ผลของมื้ออาหารที่ให้อาหารด้วยเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ ต่อการอนุบาลปลาดุกอุยในบ่อคอนกรีต
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาผลการเจริญเติบโต อัตรารอด และคุณภาพน้ำจากการอนุบาลปลาดุกอุย น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 2.70 ± 0.07 กรัม จัดสิ่งทดลองด้วยวิธีแฟคทอเรียล 3x2 ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (factorial 3x2 in CRD) โดยศึกษา 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านวิธีการให้อาหาร 3 วิธี (เครื่องให้อาหารพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องให้อาหารพลังงานไฟฟ้ า และให้อาหารด้วยแรงงานคน) และความถี่มื้ออาหาร 2 ระดับ (2 มื้อ ณ เวลา 08.00 น. และ 16.00 น. และ 3 มื้อ ณ เวลา 08.00 น.,16.00 น. และ 24.00 น.) ทดลองอนุบาลเป็นเวลา 90 วัน พบว่า การให้อาหารปลาดุกอุย ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและมีอัตรารอดตายไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) อัตราการเจริญเติบโตมีค่าระหว่าง 0.54 ± 0.03 – 0.61 ± 0.22 กรัม/วัน อัตรารอดตายมีค่าระหว่าง 89.53 ± 3.11 – 90.86 ± 4.73% และค่าการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมีค่าระหว่าง 2.24 ± 0.78 – 2.46 ± 0.30 ผลคุณภาพน้ำ ณ ช่วงเวลา 06.00 น. และ 18.00 น. พบว่า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายได้ในน้ำ มีค่าระหว่าง 5.05 – 5.99 และ 5.45 – 6.49 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ค่า pH มีค่าระหว่าง 5.34 – 7.34 และ 6.12 – 7.94 ตามลำดับ อุณหภูมิ มีค่าระหว่าง 26.43 – 29.12 องศาเซลเซียส และ 28.76 – 29.39 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ปริมาณแอมโมเนีย มีค่าระหว่าง 0.003 – 0.024 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณไนไตรท์ มีค่าระหว่าง 0.001 – 0.004 มิลลิกรัม/ลิตร และไนเตรท มีค่าระหว่าง 0.001 – 0.006 มิลลิกรัม/ลิตร โดยค่าคุณภาพน้ำในรอบวันทุกกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ดังนั้นการใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์ส่งผลต่อการอนุบาลปลาดุกอุยในบ่อคอนกรีต โดยการให้อาหารจำนวน 2 และ 3 มื้อ/วัน ส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตและผลผลิตรวมของลูกปลาดุกอุยแต่ไม่ส่งผลต่อค่าคุณภาพน้ำ
Article Details
References
กิตติศักดิ์ จันทร์เกิด และสุทธิพงศ์ รุกขชาติ. 2557. เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ. สาขาวิชาไฟฟ้ ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี.
เกียรติศักดิ์ อยู่ดี. 2555. เครื่องให้อาหารเม็ดอัตโนมัติ, วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.
ไกรสร รวยป้ อม และดนัย ทองธวัช. 2556. เครื่องให้อาหารกุ้งอัตโนมัติแบบรางเลื่อน. วารสารวิจัย. 6: 63-69.
จริยาวดี สุริยพันธุ์. 2554. ผลของธาตุอาหาร คุณภาพดินและคุณภาพน้ำต่อองค์ประกอบของแพลงก์ตอน ในบ่อเลี ้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) แบบพัฒนา. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงศ์ธร ยิ่งยวด, วราห์ เทพาหุดี, นิติ ชูเชิด และชะลอ ลิ้มสุวรรณ. 2556. ผลของระยะเวลาการให้อาหารโดยใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติต่อผลผลิตของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ในฟาร์มเลี้ยง. ภาควิชาชีววิทยาประมง. คณะประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภัทราวุธ อภิชาตวงค์สกุล และ วฬเจฎ แสงทอง. 2557. เครื่องให้อาหารสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชังแบบอัตโนมัติและโปรแกรมได้. วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
สุกัญญา พิมมาดี. 2560. สถานการณ์ปลาดุกปี 2559 และแนวโน้มปี2560. ส่วนเศรษฐกิจการประมงกลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง, กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Brian Hunter. 2011. A Brief History and Current Status of Shrimp Farming in Thailand Reports That Farmers Adopt Automatic Feeders In Fifth Annual Symposium 2011 in Honduras.
ClesceriI, L.S., A.E. Greenberg, and A.D.Eaton. 1998. Standard methods for the examination of water and wastewater. 20th ed. American Public Health Association, Washington,1998;1325p. Chang, C. M., W. Fang, R. Jao, C. Z. Shyu, and I.C. Liao. 2005. Development of an intelligent feeding controller for indoor intensive culturing of eel.Aquacultural Engineering. 32: 343–353. FAO. 2016. Global Aquaculture Production Database 1950 – 2014. Available: https://bit.ly/2A8DpdO Accessed 14 May. 2016
Hossain, M A R., R S. Batty, G S.Haylor, and M.C. Beveridge. 1999. Diet rhythms of feeding activity in African catfish, Clarias gariepinus(Burchell,1822). Aquaculture Research. 30: 901-905
How, C W., S.M Salleh, A.M. Ezree, I. Zaman, M.H. Hatta, B.A. Zain, S. Mahzan, M.N.A. Rahman and W.A.W Mahmud. 2017. Improvement of automatic fish feeder machine design. International Conference on Materials Physics and Mechanics 2017. Journal of Physics: Conf. Series. 914: 01204.
Kohbara, J., I. Hidaka, F. Matsuoka, T.Osada, K.Furukawa, M. Yamashita, and M. Tabata. 2003. Self-feeding behavior of yellowtail, Seriola quinqueradiata, in net cages: Diet and seasonal patterns and influences of environmental factors. Aquaculture. 220: 581-594.
Timothy M., C.T. Joycelyn, C. Jumawan, and J.P. Quilang. 2016. Low genetic diversity in Clarias macrocephalus Günther, 1864 (Siluriformes: Clariidae) populations in the Philippines and its implications for conservation and management. Journal of Threatened Taxa. 8: 8849–8859.
Vidthayanon, C. and D. Allen. 2013. Clarias macrocephalus. The IUCN Red List of Threatened Species 2013: e. T166020A6170044. Available: https://bit.ly/2OTR8h3. Accessed on 11 May 2016;
Yeoh, S. J., F. S.Taip, J. Endan, R. A. Talib, and M. K. S. Mazlina. 2010. Development of automatic feeding machine for aquaculture industry. Pertanika J. Sci. & Technol. 18: 105–110.
Yukinori M , N. H. Tan, M. RKhairulanwar, and C.F. Liau. 2016. Demand feeding system using an infrared light sensor for brown-marbled grouper juveniles, Epinephelus fuscoguttatus. Sains Malaysiana. 45: 729–733.