ผลของขี้เถ้าแกลบและโพแทสเซียมต่อสมบัติดิน และมันสำปะหลัง พันธุ์ห้วยบง 80 ที่ปลูกในชุดดินสตึก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาผลของขี้เถ้าแกลบ และโพแทสเซียมต่อสมบัติดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ที่ปลูกในชุดดินสตึกของแปลงเกษตรกร บ้านซับพลูน้อย ตำาบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบ Split plot in randomized complete block จำนวน 4 ซ้ำ แปลงหลัก ได้แก่ การใส่ขี้เถ้าแกลบ 5 อัตรา คือ 0, 0.5, 1, 2 และ 4 ตัน/ไร่ แปลงรอง ได้แก่ การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมที่ 0, 0.25, 0.5, 0.75, 1 และ 1.25 เท่าของอัตราแนะนำสำหรับชุดดินสตึก (16 กก.K2O/ไร่) ผลการศึกษาพบว่า การใส่ขี้เถ้าแกลบอัตรา 2 ตัน/ไร่ ให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด และผลผลิตแป้งสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติเท่ากับ 4.69 และ 1.01 ตัน/ไร่ตามลำดับ ขณะที่การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 20 กก.K2O/ไร่ (1.25 เท่าของอัตราแนะนำ) ทำให้ได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด และผลผลิตแป้งสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 4.91 และ 1.06 ตัน/ไร่ตามลำดับแต่ไม่แตกต่างกับการใส่ในปริมาณ 0.75 เท่าของอัตราแนะนำซึ่งได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด และผลผลิตแป้งเท่ากับ 4.36 และ 0.97 ตัน/ไร่ตามลำดับ สมบัติดินหลังจากปลูกมันสำปะหลังไป 1 ฤดูกาล พบว่า การใส่ขี้เถ้าแกลบส่งผลให้ค่าพีเอชดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณเหล็ก แมงกานีส และสังกะสีที่เป็นประโยชน์สูงกว่าตำรับควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นตามอัตราของขี้เถ้าแกลบที่ใส่เพิ่มขึ้น ขณะที่การใส่ปุ๋ ยโพแทสเซียมส่งผลให้ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ซึ่งหลงเหลืออยู่ในดินเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราที่ใส่อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติโดยมีปริมาณสูงสุดเท่ากับ 47.24 มก./กก.
Article Details
References
ศิราณี วงศ์กระจ่าง และ บัญชา รัตนีทู. 2556. การจัดการดินทรายเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5: 184-194.
สมพงษ์ กาทอง และ อนุชิต ทองกล่ำ. 2547. การปลูกและการดูแลรักษา, น. 15-17. ใน: เอกสารวิชาการมันสำปะหลังลำดับที่7/2557. สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2558. แหล่งข้อมูล: https://bit.ly/2IY5zLC ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2559.
Anusontpornperm, S., S. Nortcliff and I. Kheoruenromne. 2009. Interpretability comparison between Soil Taxonomic and Fertility Capability Classification units: a case of some major cassava soils in northeast, Thailand. Kasetsart J (Nat. Sci.). 043: 9-18.
Habeeb, G.A. and H.B. Mahmud. 2010. Study on properties of rice husk ash and its use as cement replacement material. Materials Res. 13: 185-190.
Howeler, R.H. 1985. Mineral nutrition and fertilization of cassava, pp. 249-320. In: J.Cock and J.A. Reyes, eds. Cassava: Research, Production and Utilization. Cali, Colombia.
Hy, N.H., P.V. Bien., N.T. Dang and T. Phien. 1998. Recent progress in cassava agronomy research in Vietnam, pp. 235-256. In: R.H. Howeler, ed. Cassava Breeding, Agronomy and Farmer Participatory Research in Asia. Proceeding of the 5th Regional Workshop. 3-8 November 1996. Danzhou, Hainan, China Imas, P. and K.S. John. 2013. Potassium nutrition of cassava. Inter. Potash Inst. 34: 13-18.
Johnston, A.E. and G.F.J. Milford. 2012. Potassium and nitrogen interaction in crops. Potash development Association.Kang, B.T. and J.E. Okeke. 1984. Nitrogen and potassium responses of two cassava varieties grown on an Alfisols in Southern Nigeria, pp. 231-237. In: Proceedings of the 6th Symposium of the International Society of Tropical Root Crop. 21-26 February 1983. Lima, Peru.
Kasele, I.N., S.K. Hahn, C.O. Oputa, and P.N. Vine. 1983. Effects of shade, nitrogen, and potassium on cassava, pp. 55-58. In:Proceedings of the Second Triennial Symposium of the International Society for Tropical Root Crops - Africa Branch, Douala/Cameroon.
Kumar, S., P. Sangwan, R.M.V. Dhankhar and S. Bidra. 2013. Utilization of rice husk and their ash: a review. Res. J. Chem. Env. Sci. 1: 126-129.
Nguyen, H., J.J. Schoenau, D. Nguyen, K.V. Rees and M. Boehm. 2007. Effect of long-term nitrogen, phosphorus, and potassium fertilizer on cassava yield and plant nutrient composition in north Vietnam. Journal of plant nutrient. 25: 425-442.
Njoku, C. and C.N. Mbah. 2012. Effect of burnt and unburnt rice husk dust on maize yield and soil physico-chemical properties of an Ultisol in Nigeria. Biological Agri. Hort. 28: 49-60.
Nwite, J.C., S.E. Obalum, C.A. lgwe and T. Wakatsuki. 2011. Properties and potential of selected ash sources for improving soil condition and Sawah rice yields in a degraded inland vallay in southeastern Nigeria. World J. Agric. Sci. 7: 304-310.
Soil Survey Division Staff. 2014. Keys to Soil Taxonomy. 12th ed. Natural Resources Conservation Service, USDA, Washington, D.C., USA.Sittibusaya, C., 1996. Strategies of developing fertilizer recommendations for field crops. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives.