ความหลากชนิดและการแพร่กระจายของปูที่จับได้จากโพงพางในทะเลสาบสงขลาตอนนอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายและการแพร่กระจายของปูบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก โดยทำการเก็บตัวอย่างบริเวณร่องน้ำที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลด้วยโพงพางทุก 3 เดือนครอบคลุมฤดูกาลเป็นระยะเวลา 1 ปี พบความหลากชนิดของปูจำนวน 27 ชนิด 12 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากหลายทางชนิด (Shannon index H’) และดัชนีความสม่ำเสมอ (Simpson’s evenness E) สูงที่สุดเท่ากับ 1.594 และ 0.0716 ตามลำดับ ปูที่พบชุกชุม คือ ปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) จำนวน 1,291 ตัว (ร้อยละ 56.2 ของจำนวนปูทั้งหมด) รองลงมา คือ ปูแป้น Varuna yui (Hwang & Takeda, 1984) จำนวน 370 ตัว (ร้อยละ 16.1) และปูกะตอย Charybdis affinis (Dana, 1852) จำนวน 367 ตัว (ร้อยละ 16) ปูเศรษฐกิจที่พบในทุกฤดูกาล คือ ปูม้า P. pelagicus โดยพบมากที่สุดในฤดูร้อน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการรายงานการพบปู 12 ชนิดซึ่งคาดว่าไม่เคยมีรายงานการพบในทะเลสาบสงขลาตอนนอก โดย 2 ชนิดเป็นปูที่มีรายงานการศึกษาในทะเลอันดามันแต่ไม่มีรายงานในอ่าวไทย คือ S. olivacea และ S. paramamosain และคาดว่าเป็นการรายงานครั้งแรกในประเทศไทย 4 ชนิด คือ Philyra sexangula, Parapanope euagora, Neorhynchoplax sp. และ Tritodynamia sp.
Article Details
References
กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ, ปัทมาภรณ์ หมาดนุ้ย, และศักดิ์อนันต์ ปลาทอง. 2552. พรรณไม้ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. สำนักพิมพ์ไอ ดีไซน์, กรุงเทพฯ.
จันทนา มาบุญธรรม. 2545. ความหลากหลายและปริมาณสัตว์น้ำที่จับด้วยลอบยืน บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ปัทมาภรณ์ หมาดนุ้ย, และศักดิ์อนันต์ ปลาทอง. 2552. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา, ไอดีไซน์, สงขลา.
พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์. 2550. Checklist ปูอันดามัน. แหล่งข้อมูล: http://chm-thai.onep.go.th/chm/meeting/2007/9mar2007/Doc/Checklist_Crabs080350.pdf. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2560.
พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์, กมลชนก วงศ์อิสรกุล, เพ็ญจันทร์ ละอองมณี, และณฐินี ศุกระมงคล. 2558. ประชาคมปูและการแพร่กระจายของปูบริเวณอ่าวไทย. น. 1386-1394. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั ้งที่ 53: สาขาพืช, สาขาสัตว์, สาขาสัตวแพทยศาสตร์, สาขาประมง, สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์ 3-6 กุมภาพันธ์ 2558. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ไพโรจน์ พรหมานนท์, สมชาติ สุขวงศ์, นริศ ธนะคุ้มชีพ, และไพโรจน์ สิริมนตาภรณ์. 2522. การสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำโดยใช้เครื่องมือโพงพางในทะเลสาบสงขลา ปี 2521-2522. เอกสารวิจัยหมายเลข 2/2522. สถานีประมงจังหวัดสงขลา, สงขลา.
ไพโรจน์ สิริมนตาภรณ์. 2533. ความชุกชุมและการแพร่กระจายของสัตว์น้ำบางชนิดในทะเลสาบสงขลาตอนนอก. เอกสารวิชาการฉบับที่ 14/2533. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, สงขลา.
เรืองฤทธิ์ พรหมดำ. 2557. อนุกรมวิธานของปูกระดุมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
วินัย ปราณสุข. 2552. กุ้ง กั๊ง ปู ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. หน้า 103-154. ใน: ปัทมาภรณ์ หมาดนุ้ย และศักดิ์อนันต์ ปลาทอง. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. ไอดีไซน์, สงขลา.
วิวัฒน์ สุทธิวิภากร และฉัตรไชย รัตนไชย. 2548. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. ห้างหุ้นส่วนนีโอ พ้อยท์, สงขลา.
ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง. 2550. คู่มือภาพจำแนกชนิดพืชและสัตว์น้ำที่สำคัญในทะเลสาบสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง. มารีนอีโคเสิร์ช แมเนจเมนท์, สงขลา.
สถาบันทรัพยากรน้ำและการเกษตร. 2556. สภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. แหล่งข้อมูล: http://www.haii.or.th/wiki/index.php/ ค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2559.
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา. 2559. การประเมินผลผลิตสัตว์น้ำรายปี. แหล่งข้อมูล: http://sklonline.com/download/FL_2016/fl_total_2016_new.jpg. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560.
สุภาพร องสารา. 2551. ทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือไซนั่งในทะเลสาบสงขลาตอนนอก. เอกสารวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 16: 1-21.
สุรินทร์ มัจฉาชีพ. 2516. ปูแสมในอ่าวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เสาวภา อังสุภานิช. 2555. ระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
องค์การสะพานปลา. 2560. สถิติการประมง ปี พ.ศ. 2553. แหล่งข้อมูล: http://www.fishmarket.co.th/index.php/2015-09-29-03-11-01/212-2553. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2560.
Chavanich, S., L.T. Tan, B. Vallejo, and V. Viyakarn. 2010. Report on the Current Status of Marine Non-indigenous Species in the Western Pacific Region. Intergovernmental Oceanographic Commission Sub-Commission for the Western Pacific (IOC/WESTPAC), Bangkok.
Dai, A.Y., and S.L. Yang. 1991. Crabs of the China Seas. 2nd Edition. China Ocean Press, Beijing.
Naiyanter, P. 2007. Checklist of Crustacean Fauna in Thailand (Decapoda, Stomatopoda, Anostraca, Myodocopa and Isopoda). 2nd Edition. Office of Natural Resources and Environmrntal Policy and Planning, Bangkok.
Ng, P.K.L. 1998. Crabs. P.1045-1155. In: K.E. Carpenter and V.H. Niem. FAO Species Identification Guide for Fishery Purposes.The Living Marine Resources of the Western Central Pacific. Volume 2. Cephalopods, Crustaceans, Holothurians and Sharks. FAO, ROME.
Ng, P.K.L., D. Guinot, and P.J.F. Davie. 2008. Systema brachyurorum: part I. an annotated checklist of extant brachyuran crabs of the world. Raff. Bull. Zool., 17: 1-286.
Potter, I.C., P.J. Chrystal, and N.R. Loneragan. 1983. The biology of the blue swimming crab Portunus pelagicus in an Australian estuary. Mar. Biol. 78: 75-85.
Romano, N., and C. Zeng. 2006. The effects of salinity on the survival, growth and haemolymph osmolality of early juvenile blue swimming crabs, Portunus pelagicus. Aquaculture. 260: 151-162.
Wisespongpand, P. 2011. Guideline to Identification of Deep-Sea Crabs. Southeast Asian Fisheries Development Center, Samutprakan.