การศึกษาจุลินทรีย์โปรไบโอติกจากบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de Man) ในจังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาชนิดของจุลินทรีย์โปรไบโอติกที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต สามารถแยกได้จากดินบริเวณบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de Man) ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ตำบลเขาพระนอน ตำบลนาเชือก ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด, ตำบลลำคลอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และตำบลหัวหิน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ พบจุลินทรีย์ จำนวน 7 กลุ่ม ได้แก่ KS1, KS2, KS3, KS4, KS5, KS6 และ KS มีลักษณะรูปร่างเป็นแท่ง เป็นแกรมบวก 6 ชนิด (KS1, KS2, KS3, KS4, KS5 และ KS6) และแกรมลบ 1 ชนิด (KS7) และจากการจัดจำแนกเชื้อจุลินทรีย์โดยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วนของยีน 16S rDNA พบว่า เชื้อในกลุ่ม Bacillus จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Bacillus marisflavi KS1, B. aryabhattai KS2, B. pseudomycoides KS3, B. safensis KS4, B. infantis KS5 และ B. cereus KS6 และเชื้อในกลุ่ม Chromobacterum จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ Chromobacterum violaceum KS7 ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้มีคุณสมบัติเป็นโปรไบโอติกที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ B. marisflavi KS1, B. aryabhattai KS2 และ B. cereus KS6 ดังนั้นเชื้อเหล่านี้จึงมีคุณสมบัติเลือกใช้เป็นโปรไบโอติกในการพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบอินทรีย์ต่อไปได้
Article Details
References
กีรวิชญ์ เพชรจุล และมณีรัตน์ ศิริสวัสดิ์. 2559. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกุ้งก้ามกรามในบ่อเลี ้ยงของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี-พีซีอาร์. วารสารวิทยาศาสตร์. 44: 331-344.
กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง. 2553. พื้นที่การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและสถิติการส่งออก, แหล่งข้อมูล: https://bit.ly/2yebxni ค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2560.
จันทิมา เพียรผล. 2560. สถานการณ์กุ้งก้ามกราม 9 เดือนแรกปี 2560. กลุ่มเศรษฐกิจการประมง. กองนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ดวงกมล ทองอร่าม, วุฒิพงษ์ มหาคำ และคทาวุธ นามดี. 2548. การจำแนกพืชสกุล Caulokaempfer K. Larsen (วงศ์ขิง) โดยการวิเคราะห์สายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการจากข้อมูลทางชีววิทยาระดับโมเลกุล. วารสารวิจัย. 10: 5-12.
พิมพร ทองเมือง. 2558. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจุลชีววิทยาทางการแพทย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วชิรภรณ์ ไกรอำ. 2553. สถานการณ์กุ้งก้ามกรามไตรมาส 1 ปี 2552, แหล่งข้อมูล: https://bit.ly/2NHY5wK. ค้นเมื่อ วันที่ 28 สิงหาคม 2560.วิเชียร ลีลาวัชรมาศ. 2541. โปรไบโอติค: อาหารสุขภาพสำหรับมนุษย์และสัตว์ ตอนที่ 1. วารสารจาร์พา . 5: 50-53.
วิศณุ บุญญาวิวัฒน์. 2541. โรคและความถดถอยทางพันธุกรรมของกุ้งก้ามกราม. การอภิปรายทางวิชาการงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2541. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.
สนธิ แดงสกุล และลิลา เรืองแป้ น. 2541. ประสิทธิภาพของโพรไบโอติกที่ผลิตจาก Bacillus การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ. วารสารการประมง. 51: 446-456.
อรววรรณ์ บุตรดี, พรพรรณ อู่สุวรรณ และกัญญา สอนสนิท. 2556a. การคัดเลือกและการจำแนกชนิดแบคทีเรียที่แยกได้จาก ทางเดินอาหารของกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de Man). วารสารวิทยาศาสตร์. 41: 404-413.
อรววรรณ์ บุตรดี, พรพรรณ อู่สุวรรณ และกัญญา สอนสนิท. 2556b. การคัดเลือกเชื้อบาซิลัสโพรไบโอติกจากทางเดินอาหารของกุ้งก้ามกรามจากคลองธรรมชาติในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2: 11-19.
Atlas. M. R. 1995. Microorganisms in our world. United State of America: Mosby-Year Book Inc.
Austin, B., and D. Austin. 2012. Bacterial fish pathogens disease of farmed and wild fish, Springer, New York.
Bernan, V. S., M. Greenstein, and W. M. Maisese. 1997. Marine microorganisms as a source of new natural products. Adv. Appl. Microbiol. 43: 57-90.Ganguly, P. I., and K. S. Mukhopadhayay, 2010. Application and effectiveness of immunostimulants, probiotics, and probiotics in aquaculture: A Review. Bamidgeh. 62: 130-138.
Gatesoupe, F. J. 1999. The use of probiotics in aquaculture. Aquaculture. 180: 147–165.
Gomez-Gil, B., A. Roque, and J. F. Turnbull. 2000. The use and selection of probiotic bacteria for use in the culture of larval aquatic organisms. Aquaculture. 191: 259-270.
Lavanya, K., and Y. Dayakar. 2017. Isolation and characterization of probiotic bacteria from the soil samples of the coastal areas of (Gundur division, Nellore Dt.) for utilization in shrimp farming. Int. J. Fish. Aquat. Stud. 5: 371-376.
Li, K., X. Zhang, W. Song, B. Deng, Q. Liang, I. Fu, J. Zheng, Y. Wang, and D. Yu. 2012. Effects of Bacillus preparations on immunity and antioxidant activities in grass carp (Ctenopharyngodon idellus). Fish Physiol. Biochem. 38: 1585-1592.
Phianphak, W., S. Piyatirativarakul, P. Menasveta, and S. Rengpipat. 1997. Use of Probiotics in Penaeus monodon. Abstract of poster session, 2nd Asia-Pacific Marine Biotechnology Conference 1997. Phuket, Thailand.
Rengpipat S, S. Rukpratanporn, S. Piyatiratitivorakul, and P. Menasveta. 1998. Probiotic in aquaculture: A case study of probiotic for larvae of the black tiger shrimp (Penaeus monodon). In Flegel TW(ed) Advance in shrimp biotechnology. National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, Bangkok.
Semanti, R., D. Rohini, B. Poilomi, C. Bodhisatwa, and K. M. Arup. 2012. From the space to earth: Bacillus aryabhattai found in the lndian subcontinent. Biosci. Discov. 3: 138-145.
Weisburg, W. G., S. M. Barns, D. A. Pelletier, and D. J. Lane. 1991. 16S ribosomal DNA amplification for phylogenetic study. J. Bacteriol. 173: 697-703.