ผลของกากแป้งมันสำปะหลัง และโพแทสเซียมต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105

Main Article Content

ณัฐพร ตักเตือน
ศุภิฌา ธนะจิตต์
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
เอิบ เขียวรื่นรมณ์

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาผลของกากแป้งมันสำปะหลัง และโพแทสเซียมต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในชุดดินโคราช ในจังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ factorial in RCBD ปัจจัยแรกเป็นการใส่กากแป้งมันสำปะหลังได้แก่ 0, 0.5 และ1 ตัน/ไร่ และปัจจัยที่ 2 เป็นอัตราของปุ๋ ยโพแทสเซียมดังนี ้ 0, 0.25, 0.5, 0.75, 1 และ1.25 เท่าของอัตราแนะนำจากผลวิเคราะห์ดินมีค่าเท่ากับ 2.4 กก. K2O/ไร่ ผลการศึกษาพบว่า การใส่กากแป้งมันสำปะหลังเพื่อปรับปรุงดินช่วยลดความเป็นกรดของดินและเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะการใส่ในอัตรา 1 ตัน/ไร่ และส่งผลให้ข้าวมีความสูง จำนวนรวง และน้ำหนักตอซังสูงกว่าการไม่ใส่วัสดุปรับปรุงดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่ส่งผลชัดเจนต่อน้ำหนักเมล็ดข้าว ส่วนการใส่โพแทสเซียมเพียงอย่างเดียวในอัตราสูงสุดเท่ากับ 3.0 กก. K2O/ไร่ ทำให้ได้ผลผลิตเมล็ดข้าวที่ความชื้นร้อยละ 14 สูงสุดเท่ากับ 349 กก./ไร่ ซึ่งไม่แตกต่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ในอัตราที่ต่ำกว่า แต่สูงกว่าตำรับควบคุมที่ไม่มีการใส่โพแทสเซียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ให้ค่าเพียง 278 กก./ไร่ โพแทสเซียมจะส่งเสริมคุณภาพเชิงโภชนาการของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยเฉพาะการใส่ในอัตรา 2.4 กก. K2O /ไร่ และเมื่อใส่ร่วมกับกากแป้งมันสำปะหลังในอัตรา 1 ตัน/ไร่จะทำให้ความเข้มข้นของเหล็กในเมล็ดสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 13.1 มก./กก. การใส่ปุ๋ ยโพแทสเซียมไม่มีผลต่อปริมาณการดูดใช้โพแทสเซียมของข้าวแต่จะมีค่าสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในตอซังข้าวเมื่อใส่กากแป้งมันสำปะหลังอัตรา 1 ตัน/ไร่ ผลผลิตเมล็ดข้าวมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นกับความเข้มข้นของโพแทสเซียมในเมล็ดข้าว (r=0.51**) มากกว่าธาตุอาหารอื่นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการข้าว. 2554. ข้าวขาวดอกมะลิ 105.สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
มณีรัตน์ ม่วงศรี, จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข และ เอ็จสโรบล. 2551. ผลการใส่ฟางข้าวและแกลบร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่อผลผลิตข้าวที่ปลูกในชุดดินพิมาย. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ และ วราพันธุ์ จินตณวิชญ์. 2552. การใช้ประโยชน์เศษเหลือจากมันสำปะหลัง. ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2558. กระทรวงเกษตร และสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
อำนาจ สุวรรณฤทธิ์, สมชาย กรีฑาภิรมย์, สุภาพ บูรณากาญจน์, พรรณพิมล สุริยะพรหมชัย, วารุณี วารัญญานนท์, พัชรี โสธนาสมบูรณ์, ทรงศักดิ์ รัฐปัตย์, ทรงชัย วัฒนพายัพกุล, กรรณิกา นาลาง, สว่าง โรจนกุศล และ พิทักษ์ พรอุไรสนิท. 2540. ผลของปุ๋ยโพแทสเซียมต่อคุณภาพเมล็ดข้าวหอมขาวดอกมะลิ 105. ว. เกษตรศาสตร์ (วิทย์.)31: 175-191.
Allen, V.B. and D.J. Pilbeam. 2015. Handbook of Plant Nutrition, 2nd ed. CRC Press.
Bhamdari, A.L., Amin, R., Yadav, C.R., Bhattarai, E.M., Das, S. and H.P. Aggarwal. 2003. How extensive are yield declines in long-term rice-wheat experiment in Asia. Field Crop Research. 81, 159-180.
Brady N.C. and R.R. Weil. 2008. The Nature and Properties of Soils. 14 ed. Pearson-Prentice Hall, Upper Saddle River, NJ.
Buakhao, B., S. Thanachit and S. Anusontpornperm. 2012. Comparative efficiency of acacia leaf (Acacia ampliceps Maslin.) and soil amendments on sodic soil reclamation for growing jasmine rice in northeast Thailand. Proceeding of 38thCongress on Science and Technology of Thailand, 17-19 October 2012, The Empress Convention Centre, Chiang Mai, Thailand.
Cha-um, S., K. Supaibulwattana and C. Kirdmanee. 2009. Comparative effects of salt stress and extreme pH stress combined on Glycinebetaine accumulate, photosysnthetic and growth characters of two rice genotypes. Rice Sci. 16: 274-182.
Cha-um, S. and C. Kirdmanee. 2011. Remediation of salt-affected soil by the addition of organic matter an investigation into improving glutinous rice productivity. Sci. Agric. (Piracicaba, Braz.) 68: 406-410.
Fageria, N. K., 2015.Potassium Requirements of Lowland Rice, Communications in Soil Science and Plant Analysis, 46:12, 1459-1472, DOI: 10.1080/00103624.2015.1043444
Jackson, M.L. 1965. Soil Chemical Analysis-Advanced Course. Department of Soils, University of Wisconsin, USA.
Jedrum, S., S. Thanachit, S. Anusontpornperm and W. Wiriyakitnateekul. 2014. Soil Amendments Effect on Yield and Quality of Jasmine Rice Grown on Typic Natraqualfs, Northeast Thailand. Inter. J. Soil Sci. 9: 37-54.
Johnson, C.M. and A. Ulrich. 1959. Analytical methods for use in plant analysis. Calif. Agri. Exp. Stat. Bull. 767: 25-78.
Murphy, J. and J.P. Riley. 1962. A modified single solution method for determination of phosphate in natural waters. Anal. Chim. Acta. 27: 31-36.
National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0. Natural Conservation Service, USDA.
Seleque, M.A., M.K. Uddin, A.K.M. Ferdous, and M.H. Rashid. 2013. Potassium-constrained high yields in irrigated rice. J.Plant Nutri. 36: 1829-1840.
Westerman, R.L. 1990. Soil Testing and Plant Analysis. 3rd ed. Amer. Soil Sci. Soc. Amer., Madison, WI, USA.
Welch, R.M., and R.D. Graham. 2004. Breeding