การเปรียบเทียบลักษณะการทำลายและพัฒนาการของระดับอาการใบด่าง ในมันสำปะหลังสามพันธุ์ จากไรแดงหม่อน Tetranycus truncatus Ehara.
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไรแดงหม่อน Tetranychus truncatus Ehara เป็นปัญหาสำคัญของมันสำปะหลังในประเทศไทย ความรุนแรงของการทำลายขึ ้นกับพันธุ์ของมันสำปะหลัง การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะการทำลาย และพัฒนาการของระดับอาการใบด่างจากการทำลายของไรแดงหม่อนบนมันสำปะหลัง 3 พันธุ์ คือ ห้วยบง60เกษตรศาสตร์50 และ ระยอง72 ปล่อยไรแดงหม่อนเพศเมีย 40 ตัวต่อต้น พันธุ์ละ 10 ซ้ำ ในโรงเรือนทดลองช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2560 บันทึกปริมาณไรทุกวัย ตำแหน่งการดูดกิน และระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นทุก 3 วัน โดยแบ่งความเสียหายเป็น 5 ระดับ คือ L1 = ไม่มีการทำลาย, L2 = ใบด่าง ≤25%, L3 = ใบด่าง 50%, L4 = ใบด่าง 75% และ L5 = ใบด่าง 100% ผลการทดลองพบว่าไรแดงหม่อนดูดกินใต้ใบบริเวณเส้นใบก่อน และกระจายไปตามเนื้อใบ ไรวางไข่บริเวณโคนใบใกล้กับเส้นกลางใบมากที่สุด พฤติกรรมการกินและการวางไข่ไม่มีความแตกต่างกันในทุกพันธุ์ ระยอง 72 มีการเพิ่มปริมาณไรทุกระยะมากกว่าพันธุ์อื่นอย่างมีความแตกต่างกันทางสถิติ พบประชากรไรแดงหม่อนมากที่สุดในวันที่ 9 ของการทดลอง ในพันธุ์ระยอง 72, ห้วยบง 60 และ เกษตรศาสตร์ 50 คือ 124.63, 98.20 และ 57.25 ตัว ตามลำดับ พัฒนาการอาการใบด่างจาก L1-L3 ของ ห้วยบง60 มีระยะเวลาสั้นที่สุด คือ 4 วัน ส่วน เกษตรศาสตร์50 และ ระยอง72 ใช้เวลา 8 และ 5 วัน ทุกพันธุ์ใช้เวลาพัฒนาการอาการใบด่างจาก L3 เข้าสู่ L4 คือ 9 วัน พัฒนาการอาการใบด่างจาก L4 เข้าสู่ L5 ระยอง72 ใช้เวลาน้อยที่สุด คือ 22 วัน รองลงมาคือ ห้วยบง60 และ เกษรศาสตร์50 คือ 26 และ 34 วัน
Article Details
References
ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ และวัชลาวลี บุญมี. 2558. รูปแบบการแพร่กระจายของไรแมงมุมหม่อนในมันสำปะหลัง. โครงการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติ ในการควบคุมศัตรูพืชและศัตรูสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาว์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และ อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล. 2555. การควบคุมไรศัตรูมันสำปะหลังโดยชีววิธี. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2555 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2015. มันสำปะหลัง: แหล่งปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย. แหล่งที่มา URL http://www3.rdi.ku.ac.th/?p=18045 สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2560.
สุรวุฒิ สามหาดไทย. 2557. ผลของไซยาไนด์ต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากีฏวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Bellotti, A. C. 2002. Arthropod pests. Cassava: Biology, production and utilization. In: R.J. Hillocks, J.M. Thresh and A.C. Bellotti (eds.). CABI-PublishingMutisya, D.L., C.P.M. Khamala, E.M. El Banhawy, C.W. Kariuki, and D.W. Miano. 2014. Determination of damage threshold of cassava green mite (Acari : Tetranychidae ) on different cassava varieties. JPPS. 1: 79-86.
Mutisya, D.L., C.P.M. Khamala, E.M. El Banhawy and C.W. Kariuki. 2013. Cassava variety tolerance to spider mite attack in relation to leaf cyanide level. Journal of biology, agriculture and healthcare. 3: 24-31.
Nukenine, E.N., A.T. Hassan, and A.G.O. Dixon. 2000. Influence of variety on the within-plant distribution of cassava green spider mite (Acari: Tetranychidae), and leaf anatomical characteristics and chemical components in relation to varietal resistance. INT J PEST MANAGE. 46: 177-186.
Yaninek J.S., G.J. de Moraes., and R.H. Markham. 1989. In: Handbook on the cassava green mite, Monony chellus tanajoa in Africa: a guide to its biology and procedures for biological control. International Institute of Tropical Agriculture. Cotonou, Benin.