การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระบบพันธสัญญาระหว่าง สปป.ลาว กับประเทศไทย: ผลตอบแทนและประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ

Main Article Content

เยาวเรศ เชาวนพูนผล
วีระศักดิ์ สมยานะ

บทคัดย่อ

การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระบบพันธสัญญาระหว่าง สปป.ลาว กับไทย ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ ACMECS-GMS ที่ผ่านมามีทั้งที่ประสบความสำเร็จและประสบปัญหา อย่างไรก็ตาม การผลิตในระบบพันธสัญญายังเป็นระบบการผลิตหนึ่งของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน สปป.ลาว ประเด็นคำถามที่มักเกิดขึ้นคือ ประโยชน์จากระบบการผลิตดังกล่าวเกิดขึ ้นกับเกษตรกรจริงหรือไม่ การศึกษานี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์ที่เกิดขึ ้นจากการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระบบพันธสัญญาใน สปป.ลาว โดยสำรวจเกษตรกรในระบบพันธสัญญาในภาคเหนือ (แขวงบ่อแก้ว) และภาคใต้ (แขวงจำปาสักและสาละวัน) จำนวน 211 ราย และวิเคราะห์ใน 2 ประเด็นหลักคือ 1) ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเป็นการวิเคราะห์ต้นทุนแเละผลตอบแทน การเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับจากการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระบบพันธสัญญากับการผลิตพืชเดิม 2) ประโยชน์เชิงสวัสดิการ พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับครัวเรือนและชุมชนของเกษตร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาประโยชน์เชิงเศรษฐกิจพบว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของภาคเหนือในฤดูแล้งทำให้เกษตรกรมีกำไร 913.57 พันกีบ/เฮกตาร์ ขณะที่ฤดูฝนเกษตรกรขาดทุนค่อนข้างมาก แต่หากเกษตรกรปรับเปลี่ยนโดยการจ้างรถไถเตรียมดินแทนการซื้อรถไถจะสามารถลดต้นทุนผันแปรลงได้ ในขณะที่ภาคใต้พบว่า ขาดทุนด้วยเช่นกัน เนื่องจากค่าแรงงานเป็นองค์ประกอบสำคัญของต้นทุนและผลผลิตเฉลี่ยที่ต่ำ แนวทางการแก้ไขหนึ่งคือ การยกระดับผลผลิตเฉลี่ย โดยอาศัยความช่วยเหลือจากบริษัทคู่สัญญา นอกจากนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ทั้งในภาคเหนือและใต้ชี ้ให้เห็นว่าผลประโยชน์เชิงสวัสดิการที่ได้รับยังคงเหมือนเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกพืชอื่นๆ ในทุกประเด็น แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือ สภาพเศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น และเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกร ทำให้ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาทางเลือกอื่นนอกชุมชน นอกจากนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องยังได้รับความมั่นใจเรื่องผลผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2550. เกษตรฯ เดินเครื่องพัฒนากรอบความร่วมมือกรอบเอคเมคทั้งระดับพหุภาคี และทวิภาคีให้ชัดเจนขึ้น เล็งผลโครงการที่ให้ผลสืบเนื่องกับการทำคอนแทรคฟาร์มมิ่งในประเทศเพื่อนบ้าน. แหล่งข้อมูล: http://www.moac.go.th/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=2956&filename=. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2555.
กรุงเทพธุรกิจ. 2550. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. แหล่งข้อมูล: www.bangkokbiznews.com. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2555.
พิมพ์พิชชา ทานา. 2555. ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบมีและไม่มีพันธะสัญญาในอำภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สยามธุรกิจ. 2553. จีน-ญวณ เล่นกลการค้า ฉีกคอนแท็กฟาร์มมิ่งไทย-ลาวฯ. แหล่งข้อมูล: www.skyscrapercity.com/showthread.php. ค้นหาเมื่อ 24สิงหาคม 2555.
อารี วิบูลย์พงศ์, เยาวเรศ เชาวนพูนผล, Yangluexay, T.,ศรัณย์ อารยะรังสฤษฎ์, วีระศักดิ์ สมยานะ, Sengaloun, S.,กาญจนา สุระ, นพดล สายวงค์, พนินท์ เครือไทย, Insisienmay, S., อริยา เผ่าเครื่อง, สุภาภรณ์ พวงชมพู, Sayngasenh, A., เพียรศักดิ์ ภักดี, สุภาวดี ขุนทองจันทร์, Soukkhamthat, T., ฉัตรฤดี ศิริลำดวน, ประกาศิต ฮงทอง, กาญจนา โชคถาวร, Nolintha, V., ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์, กฤษฎา แก่นมณี และ Bannalath, K. 2556. การผลิตข้ามแดน (Trans – boundary Production): กรณีไทย – ลาว. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
Boundeth, S., Nanseki, T. & Taakeuchi, S. 2011. Analysis of maize supply chain in northern Laos. Research Journal of International Studies, 20, 140–153.
Chaovanapoonphol, Y., Yangluexay, T., and Arayarangsarid, S. 2012. Agricultural projects in contracted maize farming between southern Lao PDR and Thailand. Full research report. Thai Research Fund (TRF).
FAOSTAT. 2012. Food and agriculture organization of the United Nations. Available: http://faostat.fao.org/site/567/default.aspx#ancor. Accessed Jan. 20, 2012.MAF. 2010. Agricultural statistics yearbook. Ministry of Agriculture and Forestry, Lao PDR.
Somyana, W., Sura, K., and Saiwong, N. 2012. Agricultural product development in the northern Lao PDR: Case study in maize. Full research report. Thai Research Fund (TRF).
Viengpasith, V., Yabe, M., & Sato, G. 2012. Analysis of technical efficiency of smallholder maize farmers in northern Lao PDR: case study of Paklay district, Sayaboury province. Journal of Faculty of Agriculture, Kyushu University, 57(1), 309–315.