การประเมินผลผลิตและชีวมวลในสบู่ดำลูกผสมภายในชนิดและ ลูกผสมข้ามชนิด

Main Article Content

อนุรักษ์ อรัญญนาค
พัชรินทร์ ตัญญะ
พรศิริ เลี้ยงสกุล
พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์

บทคัดย่อ

สบู่ดำเป็นพืชที่ได้รับความสนใจอย่างมากในการนำมาใช้ผลิตพลังงาน แต่ยังขาดพันธุ์ปลูกที่มีศักยภาพด้านผลผลิต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมต่อลักษณะผลผลิตและชีวมวล ศึกษาอิทธิพลของการตัดฟันต้นต่อผลผลิตและชีวมวล และหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับชีวมวลในสบู่ดำลูกผสมภายในชนิดและสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด โดยปลูกทดสอบสบู่ดำลูกผสมภายในชนิด 13 สายพันธุ์ และสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด 19 สายพันธุ์ ในสภาพไร่เป็นเวลา 2 ปี เก็บข้อมูลน้ำหนักผลแห้ง น้ำหนักเมล็ดแห้ง เปอร์เซ็นต์กะเทาะ และน้ำหนักชีวมวล พบว่า พันธุกรรมและสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อผลผลิตและชีวมวลในสบู่ดำลูกผสมทั้งสองชนิด และพบปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมในสบู่ดำลูกผสมภายในชนิดมากกว่าสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด การคัดเลือกสายพันธุ์พบว่า สบู่ดำลูกผสมภายในชนิดมีศักยภาพสูงด้านผลผลิต แต่สบู่ดำลูกผสมข้ามชนิดมีศักยภาพสูงด้านชีวมวล การตัดฟันทำให้ผลผลิตและชีวมวลของสบู่ดำลูกผสมทั้งสองชนิดเพิ่มขึ้น แต่สบู่ดำลูกผสมภายในชนิดมีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงกว่าสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด พบความสัมพันธ์สูงในเชิงบวกระหว่างน้ำหนักชีวมวลกับน้ำหนักผลแห้งและน้ำหนักเมล็ดแห้งทั้งในสบู่ดำลูกผสมภายในชนิด (r = 0.84** และ 0.88**) และสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิด (r = 0.63** และ 0.64**) แสดงให้เห็นว่า สามารถคัดเลือกสายพันธุ์สบู่ดำลูกผสมที่ให้ผลผลิตและชีวมวลสูงไปพร้อมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์, เกษม หฤทัยธนาสันติ์, เอกพงษ์ ธนะวัติ, ศักดา พรมเลิศ และเอกชัย บ่ายแสงจันทร์. 2553. ศักยภาพของกระถินยักษ์ ยูคาลิปตัส กระถินเทพา และกระถินเทพณรงค์ในการปลูกเป็นสวนป่าพืชพลังงาน. น. 579-586. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48.วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553. กรุงเทพมหานคร.
Behera, SK., P. Srivastava, R. Tripathi, J.P. Singh, and N. Singh. 2010. Evaluation of plant performance of Jatropha curcas L. under different agro-practices for optimizing biomass – A case study. Biomass and Bioenergy 34: 30–-41.
Cai, Y., D. Sun, W. Guojiang, and J. Peng. 2010. ISSR-based genetic diversity of Jatropha curcas germplasm in China. Biomass and Bioenergy. 34: 1739–1750.
Chotchutima, S., K. Kangvansaichol, S. Tudsri, and P. Sripichitt. 2013. Effect of Spacing on Growth, biomass yield and quality of Leucaena (Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit.) for Renewable Energy in Thailand. Journal of Sustainable Bioenergy System. 3: 48–56.
Muakrong, N., K. Thida One, P. Tanya, and P. Srinives. 2014. Interspecific jatropha hybrid as a new promising source of woody biomass. Plant Genetic Resources: Characterization and Utilization. 12: 17 – 20.
Samsam, C.I. 2013. Pruning Techniques for Jatropha curcas L. to Increase Seed Yield Production. MMSU Science and Technology Journal. 3: 59-68.
Santos, A.N.O., M.V. Folegatti, B.P. Lena, J.V. José, E.D.F. Júnior, J.P. Francisco, I.P.S. Andrade, and R.A. Sermarini. 2016. Irrigation history and pruning effect on growth and yield of jatropha on a plantation in southeastern Brazil. African Journal of Agricultural Research. 11: 5080-5091.
Santoso, B.B., I.G.M.A. Parwata, S. Susanto, and B.S. Purwoko. 2016. Yield performance of Jatropha curcas L. After pruning during five years production cycles in North Lombok dry land, Indonesia. Global Advanced Research Journal of Agricultural Science. 5: 103-109.
Senger, E., M. Martin, E. Dongmeza, and J.M Montes. 2016. Genetic variation and genotype by environment interaction in Jatropha curcas L. germplasm evaluated in different environments of Cameroon. Biomass and Bioenergy. 91: 10-16.
Sunil, N., M. Sujatha, V. Kumar, M. Vanaja, S.D. Basha, and K.S. Varaprasad. 2011. Correlating the phenotypic and molecular diversity in Jatropha curcas L. Biomass and bioenergy. 35: 1085-1096.
Tanya, P., P. Taeprayoon, Y. Hadkam, and P. Srinives. 2011. Genetic diversity among Jatropha and Jatropha-Related Species Based on ISSR Markers. Plant Molecular Biology Reporter. 29: 252–264.
Tar, M.M., N. Nyi, P. Tanya, and P. Srinives. 2011. Genotype by environment interaction of Jatropha (Jatropha curcasL.) Grown from Seedlings vs Cuttings. Thai Journal of Agricultural Science. 44: 71-79.
Thida One, K., P. Tanya, N. Muakrong, K. Laosatit, and P. Srinives. 2014. Phenotypic and genotypic variability of F2 plants derived from Jatropha curcas x integerrima hybrid. Biomass and bioenergy. 67: 137-144.
Tjeuw, J., M. Slingerland, and K. Giller. 2015. Relationships among Jatropha curcasseed yield and vegetative plant components under different management and cropping systems in Indonesia. Biomass and bioenergy. 80: 128-139.