chemical Methods. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.