การวัดการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหญ้าทะเล Enhalus acoroides Linn. ด้วยรังสีอินฟราเรดในระบบปิด

Main Article Content

สุมิตร คุณเจตน์
ปัทมา ศรีน้ำเงิน
เจษฎา ภัทรเลอพงษ์
เบญจมาศ ไพบูล์กิจกุล
สนธิชัย จันทรเปรม

บทคัดย่อ

การศึกษาการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหญ้าทะเล Enhalus acoroides Linn โดยวิธีการวัดการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบปิด ตู้วัด (chamber) ทำจากตู้กระจกใสขนาด 29 x 39 x 40 ซม. ซึ่งฝาปิดด้านบนทำด้วยแผ่นพลาสติก PE ใสหนา 1.2 μm ความเข้มข้นของ CO2 ในอากาศ ตรวจวัดด้วยเครื่องวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศด้วยรังสีอินฟราเรด รุ่น LI-820 (LI-COR, Inc) โดยการต่อสายสุ่มอากาศจากตู้มายังเครื่องวัดและหมุนเวียนอากาศที่ผ่านการวัดแล้วกลับไปยังตู้อีกครั้งหลังจากตรวจวัด ภายในตู้วัดบรรจุน้ำทะเลที่มีความเค็ม 30 พีพีที และมีความลึก 15 ซม. ทดสอบการวัดทุก ๆ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 8:00 – 17:00 น. พร้อมการเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม ได้แก่ ความเข้มแสง อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ อุณหภูมิและความเป็นกรด-เบส (pH) ของน้ำ คำนวณอัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ตามวิธีการซึ่งดัดแปลงจาก Silva et al. (2008) พบว่า อัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหญ้าทะเลมีการเปลี่ยนแปลงในรอบวันสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของความเข้มแสง โดยในช่วงเช้ามีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าต่ำและเพิ่มขึ้นจนมีค่าสูงที่สุดในเวลา 13.00 น. หลังจากนั้นมีค่าลดลงในช่วงบ่าย การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหญ้าทะเล มีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.3 μmol CO2 m-2s-1 ค่าความเป็นกรด-เบสของน้ำทะเลที่ไม่มีหญ้าทะเลคงที่ 6.6 ตลอดการดลอง ขณะที่ค่าความเป็นกรด-เบสของน้ำทะเลที่มีหญ้าทะเลมีค่า 5.8 ในช่วงเข้าและค่าความเป็นกรด-เบสเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีค่าสูงสุด 7.5 เมื่อเวลา 17.00 น.

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เจษฎา ภัทรเลอพงศ์, ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางค์กูร, พูนพิภพ เกษมทรัพย์, ดวงรัตน์ ศตคุณ, เชฏส์ สาธรกิจ, อรอุมา ด้วงงาม, และดอกแก้ว จุระ. 2559. อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงในรอบวันของเรือนพุ่มทุเรียนพันธุ์หมอนทอง. เกษตรพระจอมเกล้า. 33 (ฉบับพิเศษ1): 265-273.
ปิยะพงษ์ โชติพันธุ์ และ ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน. 2542. การสังเคราะห์แสงและผลผลิตขั้นปฐมภูมิของหญ้าทะเล (Enhalus acoroides Linn.). หนังสือรวบรวมบทคัดย่อและผลงานวิจัยของคณาจารย์ในสถาบีนอุดมศึกษาปี 2540-2542. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ.
วิโรจน์ อรุณมานะกุล. 2560. สถิติและการใช้โปรแกรม R. ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. แหล่งข้อมูล: http: // cran.r-project.org. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561.
สมบัติ ภู่วชิรานนท์, กาญจนา อดุลยนุโกศล, ภูธร แซ่หลิม, อดิศร เจริญวัฒนาพร, ชัยมงคล แย้มอรุณพัฒนา, และ จันทร์เพ็ญ วุฒิวรวงศ์. 2549. หญ้าทะเลในน่านน้ำไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Abril, G. 2009. Comments on: Underwater measurements of carbon dioxide evolution in marine plant communities: Anew method by J. Silva and R. Santos [Estuarine, Coastal and Shelf Science 78(2008): 827-830]. Estuarine, Coastal and Shelf Sci. 82: 357-360.
Anacha, P. 2012. Seagrass bed as a carbon sink in Ranong Biophere Reserve and Trang-Haad Chao Mai Marine Nation Park; an important role of seagrass. http;//www.unesco.org/. Accessed 15 Jul. 2018.
Edward, B.B., S.D. Hacker, C. Kennedy, E.W. Koch, A.C. Stier, and B.R. Siliman. 2011. The value of estuarine and coastal ecosystem services. Ecolo. Monographs. 81(2): 169-193.
Macreadie, P.I., M.E. Baird, S.M. Trevathan-Tackett, A.W.D. Larkum, and P.J. Ralph. 2014. Quantifying and modelling the carbon sequestration capacity of seagrass meadow – A critical assessment. Marine Poll. Bulletin. 83: 430-439.
Park, S.R., S. Kim, Y.K. Kim, C.K. Kang, and K.S. Lee. 2016. Photoacclimatory responses of Zoster marina L. in the intertidal and subtidal zones. Plos. One. 11: 123-132.
Pedersen, O. T.D. Collmer, and S.J. Kai. 2013. Underwater photosynthesis of submerged plants-recent advances and methods. Plant Sci. 4: 1-19.
Richard, A.F., C.L. Sabine, and V.J. Fabry. 2006. Carbon dioxide and our ocean legacy. https://www.pmel.noaa.gov/pubs/PDF/feel2899/feel2899.pdf. Accessed 15 Jan. 2018.Silva, J., P. Feijoo, and R. Santos. 2008. Underwater measurements of carbondioxide evolution in marine plant communities: A new method. Estuarine, Coastal and Shelf Sci. 78: 827-830.
Silva, J., Y. Sharon, R. Santos, and S. Beer. 2009. Measuring seagrass photosynthesis: methods and applications. Aquat. Biol. 7: 127-141.
Yang, X.Q., Q.S. Zhang, D. Zhang, and Z.T. Sheng. 2017. Light intensity dependent photosynthetic electron transport in Zoster marina L. Plant Physiol. And Biol. 113: 168-176.
Waycott, M., C.M. Duarte, T.J.B. Carruthers, R.J. Orth, W.C. Dennison, S. Olyarnik, A. Calladine, J.W. Fourqurean, K.L. Heck, A.R. Hughes, G.A. Kendrick, W.J. Kenworthy, F.T. Short, and S.L. Williams. 2009. Accelerating loss of seagrasses across the globe threatens coastal ecosystem. Proc. Natl. Acad. Sci. 106(30): 12377-12381.