การยอมรับการผลิตข้าวโพดหวานตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลด้านสังคมและเศรษฐกิจ ระดับความรู้รวมถึงการยอมรับการผลิตข้าวโพดหวานตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานจำนวน 132 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการผลิตข้าวโพดหวานตามระบบ GAP ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54 ปี เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 5.88 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 1.06 ไร่ การเกษตรนอกจากการปลูกข้าวโพดหวาน คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และทำนา มีรายได้จากการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 64,310.61 บาท/ปี ได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับ GAP เฉลี่ยคนละ 2 ครั้ง มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมากที่สุด มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตข้าวโพดหวานตามระบบ GAP ในระดับสูง และส่วนใหญ่มีการยอมรับด้วยการปฏิบัติตามมาตราฐาน GAP ข้าวโพดหวาน ยกเว้นด้านแหล่งน้ำและการบันทึกข้อมูลมีการยอมรับในระดับน้อย การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธี Stepwise พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) ต่อการยอมรับการผลิตข้าวโพดหวานตามระบบ GAP คือ อายุ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตข้าวโพดหวานตามระบบ GAP ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรด้าน GAP อย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะการบันทึกข้อมูล และควรให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้สูงอายุเป็นพิเศษรวมถึงผู้สืบทอดอาชีพเกษตรของเกษตรกรผู้สูงอายุด้วย
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2552. เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) สำหรับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2561. รายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืช. แหล่งข้อมูล: http://production.doae.go.th ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561.
เกียรติสุดา ศรีสุข. 2546. เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา 055400 การวัดและประเมินผลทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธิติพัทธ์ ชัญถาวร. 2554. การยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมะขามเทศของเกษตรกรในอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. ใน: การเสนอผลการวิจัยทางการเกษตรและที่เกี่ยวข้อง ในกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.1 กันยายน 2554.
เบญจมาศ พันธุ์ดี และ นิวัฒน์ มาศวรรณา. 2555. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงตามระบบจัดการคุณภาพเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ. แก่นเกษตร 40 ฉบับพิเศษ: 321-326
พัชราภรณ์ เพ็ชรทอง. 2552. การยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมำหรับเงาะของเกษตกร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิวัฒน์ ภู่พร้อม และ ศิริวรรณ แดงฉ่ำ. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกผักในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. ใน: การประชุมวิชาการนานาชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางเกษตรครั้งที่ 1. 21-22 กรกฏาคม 2554.
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท. 2547. การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวานเพื่ออุตสาหกรรมการแปรรูป. เอกสารประกอบการฝึกอบรม. กรมวิชาการเกษตร.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2554. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อักษรศิลป์ การพิมพ์, อุดรธานี.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2555. มาตรฐานสินค้าเกษตร: ข้าวโพดหวาน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูล: https://bit.ly/2w2VW87. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2560.
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ. 2558. สภาพพื้นที่และข้อมูลพื้นฐานตำบลท่าแพ. เอกสารรายงานการสำรวจพื้นที่ทำการเกษตร. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแพ จังหวัดสตูล.