ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลิตภาพของ ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่ปลูกในชุดดินสรรพยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปุ๋ยเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญต่อระบบการผลิตพืช การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชโดยคำนึงถึงปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่เดิมในดินสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิตพืชได้ การทดลองนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่ปลูกในชุดดินสรรพยาและได้รับการจัดการปุ๋ยในรูปแบบที่แตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล๊อก มี 4 ซ้ำ ตำรับการทดลอง คือ รูปแบบการใส่ปุ๋ย 6 รูปแบบ ได้แก่ (1) การไม่ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมี (control, C) (2) การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (1SSF) (3) การใส่ปุ๋ยหมักในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีให้มีธาตุอาหารหลักรวมกันแล้วเป็น 0.5 เท่าของ SSF (0.5SSFC50+F) (4) การใส่ปุ๋ยหมักในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีให้มีธาตุอาหารหลักรวมกันเป็น 1 เท่าของ SSF (1SSFC100+F) (5) การใส่ปุ๋ยหมักในอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีให้มีธาตุอาหารหลักรวมกันเป็น 1.5 เท่าของ SSF (1.5SSFC150+F) และ (6) การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (DOA) ผลการทดลอง พบว่า รูปแบบการใส่ปุ๋ยไม่มีผลต่อจำนวนรวงต่อกอ น้ำหนัก 100 เมล็ด เปอร์เซ็นต์อะไมโลสและอัตราการขยายตัวของข้าวสุกแต่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตข้าวเปลือก โดยในช่วงระยะเริ่มพัฒนาช่อดอก ข้าวที่ได้รับการใส่ปุ๋ยตามตำรับการทดลอง DOA มีความสูงและจำนวนแขนงต่อกอของข้าวมากที่สุด (P<0.05) ข้าวที่ได้รับการใส่ปุ๋ยตามตำรับการทดลอง 1SSF และ 1SSFC100+F มีผลผลิตข้าวเปลือกต่อไร่ และค่าตอบแทนหลังหักต้นทุนค่าปุ๋ยไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ดังนั้น ในการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ในชุดดินสรรพยาให้มีผลผลิตที่ดีและสามารถช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยหมักในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีให้มีธาตุอาหารหลักรวมกันเป็น 1 เท่าของค่าวิเคราะห์ดินจึงเป็นรูปแบบการจัดการปุ๋ยที่แนะนำ
Article Details
References
กรมพัฒนาที่ดิน. 2550. ความสeคัญของดินและปุ๋ย. เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดความรู้และเทคโนโลยี. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. ชุดดินสรรพยา. น. 37. ใน เอกสารวิชาการ ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคกลางของประเทศไทย. กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพฯ.
กรรณิกา นากลาง, สิริมา ปั้นศิริ, วราภรณ์ วงศ์บุญ, ประเสริฐ ไชยวัฒน์, สว่าง โรจนกุศล, วิวัฒน์ อิงคะ ประดิษฐ์, องอาจ วีระโสภณ, จินตนา หัสวายุกุล, ชนินทร์ เภสัชชา และเภสัช ลวดเงิน. 2552. การจัดการการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเสี่ยงในการผลิตข้าว. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. กรมการข้าว กรุงเทพฯ.
กุลวดี สุทธาวาส. 2553. ความเหมาะสมของดินและภูมิอากาศในการปลูกพืชเศรษฐกิจจังหวัดราชบุรี. สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 กรมพัฒนาที่ดิน จังหวัดราชบุรี. งามชื่น คงเสรี. 2536. คุณภาพเมล็ดทางเคมี. น. 54-70. ใน เอกสารประกอบการบรรยายการ ฝึกอบรมหลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง. สถาบันวิจัยข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.
งามชื่น คงเสรี. 2545. ปัจจัยคุณภาพข้าวสารและข้าวสวย. น. 13-18. ใน เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรหลักและวิธีการวิเคราะห์คุณภาพข้าว. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี.
ธนกฤต เขียวอร่าม นันทวัฒน์ ศรีอำไพ อำพล แพบุตร อุไร กาลปักษ์ และ รุ่งนภา อังคุณี. 2555. ศึกษาปัจจัยและแนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการทำนาในพื้นที่อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. 63 น. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี.
นุชจรี กองพลพรหม ฤทธิรงค์ จังโกฏิ และธวัดชัย ธานี. 2558. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินที่มีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 15(1): 66-77.
นันทนา ชื่นอิ่ม วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์ สมชาย กรีฑาภิรมย์ และ นุษรา สินบัวทอง. 2553. การใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวตามค่าการวิเคราะห์ดิน. น. 325-332. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
ประเสริฐ สองเมือง, ทวี ธนาวีร์, ธีรพันธ์ แพทยารักษ์, แพรวพรรณ กุลนทีทิพย์, กรรณิกา นากลาง และสว่าง โรจนกุศล. 2542. การใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวระยะยาวต่อสรีรนิเวศวิทยาของข้าว และสมบัติของดินที่สถานีทดลองข้าวพิมายสถานีทดลองข้าวสุรินทร์. น. 22-56. ใน: รายงานผลการค้นคว้าวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2536-2539. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว. กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.
ไพลิน รัตนจันทร์ อานัน ผลวัฒนะ ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ นิวัติ เจริญศิลป์ . 2550. การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่เพื่อการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. น. 41-48. ใน รายงานประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2550 จังหวัดปทุมธานี.
พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์ วรภัทร ลัคนทินวงศ์ ชวินทร์ ปลื้มเจริญ และภิรญา ชมพูผิว. 2560. ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(2): 249-259.
มณเฑียร จินดา, สมศักดิ์ เหลืองศิโรรัตน์ และเสน่ห์ ฤกษ์วีรี. 2542. อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีต่อสมบัติของดินและผลผลิตข้าวในดินนาชุดนครปฐม. น. 72-89. ใน: รายงานผลการค้นคว้าวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2536-2539. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว. กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2551. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สุดสงวน เทียมไธสงค์ วัชราภรณ์ จันทบุตร และสุกัญญา พรหมสาขา ณ สกลนคร. 2554. ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน ต่อการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในกลุ่มชุดดินที่ 17. แก่นเกษตร (ฉบับพิเศษ). 39(3): 348-355.
สุวรรณภา บุญจงรักษ์ กัญญาพร สังข์แก้ว และมยุรี อบสุข. 2554. การจัดการดินและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดินตามโปรแกรมการจัดการดินและปุ๋ยตามค่าคำแนะนำปุ๋ยรายแปลงเพื่อการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อย่างยั่งยืน. กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพฯ.
อรพิน เกิดชูชื่น และ ผ่องพรรณ พุทธาโร. 2545. อิทธิพลของปุ๋ยยูเรียและแอมโมเนียมซัลเฟตต่อ growth rate, leaf area index และ net assimilation rate ของข้าวเจ้าหอมพันธุ์ปทุมธานี 1. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 25(3): 233-243.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557. การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา. วารสารเกษตร. 30(2): 133-140.อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2558. ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตและสมบัติทางเคมีของข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา. แก่นเกษตร. 43(3): 423-430.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ ธนวดี พรหมจันทร์ ศิริวรรณ แดงฉ่ำ อุไร กาลปักษ์ และจิรายุ ฮวบดีบอน. 2559b. การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการปุ๋ยเคมีเฉพาะพื้นที่เพื่อเพิ่มสมรรถนะการผลิตของข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ปลูกในชุดดินบางเลน. น. 192-198. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 6 วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี.
Bray, R. H. and L. T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. 59(1): 39-45.Bremmer, J. M. and C. S. Mulvaney. 1982. Nitrogen Total. P. 595-624. In: A. L. Page (Ed), Methods of Soil Analysis: Agron. NO. 9, Part 2: Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed, Am. Soc. Agron., Madison, WI.
Dobermann, A., and T. Fairhurst. 1999. Field Handbook. Nutritional disorders and nutrient management in rice. IRRI, PPI/PPIC.
FAO. 1974. The Euphrates Pilot Irrigation Project. Methods of Soil Analysis, Gadeb Soil Laboratory (A Laboratory manual). Food and Agriculture Organization, Rome.
FAOSTAT. 2016. Faostat [Online]. www.fao.org. Accessed 16 May 2016.Jackson, M. L. 1958. Soluble Salt Analysis for Soils and Water. Soil Chemical Analysis. Prentice Hall, Inc. Englewood Cliffs, NJ.
Mclean, E. O. 1982. Soil pH and Lime Requirement. P. 199-224.In Page, A. L. (ed.). Methods of Soil Analysis Part 2: Chemical and Microbiological Properties. American Society of Agronomy, Madison, WI.
Moe, K., K. W. Mg, K. K. Win and Y. Yamakawa. 2017. Effects of combined application of inorganic fertilizer and organic manures on nitrogen use and recovery efficiencies of hybrid rice (Palethwe-1). American Journal of Plant Sciences. 8: 1043-1064.
Xu, M. G., D. C. Li, J. M. Li, D. Z. Qin, Y. Kazuyuki. and Y. Hosen. 2008. Effects of organic manure application with chemical fertilizers on nutrient absorption and yield of rice in human of Southern China. Agricultural Sciences in China. 7(10): 1245-1252.
Peech, M., L. T. Alexander, L. A. Dean and J. F. Reed. 1947. Method of Soil Analysis for Soil Fertility Investigation. U.S. Government Printing Office, Washington. Rann, V. S. Anusontpornperm, S. Thanachit. and T. Sreewongchai. 2016. Response of KDML105 and RD41 rice varieties grown on a Typic Natrustalf to granulated pig manure and chemical fertilizers. Agriculture and Natural Resources. 50(2): 104-113.
Rao, E. V. S. P. and R. Prasad. 1980. Nitrogen leaching losses from conventional and new nitrogenous fertilizers in lowland rice culture. Plant and Soil. 57(2): 383-392.
Salem, A. M. K. 2002. Effect of nitrogen levels, plant spacing and time of farmyard manure application on the productivity of rice. Journal of Applied Science Research. 2(11): 980-987.
Walkley, A. 1947. A critical examination of a rapid method for determining of organic carbon in soil: Effect of variation in digestion conditions and of inorganic soil constituents. Soil Sci. 63(2): 251-263.