ผลของการปอกเปลือกร่วมกับการใช้กรดซิตริกต่อคุณภาพของแก่นตะวัน พันธุ์แก่นตะวัน #2 ระหว่างการเก็บรักษา

Main Article Content

เมวิกา ไชยฤทธิ์
สังคม เตชะวงค์เสถียร
รำไพ นามพิลา

บทคัดย่อ

แก่นตะวัน #2 เป็นแก่นตะวันสายพันธุ์หนึ่งจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวใหญ่ รสชาติดี แขนงน้อย เหมาะใช้รับประทานสด ซึ่งปัญหาหลักของแก่นตะวันคือเมื่อนำมาตัดแต่งหรือเก็บรักษาเป็นเวลานานผิวของแก่นตะวันจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้นงานวิจัยนี ้จึงมุ่งเน้นศึกษาการปอกเปลือกร่วมกับการใช้กรดซิตริกที่ความเข้มข้น 0 (Control), 0.5, 1 และ 2% เก็บรักษาภายใต้ถุงซิป LDPE (Low density polyethylene) ที่อุณหภูมิ 8±2 °C ความชื ้นสัมพัทธ์ 80±5% เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการศึกษาพบว่าการปอกเปลือกมีผลต่อค่าดัชนีการเกิดสีน้ำตาล เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ในน้ำ ปริมาณอินนูลิน และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ส่วนการใช้กรดซิตริกทุกความเข้มข้นมีผลเล็กน้อยต่อค่าคุณภาพของแก่นตะวัน โดยการใช้กรดซิตริกที่ 0.5% ร่วมกับการปอกเปลือกทำให้แก่นตะวันมีคุณภาพดีที่สุดที่อายุการเก็บรักษา 30 วัน เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำหนัก และดัชนีการเกิดสีน้ำตาลอยู่ในช่วงที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามไม่พบปฏิกิริยาสัมพันธ์ร่วมระหว่างการปอกเปลือกและการใช้กรดซิตริกต่อคุณภาพของแก่นตะวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2546. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จริงแท้ ศิริพานิช. 2549. ชีววิทยาหลังการเก็บเกี่ยวและการวายของพืช. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, นครปฐม.
ภาณุมาศ โคตรพงศ์ และการิตา จงเจือกลาง. 2558. ผลของถุงบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพโหระพาในระหว่างการเก็บรักษา. กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. มปป. เอกสารแนะนำแก่นตะวันพันธุ์ใหม่“แก่นตะวัน 50-4”. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลักขณา รุจนะไกรกานต์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2544. หลักการวิเคราะห์อาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 20-38 หน้า.
ราณี สุรกาญจน์กุล. 2547. คู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์อาหาร. คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพ.
สุวรรณี แสนทวีสุข, ดวงใจ จงตามกลาง, ทัศน์วรรณ สมจันทร์, และ ปิติพงษ์ โตบันลือภพ. 2555. ปริมาณสารฟีนอลิคทั้งหมด ความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูล อิสระ และความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสมุนไพรบางชนิด. แก่นเกษตร. 40(2): 480-483.
ศิริพร ตันจอ, ครรชิต จุดประสงค์, ชนัญฑิตา ไชยโต และสนั่น จอกลอย. 2555. อินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ในแก่นตะวันสายพันธุ์ต่างๆ. วิจัย มข. 11: 25-34
Chekroun, MB., J. Amzile, A . Mokhtari, E. hne, J. Prevost, and R. Fontanillas.1996. Comparison of fructose production by 37 cultivars of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L). New Zeal. J. Crop Hort. 24(1): 115-120.
Chandara, D., A.J. Choi, Y.P. Kim, and G. Kim. 2015. Physicochemical, Microbial and sensory quality of fresh-cut red beetroots in relation to sanitization method and storage duration. J. Food Sci. 27 – 2015.
Duan, X., X. Su, Y. You, H. Qu, Y. Li and Y. Jiang. 2007. Effect of nitric oxide on pericarp browning of harvested longan fruit in relationto phenolic metabolism. J. Food Chem 104: 571-576.
Hartmann, E., H. Schuldes, R. Kübler, and W. Konold. 1995. Neophyten. Biologie, Verbreitung und Kontrolle ausgewählter Arten. ecomed, Landsberg.Lisinska, G. and W. Leszczynski. 1989. Potato Science and Technology. Elsevier Science Publishing Co., Inc., New York. 349.
Palou,E., A. López-Malo, G. V. Barbosa-Cnovas, J. Welti-Chanes, and B. G. Swanson. 1999. Polyphenoloxidase Activity and Color of Blanched and High Hydrostatic Pressure Treated Banana Puree. J. Food Sci. 64: 42-45.
Saengthongpinit, W., and T. Sajjaanantakul. 2005. Influence of harvest time and storage temperature on Characteristics of inulin from Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) tubers. J. Post Biol and Tech. 37: 93-100.
Seangkanuk, A., S. Nuchadomrong, S. Jogloy, A. Patanothai., and S. Srijarannai. 2011. A simplifild spectrophotometric method for the determination of inulin in Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosusL.) Tubers. J.Food Res Technol. 233:609-616.
Siddiq, M., D.S. Sogi, and K.D. Dolan. 2013. Antioxidant properties, total phenolics, and quality of fresh- cut‘Tommy Atkins’ mangoes as affected by different pre-treatments. J. Food Sci and Technol. 53:156-162.
Singleton,V., L. Orthofer, R. Lamuela, and R.M. Raventos. 1999. Analysis of total phenols and other oxidation substrates andantioxidants by means of Folin Ciocalteu reagent. Method Enzymol.299:152-178.
Seljasen, R. and R. Slimestad. 2007. Fucto oligosaccharides and phenolics in flesh and peel of spring harvested Helianthus. J. Acta Hortic. 53:744.
Towviriyakul. A., S. Jitinandan , K. Judprasong and A. Nitithamyong. 2012. Formulation of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) Juice. Mae Fah Luang University International Conference.
Tsouvaltzis,P. and J.K.Brecht. 2015. Inihibition of enzymatic browning of fresh-cut potato by immersion in citric acid is not solely due to PH reduction of the solution. J. Food Process Preserv. 1745-4549.
Vamos, L. and L. Vigyazo. 1995. Prevention of browning in fruits and vegetables: a review of principles and practiceC.Y. Lee, J.R. Whitaker (Eds.), Enzymatic Browning and its Prevention, ACS Symposium Series 600, American Chemical Society. Washington. 49-62.
Van L.J., P. Coussement, L. DeLeenheer, H. Hoebregs, and G. Smits.1995. On the presence of inulin and oligofructose as natural ingredients in the Western diet. Food Sci Nutr. 35: 525-552.
Wang, Q., and M. Cantwell. 2014. Quality changes and respiration rates of fresh-cut Sunchoke tubers(Helianthus tuberosus L.). J. Food Process Preserv.1745-4549.
Oszmianski, J., J.C. Sapis and J.J. Macheix. 1985. Changes in grape seed phenols as affected by enzymic and chemical oxidation in vitro. J. Food Sci. 50: 1501.
RadhaIyengar, A., and J. M.Evily.1992. Anti-browning agents: alternatives to the use of sulfites in foods. J. Food Sci Tech.3: 60-64.