ความสัมพันธ์ของยีน cGH VIPR-1 FASN และ IGF-1 ต่อน้ำหนักตัวและขนาดรอบอกในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี เคเคยู 12

Main Article Content

สจี กัณหาเรียง
ทองสา บัวสุข
มนต์ชัย ดวงจินดา
บัญญัติ เหล่าไพบูลย์
ยุพิน ผาสุข

บทคัดย่อ

ไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชีเคเคยู 12 ได้รับการพัฒนาคัดเลือกเป็นสายพันธุ์ที่เน้นการให้เนื้อและสายพันธุ์ที่เน้นการให้ไข่ ปัจจุบันเครื่องหมายพันธุกรรมมีบทบาทในการช่วยคัดเลือกลักษณะผลผลิตในสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นและการเข้าใจข้อมูลพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะการผลิตดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบรูปแบบยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในสัตว์ปีก ได้แก่ ยีน cGH, IGF-1, ApoB2, FASN, PRL และยีน VIPR-1 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปแบบจีโนไทป์ กับน้ำหนักตัว ขนาดรอบอกและความกว้างอก ในไก่พื ้นเมืองไทยพันธุ์ชี เคเคยู 12 จำนวนทั้งหมด 220 ตัวอย่าง ประกอบด้วยไก่พื้นเมืองพันธุ์ชี เคเคยู 12 พ่อแม่พันธุ์ จำนวน 51 ตัวอย่าง สายพันธุ์พัฒนาที่เน้นให้ผลผลิตเนื้อ จำนวน 99 ตัวอย่าง และไก่พื้นเมืองพันธุ์ชี เคเคยู 12 สายพันธุ์พัฒนาที่เน้นให้ผลผลิตไข่ จำนวน 70 ตัวอย่าง โดยใช้เทคนิค PCR-RFLP ผลการวิเคราะห์พบรูปแบบจีโนไทป์ 3 รูปแบบในแต่ละยีนที่ศึกษา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปแบบจีโนไทป์ กับน้ำหนักตัว ขนาดรอบอกและความกว้างอก พบรูปแบบจีโนไทป์ AG ของยีน cGH, รูปแบบจีโนไทป์ CT ของยีน VIPR-1 และจีโนไทป์ AA และ AG ของยีน FASN มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวที่อายุ 8, 12 และ 14 สัปดาห์ในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี เคเคยู 12 พ่อแม่พันธุ์และไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี เคเคยู 12 สายพันธุ์พัฒนาที่เน้นให้ผลผลิตไข่ นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์รูปแบบจีโนไทป์ AC ของยีน IGF-1 กับขนาดรอบอกของไก่พื้นเมืองพันธุ์ชี เคเคยู 12 สายพันธุ์พัฒนาที่เน้นให้ผลผลิตไข่ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายรูปแบบยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี เคเคยู 12 และมีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบยีน cGH, VIPR-1, FASN และ IGF-1 มาใช้เพื่อปรับปรุงลักษณะน้ำหนักตัวและประสิทธิภาพการผลิตในไก่พื้นเมืองไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ทองสา บัวสุข, ยุพิน ผาสุข, มนต์ชัย ดวงจินดา, สจี กัณหาเรียง. 2557. รูปแบบของยีน cGH, IGF-1, ApoB2, Apo, VLDL-II และ FASN กับน้ำหนักตัวและระดับคอเลสเตอรอลในพลาสมาของไก่พื้นเมืองไทยลูกผสม. แก่นเกษตร. 42: 357-368.
มนต์ชัย ดวงจินดา. 2544. การใช้โปรแกรม SAS เพื่อการวิเคราะห์ทางสัตว์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, เทวินทร์ วงษ์พระลับ, สจี กัณหาเรียง, วุฒิไกร บุญคุ้ม, ยุพิน ผาสุข และ พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา. 2556. ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอต่อสำนักประสานงานชุดโครงการศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.
สุกัญญา เจริญศิลป์ . 2555. การตรวจหาเครื่องหมายพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับลักษณะการให้ผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำและพันธุ์ชี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สวัสดิ์ ธรรมบุตร. 2537. ลู่ทางเพิ่มประสิทธิภาพการเลี ้ยงไก่พื้นเมืองเอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ. 6 กันยายน 2537 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
หนึ่งฤทัย พรมวาที, มนต์ชัย ดวงจินดา, วุฒิไกร บุญคุ้ม และ บัญญัติ เหล่าไพบูลย์. 2554. ความสัมพันธ์ระหว่างจุดกลายพันธุ์ (SNPs) ของยีน GHSR, IGFI, cGH และ IGFBP2 ต่อลักษณะการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทย (ชีและประดู่หางดำ). แก่นเกษตร. 39: 261-270.
อภิชัย รัตนวราหะ. 2531. ไก่พื้นเมือง: ปัญหาและแนวทางการแก้ไข. ใน: รายงานการประชุมสัมมนาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรื่องไก่พื้นเมืองครั้งที่ 2. สำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.
Andersson, L. 2001. Genetic dissection of phenotypic diversity in farm animals. Nat. Rev. Genet. 2: 130-138.
Anthony, N.B., D. A. Emmerson, K. E. Nestor, W. L. Bacon, P. B. Siegel, and E. A. Dunnington. 1991. Comparison of growth curves of weight selected populations of Turkey, quail and chickens. Poult. Sci. 70: 13-19.
Bingxue, Y., D. Xuemei, F. Jing, H. Xiaoxiang, W. Changxin, and L. Ning. 2003. Single nucleotide polymorphism analysis in chicken growth hormone gene and its associations with growth and carcass traits. Chinese Sci. Bull.15: 1561-1564.
Chaiseha, Y., O. M. Youngren, and M. E. El Halawani. 2004. Expression of vasoactive intestinal peptide receptor messenger RNA in the hypothalamus and pituitary throughout the turkey reproductive cycle. Biol. Reprod. 70: 593-599.
Cui, J. X., H. L. Du, Y. Liang, X. M. Deng, N. Li, and X. Q. Zhang. 2006. Association of polymorphisms in the promoter region of chicken prolactin with egg production. Poult. Sci. 85: 26-31.
Deeb,N., and S. J. Lamont. 2002. Genetic architecture of growth and body composition in unique chicken population. J. Hered. 93: 107-118.
Dekkers, J. C. M., and F. Hospital. 2002. The use of molecular genetics in improvement of agricultural populations. Nat. Rev. Genet. 3: 22-32.
Freeman, M. E., B. Kanyicska, A. Lerant, and G. Nagy. 2000. Prolactin: structure function and regulation of secretion. Physiol. Rev. 80: 1523-1631.
Goodwin, W., A. Linacre, and S. Hadi. 2007. An Introduction to Forensic Genetics. John Wiley & Sons Ltd., Chicheste.
Jiang, R. S., G. Y. Xu, X. Q. Zhang, and N. Yang. 2005. Association of polymorphisms for prolactin and prolactin receptor genes with broody traits in chickens. Poult Sci. 84: 839-45.
Jaturasitha, S., V. Leangwunta, A. Leotaragul, A. Phongphaew, T. Apichartsrungkoon, N. Simasathikul, T. Vearasilp, L. Worachai, and U. terMeulen. 2002. A comparative study of Thai native chicken and Broiler on productive performance, carcass and meat quality. Deutsher Tropentag Witzenhausen, October 9 -11, 2002.
Keating, G. M. 2008. Mecasermin. Bio-Drugs. 22: 177-88.
LanAnhThi Nguyen, Sajee Kunharaeng, and Monchai Duangjinda. 2015. Association of chicken Growth Hormone Gene with Growth Traits in Thai Broiler. KhonKaen AGR.J. 43: 169-173.
Nie, Q., B. Sun, D. Zhang, C. Luo, N. A. Ishag, M. Lei, G. Yang and X. Zhan. 2005. High diversity of the chicken growth hormone gene and effects on growth and carcass traits. J. Hered. 96: 698-703.
Matsuhashi, T., S. Maruyama, Y. Uemoto, N. Kobayashi, H. Mannen, T. Abe, S. Sakaguchi, and E. Kobayashi. 2011. Effects of bovine fatty acid synthase, stearoyl-coenzyme Adesaturase, sterol regulatory element-binding protein 1, and growth hormone gene polymorphisms on fatty acid composition and carcass traits in Japanese Black cattle. J. Anim.Sci. 89: 12-22.
Marrube, G., F. M. B. Rozen, G. B. Pinto, V. Fassa, N. Pacienza, A. N. Demarco, E. G. Romano, V. Fain Binda , Z. Canet, and J. E. Melo. 2012. Analysis of a single nucleotide polymorphism in FASN gene related with production traits in chicken. (Online) Available: http://200.10.201.13/ria/english/?p=1120 Accessed September 11, 2014.
Roy, R., L. Ordovas, P. Zaragoza, A. Romero, C. Moreno, J. Altarriba, and C. Rodellar. 2006. Association of polymorphisms in the bovine FASN gene with milk-fat content. Anim Genet. 37: 215-218.
SAS Institude, Inc. 2015.SAS/STAT®14.1 User’s Guide. Cary, NC: SAS Institute Inc.Semakula, J., P. Lusembo, D.R. Kugonza, D. Mutetikka, J. Ssennyonjo, and M. Mwesigwa. 2011. Estimation of live body weight using zoometrical measurements for improved marketing of indigenous chicken in the Lake Victoria basin of Uganda. Livestock Research for Rural Development.Volume 23, Article #170. Retrieved November 1, 2017, from http://www.lrrd.org/lrrd23/8/sema23170.htm
Wattanachant, S., S. Benjakul, and D.A. Ledward. 2004. Composition, color, and texture of Thai indigenous and broiler chicken muscles. Poult. Sci. 83:123-128.
Zhang, S., H. Li, and H. Shi. 2006. Single Marker and Haplotype Analysis of the Chicken Apolipoprotein B Gene T123G and D9500D9- Polymorphism Reveals Association with Body Growth and Obesity. Poult. Sci. 85: 178-184.
Zhou, H., A. D. Mitchell, J. P. McMurtry, C. M. Ashwell, and S. J. Lamont. 2005. Insulin-like growth factor-I gene polymorphism associations with growth, body composition, skeleton integrity, and metabolic traits in chickens. Poult. Sci. 84: 212-219.
Zhou, H., N. Deeb, C. M. Evock-Clover, C. M. Ashwell, and S. J. Lamont. 2006. Genome-Wide linkage analysis to identify chromosomal regions affecting phenotype traits in the chicken I. Growth and Average Daily Gain. Poult. Sci. 85: 1700-1711.
Zhou, M., F. Liang, Y. Rao, H. Zeng, D. Zhang, and X. Zhang.2008. Association of twelve polymorphisms of the VIPR-1 gene with chicken early egg production traits.Chine J. Anim. Vet. Sci. 39: 1147-115.