การวิเคราะห์พื้นที่ และระบบการผลิตข้าวไร่ที่สัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน ของชุมชนห้วยลอย จังหวัดน่าน

Main Article Content

ประภากร วงศ์ษา
สายบัว เข็มเพ็ชร
ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา

บทคัดย่อ

ชุมชนบ้านห้วยลอย ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน แต่เดิมมีวิถีการดำรงชีวิตที่พึ่งพาตนเอง โดยปลูกข้าวไร่เป็นพืชอาหารหลัก ปัจจุบันเกษตรกรบางรายทำการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ปลูกข้าวไร่ ด้วยสาเหตุดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารด้านข้าว การศึกษาครั้งนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินพื้นที่ปลูกข้าวไร่รวมถึงการปรียบเทียบศักยภาพการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวไร่ที่ปลูกในพื้นที่ลาดชันของบ้านห้วยลอย และวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารโดยเฉพาะข้าว ที่เป็นพืชอาหารหลักระดับครัวเรือนของชุมชนบ้านห้วยลอย งานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ปลูกข้าวไร่บ้านห้วยลอย โดยใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (remote sensing) และการเปรียบเทียบการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองของบ้านห้วยลอย วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ผลการวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวไร่บ้านห้วยลอยแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ปลูกอยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลในช่วง 500-820 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนใหญ่มีความลาดชันอยู่ในช่วง 20.1 – 45 % และพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1A การวิเคราะห์ผลผลิตของข้าวไร่บ้านห้วยลอยทั้ง 5 พันธุ์ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 241.61 กก./ไร่และจากการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน พบว่าบ้านห้วยลอยเป็นหมู่บ้านที่มีความมั่นคงทางอาหารทางด้านข้าว ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วแต่ละครัวเรือนจะเหลือข้าวสารหลังจากบริโภคเท่ากับ 168.60 กก./ครัวเรือน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2541. การจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน. http://www.ldd.go.th. ค้นเมื่อ 17 กรกฏาคม 2559.
เกษม จันทร์แก้ว. 2539. หลักการจัดการลุ่มน้ำ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาอนุรักษวิทยา. กรุงเทพฯ.
เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน. 2558. การศึกษารายได้เกษตรกรจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และวงจรอุบาทว์ของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ 22(1):51-78
นวลละออง อรรถรังสรรค์. 2558. กระบวนการสร้างเสริมการบริหารจัดการธนาคารข้าว และการลดต้นทุนในการผลิตข้าว กรณีศึกษา: บ้านหินปูน ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 7:16-33.
เบญจพรรณ เอกะสิงห์, จิรวรรณ กิจชัยเจริญ, ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์, เทวินทร์ แก้วเมืองมูล, พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์, พรสิริ สืบพงษ์สังข์, รจเร นพคุณวงษ์, และสิทธิชัย ลอดแก้ว. 2557. ทางเลือกระบบพืชสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนในจังหวัดน่าน. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
บุญสวน พรหมวงสา. 2555. ผลของจำนวนต้นกล้าที่ปักดำต่อหลุมต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตข้าวพันธุ์โพนงาม 3 ฤดูนาปี ในภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
พิชัย สุรพรไพบูลย์, พิกุล สุรพรไพบูลย์, สุนทร มีพอ, และสริตา ปิ่นมณี. 2558. การทดสอบผลผลิตพันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงสะเนียน จังหวัดน่าน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23(6)(พิเศษ):933-938.
วราภรณ์ คำบุญเรือง. 2529. การปลูกข้าวไร่. เอกสารประกอบการบรรยายการฝึกอบรมเกษตรกรชั้นนำ โครงการข้าวไร่ที่สูง. น. 24-30. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร.
วสันต์ จารุชัย, ธีระวัช สุวรรณนวล, และจิรวัฒน์ สนิทชน. 2552. ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย. แก่นเกษตร 32 (พิเศษ):93-98
วีรยุทธ สีหานู และจิรวัฒน์ สนิทชน. 2554. การประเมินผลผลิตของเชื้อพันธุกรรมข้าวไร่ที่ทดสอบในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42(2)(พิเศษ):137–140.
สมพร อิศวิลานนท์. 2538. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และแนวโน้มการบริโภคข้าวของครัวเรือนไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2(1):7-23.
สายบัว เข็มเพ็ชร และสำรวย ผัดผล. 2558. การพัฒนาฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการจัดทำแผนชุมชนสำหรับการอนุรักษ์และฟื ้นฟูทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดน่าน. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). สุพจน์ ดีอิ่นคำ. 2559. การพัฒนารูปแบบระบบเกษตรยั่งยืนบนพื้นที่สูงเพื่อการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำน่าน กรณีศึกษา บ้านห้วยลอย ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สุภา ใยเมือง และเกียรติศักดิ์ ยั่งยืน. 2554. ตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2550. สถิติสินค้าเกษตรกรรมไทยกับต่างประเทศ ปี 2549. เอกสารสถิติเกษตร เลขที่ 402.
แหลมไทย อาษานอก, ดอกรัก มารอด และอัมพร ปานมงคล. 2555. การฟื้นฟูป่าดิบเขาในประเทศไทย: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย. รายงานฉบับสมบูรณ์. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. Burrough, P.A. and R. A. McDonell. 1998. Principles of Geographical Information Systems. Oxford University Press. New York.
Chintan, P.D., J. Rahul, and S. S. Srivastava. 2015. A Survey on Geometric Correction of Satellite Imagery. International Journal of Computer Applications. Volume 116:24-27.
Food and Agricuture Organization of The United Nations. 2006. Guidelines for soil description. Publishing Management Service. FAO. Rome.
Food and Agricuture Organization of The United Nations. 2008. World food and agriculture in review. The state of food and agriculture. FAO. Rome.
Kliegr, T., K. Chandramoul, J. Nemrava, V. Svatek, and E. Izquierdo. 2008. Combining image captions and visual analysis for image concept classification. Proceedings of the 9th International Workshop on Multimedia Data Mining: held in conjunction with the ACM SIGKDD 2008:8-17.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication. Yoshida, S. 1981. Fundamentals of Rice Crop Science, Int. Rice Research Institute, Los Banos, Philippines.