การขยายพันธุ์และการใช้แพกโคลบิวทราซอลเพื่อการผลิตม่วงไตรบุญเป็นไม้กระถาง

Main Article Content

เพ็ญแข รุ่งเรือง
อนุกาญจน์ ชิณวงศ์
กาญจนา เหลืองสุวาลัย
กิริยา สังข์ทองวิเศษ
สุนทรียา กาละวงศ์

บทคัดย่อ

ต้นม่วงไตรบุญ (Tribounia venosa (Barnett) D.J. Middleton) เป็นพืชถิ่นเดียวในวงศ์เทียนหินพรมกำมะหยี่ โดยพบว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในป่าหินปูน จังหวัดสุพรรณบุรี ดอกเป็นช่อกระจุกซ้อน กลีบดอกสีม่วงเข้ม เหมาะสำหรับการพัฒนาเป็นไม้ดอกกระถางชนิดใหม่ ซึ่งต้นม่วงไตรบุญในธรรมชาติมีลักษณะทรงต้นสูง (30-40 ซม.) อีกทั้งการขยายพันธุ์นั้นยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีจึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ม่วงไตรบุญด้วยวิธีการตัดชำ และศึกษาผลของแพกโคลบิวทราซอล (paclobutrazol: PBZ) ต่อการเจริญเติบโตของม่วงไตรบุญ การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตัดชำส่วนยอด ใบ และข้อ โดยใช้สารละลาย NAA ความเข้มข้น 0 (ใช้น้ำเป็น control), 50, 100, 150 และ 200 มก./ล. พบว่าระดับความเข้มข้นของสารละลาย NAA และชิ้นส่วนตัดชำไม่มีอิทธิพลร่วมกัน (P > 0.05) โดยการใช้ส่วนยอด ร่วมกับสารละลาย NAA เข้มข้น 100, 150 และ 200 มก./ล. ให้เปอร์เซ็นต์การเกิดรากมากที่สุด และการใช้สารละลาย NAA เข้มข้น 150 มก./ล. กับส่วนใบให้เปอร์เซ็นต์การเกิดราก เท่ากับ 100% เช่นเดียวกัน เมื่อย้ายปลูกต้นที่ได้จากการตัดชำส่วนยอดและใบลงกระถาง พบว่าต้นที่มาจากการตัดชำยอดมีอัตราการรอดชีวิต 79.11+19.76% สำหรับการศึกษาผลของ PBZ ต่อการเจริญเติบโตของม่วงไตรบุญ โดยการราดสารละลาย PBZ ที่ระดับความเข้มข้น 0 (ใช้น้ำเป็น control), 50, 100, 150 และ 200 มก./ล. อัตรา 50 มล./ต้น พบว่าการราดสารละลาย PBZ ทุกระดับความเข้มข้น ทำให้การเจริญเติบโตด้านความสูง ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวข้อปล้อง ความกว้างและความยาวใบ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยสารละลาย PBZ ที่ระดับความเข้มข้น 200 มก./ล. ทำให้การเจริญเติบโตด้านความสูง ความยาวปล้อง ความกว้างและความยาวใบน้อยที่สุด และให้จำนวนกิ่งมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่การเป็น smart officer การขยายพันธุ์พืช. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/65XKS7. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2560.

แก้วตา ผลอ้อ. 2554. การปักชำ. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/tyh3Eu. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2560.

จารุณี จูงกลาง, กนกกาญจน์ ปวงแก้ว, กอบเกียรติ แสงนิล และจำนง อุทัยบุตร. 2550. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาและชีวเคมีบางประการของปทุมมาที่ได้รับสารพาโคลบิวทราโซลภายใต้สภาวะการขาดน้ำ. วิทย. กษ. 38: 33-36.

จิรดา รามนู. 2539. ผลของสาร Paclobutrazol ต่อการเจริญเติบโตของบานชื่นหนูพันธุ์ดอกสีขาว. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จิราพร เที่ยงเจริญ. 2544. การศึกษาแนวทางการผลิตปทุมมาเป็นไม้ กระถางตลอดปี . วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ใจศิลป์ ก้อนใจ. 2542. การศึกษาอิทธิพลของสารพาโคลบิวทราโซลที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของชวนชม. รายงานการวิจัย สถานีวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ดวงเดือน สุขรัตน์. 2545. ศึกษาอิทธิพลของสารแพกโคลบิวทราซอล ที่มีผลต่อดาวเรืองพันธุ์ ซอฟเวอเรนเพื่อผลิตเป็นไม้กระถาง. งานวิจัยปริญญาตรี ราชภัฏลำปาง, ลำปาง.

ไทยเกษตรศาสตร์. 2014. การใช้สารเร่งรากของพืช. แหล่งข้อมูล: http://www.thaikasetsart.com. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561.

ธนวดี พรหมจันทร์, กันยารัตน์ หรัถยา, พรนภา รุ่งสว่าง, อาริสา ทับทิม และพิมพ์ใจ มีตุ้ม. 2559. ผลของความเข้มข้นและวิธีการให้สารละลายพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของต้นดาวเรืองพันธุ์อเมริกัน. ว.พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3: 10-18.

นงลักษณ์ สุนทราวงศ์. 2538. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการพัฒนารากและต้นอ่อนของอัฟริกันไวโอเลตที่ตัดชำใบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นิรนาม. มปป. การตัดชำ (cutting). แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/NVW6zi. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2560.

นิติพัฒน์ พัฒนฉัตรชัย. 2557. พาโคลบิวทราโซล: ผลต่อการเติบโตของทรงพุ่มและปริมาณคลอโรฟิ ลล์ของชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์. แก่นเกษตร. 42: 39-46.

นันทิยา สมานนท์. 2526. การขยายพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.

ปราณี นางงาม พันธิดา กมล และอนุพันธ์ กงบังเกิด. 2554. ผลของไซโตไคนินต่อการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของชิ้นส่วนใบ Aeschynanthus fulgens wall.ex R. Br. ในสภาพปลอดเชื ้อ. Proceeding การประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์วิจัยครั ้งที่ 3 วันที่ 14-15 มีนาคม 2554 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พีรเดช ทองอำไพ. 2529. ฮอร์โมนพืชและการสังเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. ไดนามิกการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

ภาณุพล หงษ์ภักดี. 2557. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อการใช้นำและการเติบโตของดาวเรืองกระถาง. เกษตร. 30: 281-289.

มนตรี ธนสมบัติ, เจษฎา ศิวบุรินทมิตร์, พงศ์การ พงศ์พัฒนะนุกุล, กฤษณา กฤษณพุกต์ และเสริมศิริ จันทร์เปรม. 2556. การใช้ NAA และ IBA เพื่อส่งเสริมการออกรากของกิ่งปักชำนางแย้ม. ว.เกษตรพระจอมเกล้า. 31: 1-9.

ศรันย์ ตัณติพัฒน์. 2545. ผลของสาร Paclobutrazol ต่อการเจริญเติบโตของต้นหงอนไก่พันธุ์ Amigo Magenta. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศุมาลิน จิรวิชา. 2545. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อลักษณะเรือนพุ่มและการสังเคราะห์ด้วยแสงของต้นประดู่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมชาย ชคตระการ และเพทาย กาญจนเกษร. 2549. ผลของสาร Paclobutrazol ต่อการเจริญเติบโตของเทียนซ้อน. ว.วิทยาศาสตร์เกษตรและเทคโนโลยี (ภาษาไทย). 14: 62-76.

สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล. 2559. การขยายพันธ์ไม้สักโดยการปักชำ. กลุ่มงานวนวัฒนวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/fZtTHp. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2561.

วิชัย ปทุมชาติพัฒน์, จรัญ ประจันบาล และพิชาภพ ปรีเปรม. 2558. พรรณไม้ในอู่ทอง. หจก.วนิดาการพิมพ์, นนทบุรี.

Borowski, R. 1997. Reaction of cucumber plants treated with paclobutrazol. Ann. Univ. Mariae. 5: 201-209.

David, J.M., and M. Micheal. 2012. Tribounia, a new genus of Gesneriaceae from Thailand. Taxon. 6: 1286-1295.

Faust, J.E., P.C. Korczynski, and R. Klein. 2001. Effects of paclobutrazol drench application date on poinsettia height and flowering. Hort. Tech. 11: 557-560.

Hwang, S.J., M.Y. Lee, I. Sivanesan, and B.R. Jeong. 2008. Growth control of Kalanchoe cultivars Rako and gold strike by application of paclobutrazol and uniconazole as soaking treatment of cuttings. African J. Biotechnol. 7: 4212-4218.

Jungklang J., and K. Saengnil. 2012. Effect of paclobutrazol on patumma cv. Chiang Mai Pink under water stress. Songklanakarin J. Sci. & Technol. 34: 361-366.

Kondhare,K.R., P. Hedden, P.S. Kettlewell, A.D. Farrell, and J.M. Monaghan. 2014. Use of the hormone-biosynthesis inhibitors fluridone and paclobutrazol to determine the effects of altered abscisic acid and gibberellin levels on pre-maturity a-amylase formation in wheat grains. J. Cereal Sci. 60: 210-216

Maloupa, E., D. Gerasopoulos, and A. Mamasidis. 2000. Paclobutrazol and pinching affect visual quality characteristic of potted Vitexagnus-castus plants. Acta Hort. 541: 295-298.

Naylor, E., and B. Johnson. 1937. A histological study of vegetative reproduction in Saintpaulia ionantha. Amer. J. Bot. 24: 673-8.

Pathak, N., Y.D. Sharma, and N. Pathak. 1996. Effect of plant bioregulators and potting mixture on Primula obconica. J. Ornam. Hort. 4: 30-32.

Quinlan, J.D., and P.J. Richardson. 1986. Uptake and translocation of paclobutrazol and implications for orchard use. Acta Hort. 179: 443-451.

Wieland, W. F., and R. L. Wample. 1985. Root growth, water relation and mineral uptake of young ‘Delicious’ apple trees treated with soil and stem-application paclobutrazol. Sci. Hort. 26: 129-137

Wilfret, G.J. 1988. Height retardation of easter lilies growth in container. Proc. Flo. State Hort. Soc. 100: 379-382.

Zizzo, G.V., G. Fascella, U.R. Amico, G. Iapichino, M. Bodson, and M. VerHoyen. 2000. Growth and flowering response of Tulbaghia violacea to daminozide and paclobutrazol. Acta Hort. 515: 67-72.