ผลของโซเดียมเบนทอไนต์ต่อความเป็นพิษเฉียบพลันและคุณภาพน้ำต่อ ปลากะพงขาว (Lates calcarifer)

Main Article Content

ธนากร ทราเจริญ
พงศ์เชฎฐ์ พิชิตกุล

บทคัดย่อ

โซเดียมเบนทอไนต์เป็นแร่ดินเหนียวที่มีคุณสมบัติขยายตัวได้เมื่อสัมผัสกับน้ำ จึงมีแนวคิดที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุรองพื ้นบ่อในการป้องการรั่วซึมในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของโซเดียมเบนทอไนต์ที่มีต่อปลากะพงขาว (Lates calcarifer) และศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่สำคัญในช่วงความเข้มข้นของโซเดียมเบนทอไนต์ที่ส่งผลทำให้ปลากะพงขาวเกิดการตาย โดยทำการศึกษากับลูกปลากะพงขาวขนาด 10.59±2.04 กรัม ภายใต้วิธีชีววิเคราะห์แบบน้ำนิ่ง (static bioassay) ผลการศึกษาพบว่าการตายของปลากะพงขาวมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อระดับความเข้มข้นของโซเดียมเบนทอไนต์มีค่าเพิ่มขึ้น ระดับความเข้มข้นของโซเดียมเบนทอไนต์ที่ทำให้ปลากะพงขาวตายร้อยละ 50 ที่ระดับความเค็มของน้ำ 5 ส่วนในพันส่วน ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง (24-hr LC50) มีค่าเท่ากับ 78.94 (77.91-79.96) กรัมต่อลิตร การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และค่าการนำไฟฟ้า (EC) มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตามระดับความความเข้มข้นของโซเดียมเบนทอไนต์และระยะเวลาที่เพิ่มขึ ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ในขณะที่โซเดียมเบนทอไนต์ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าออกซิเจนละลายและอุณหภูมิของน้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี ้ยงสัตว์น้ำจืด. 2560. แผนแม่บทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย (ฉบับร่าง) ปีพ.ศ. 2555-2559. http://www.inlandfisheries.go.th/images/passive/lmbd.pdf. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2560.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2544. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชวาล พรรคเจริญ, ภีมะ วันแรก และนิพนธ์ สายแก้วราช. 2559. การศึกษาการลดปริมาณการรั่วซึมของน้ำในดิน ลูกรังโดยใช้เบนทอไนต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชาลี นาวานุเคราะห์, นวลจันทร์ เอี่ยมประพันธ์ และธาริณี ลี้พูลทรัพย์. 2548. การศึกษาอัตราส่วนฟอสโฟยิปซัมที่ เหมาะสมเพื่อลดปริมาณความเค็มของดินนากุ้งร้าง. วารสารอนุรักษ์ดินและน้ำ. 21(1): 50-60.
ธารทิพย์ นภาอำไฟพร, นิติ ชูเชิด และชลอ ลิ้มสุวรรณ. 2554. การศึกษาพิษเฉียบพลันของนิโคลซาไมด์ต่อปลากะพงขาว ( L a t e s calcarifer) และกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ระยะโพสลาร์วา 12. เทคโนโลยีการ ประมง 5:97-104.
ภาสกร ถมพลกรัง และยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร. 2539. พิษเฉียบพลันของความเป็นกรด-ด่างจากน้ำพรุต่อลูกปลา กะพงขาวขนาด 3-5 นิ้ว. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง, กรุงเทพฯ.
ภัทรสวันต์ แสงคำ. 2552. ผลของโซเดียมเบนทอไนต์ต่อสมบัติดิน และการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เรืองไร โตกฤษณะ, กุลภา กุลดิลก, กุลภา ษุญชูวงค์, เบญจวรรณ คงขน และ ธันย์ธาดา มะวงค์ไว. 2558. สถานภาพการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สถาบันคลังสมองแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ลิลลา หงส์คณารัตน์, ชลอ ลิ้มสุวรรณ และนิติ ชูเชิด. 2552. การศึกษาพิษเฉียบพลันของกากชาต่อปลานิล (Oreochromis niloticus), ปลากะพงขาว (Lates calcarifer) และกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus v a n n a m e i ) . วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง. (2559). สถิติการประมง ปี 2552. กรมประมง. http://www. fisheries.go.th/it- stat/yearbook. ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2560.
สุรวดี สุขเลิศ. 2558. โซเดียมเบนทอไนต์ (Sodium Bentonite) ส่งผลกระทบต่อพืชได้อย่างไร. สำนักวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. http://www.onep.go.th/eia/images/10km/km_13.pdf. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.7429(G)-2559: การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงปลาทะเล. กรุงเทพฯ.
APHA. 2012. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, 22nd ed. American Public H e a l t h Association, Washington, D.C. 1496 p.
Boyd, C.E. and C.S. Tucker. 1998. Pond Aquaculture Water Quality Management. Kluwer Academic P u b l i s h e r s , Massachusettes.
Chapuis, R. M., 2002. Full-Scale Hydraulic Perfoance of Soil-Bentonite and Compacted Clay Liners. Canadian Geotechnical Journal, 39: 417-439.
Finney, D J. 1971. Probit Analysis. 3rd Edition, Cambridge University Press, London.
Gomez, K.A., Gomez, A.A., 1984. Statistical procedures for agricultural research, 2nd ed. John Willey & Sons, New York.
Ismadji, S., D.S. Tong, F.E. Soetaredjo, A. Ayucitra, W.H. Yu and C.H. Zhou. 2016. Bentonite Hydrochar Composite for Removal of Ammonium from Koi Fish Tank. Appl. Clay Sci. 119: 146-154.
Poléo, A.B.S., K. Østbye, S.A. Øxnevad, R.A. Andersen, E. Heibo and L.A. Vøllestad. 1997. Toxicity of Acid Aluminium-Rich Water to Seven Freshwater Fish Species: A Comparative Laboratory Study. Environmental Pollution. 96: 129-139.
Xi, Y., M. Mallavarapu and R. Naidu. 2010. Preparation, Characterization of Surfactants Modified Clay Minerals and Nitrate Adsorption. Appl. Clay Sci. 48: 92-96.
Zamparas, M., A. Gianni, P. Stathi, Y. Deligiannakis and I. Zacharias. 2012. Removal of Phosphate from N a t u r a l Waters Using Innovative Modified Bentonites. Appl. Clay Sci. 62-63: 101-106.
Zhou, C.H. and J. Keeling. 2013. Fundamental and Applied Research on Clay Minerals: From Climate and Environment to Nanotechnology. Appl. Clay Sci. 74: 3-9.