อิทธิพลของอัตราท่อนพันธุ์ที่มีผลต่อความเข้มแสงภายในทรงพุ่มองค์ประกอบผลผลิตและคุณภาพอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัตราท่อนพันธุ์ที่มีผลต่อความเข้มแสง องค์ประกอบและคุณภาพของผลผลิตอ้อย วางแผนทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์์ 9 ซ้ำ 3 ตำรับทดลอง ได้แก่ การใช้ท่อนพันธุ์อัตรา 5, 10 และ 15 ท่อนต่อความยาวร่อง 1 เมตร พบว่าการใช้ท่อนพันธุ์ 5 ท่อน/เมตร ให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 27.5 ตัน/ไร่ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ท่อนพันธุ์ 10 ท่อน/เมตร ซึ่งมีผลผลิตเท่ากับ 24.9 ตัน/ไร่ แต่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ท่อนพันธุ์ 15 ท่อน/เมตร ซึ่งมีผลผลิตเท่ากับ 23.9 ตัน/ไร่ การใช้อัตราท่อนพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นไม่มีอิทธิพลต่อจำนวนลำ/ไร่ และคุณภาพอ้อย เมื่ออ้อยมีอายุ 114-254 วัน พบว่าการใช้ท่อนพันธุ์ 5 ท่อน/เมตร มีความเข้มแสงภายในทรงพุ่มเฉลี่ยรายวันที่ระดับความสูง 200 และ 75 เซนติเมตร เท่ากับ 16.65 และ 16.33 MJ/m2/day ส่วนการใช้ท่อนพันธุ์ 15 ท่อน/เมตร มีความเข้มแสงภายในทรงพุ่มเฉลี่ยรายวันที่ต่ำกว่า คือ ที่ระดับความสูง 200 และ 75 เซนติเมตร จากผิวดินเท่ากับ 15.26 และ 14.63 MJ/m2/day การใช้ท่อนพันธุ์ 15 ท่อน/เมตร มีเปอร์เซ็นต์การบังแสงโดยทรงพุ่มเฉลี่ยรายวันเมื่ออ้อยมีอายุ 114-254 วัน เท่ากับ 27.38% ซึ่งสูงกว่าการใช้ท่อนพันธุ์ 5 ท่อน/เมตร ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การบังแสงโดยทรงพุ่มเฉลี่ยรายวันเมื่ออ้อยมีอายุ 115-254 วัน เท่ากับ 19.03% การใช้ท่อนพันธุ์ 5 ท่อน/เมตร มีศักยภาพของแสงที่มีเพื่อการดูดซับต่อลำอ้อยเมื่ออ้อยอยู่ในระยะงอก ระยะแตกกอ ช่วงแรกและช่วงกลางของระยะย่างปล้อง เท่ากับ 3.30, 2.45, 2.11 และ 2.28 MJ/trunk ซึ่งสูงกว่าการใช้ท่อนพันธุ์ 15 ท่อน/เมตร ซึ่งมีศักยภาพของแสงที่มีเพื่อการดูดซับต่อลำอ้อยเมื่ออ้อยอยู่ในระยะงอก ระยะแตกกอ ช่วงแรกและช่วงกลางของระยะย่างปล้อง เท่ากับ 2.28, 1.91, 1.68 และ 1.98 MJ/trunk ส่วนช่วงปลายของระยะย่างปล้องพบว่าการใช้ท่อนพันธุ์ที่แตกต่างกันไม่มีอิทธิพลทำให้ศักยภาพของแสงที่มีเพื่อการดูดซับต่อลำอ้อยแตกต่างกันทางสถิติ การใช้อัตราท่อนพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ดั้งนั้นในงานทดลองนี้ การใช้อัตราท่อนพันธุ์ 5 ท่อน/เมตร จึงเป็นอัตราที่เหมาะสมซึ่งทำให้ลดปริมาณท่อนพันธุ์ในการปลูกและทำให้ลดต้นทุนในการผลิตได้
Article Details
References
ปรัชญา นาสุริยวงศ์. 2540. การตอบสนองของอ้อยต่อความหนาแน่นโดยใช้การทดลองรูปพัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศุภฤกษ์ กลิ่นหวล. 2547. อิทธิพลของระยะแถวปลูกและอัตราปุ๋ยที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยทั้งข้ามแล้งและต้นฝน ในกลุ่มดินเนื้อหยาบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาลัยวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. 2555. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปีการเพาะปลูก 2557/25558. สำนักงานเศรษฐกิจ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล. 2554. การใส่ปุ๋ยให้แก่อ้อยตามผลการวิเคราะห์ดิน ณ เดือน มกราคม พ.ศ. 2556. แหล่งข้อมูล: http://web.ocsb.go.th/KM/fileup-load/area431.pdf. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2558.
อนุชา เหลาเคน, นิพนธ์ ภาชนะวรรณ, สุชาติ คำอ่อน, ทักษิณา ศันสยะวิชัย และจักพรรค์ วุ้นสีแซง. 2557. การทดสอบ การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน จังหวัดมหาสารคาม. แก่นเกษตร. 42: 130-141.
Albert, J. 2003. Planting Rate Effects on Sugarcane Yield Trials. Master of Science Thesis In Agronomy, Louisiana State University and Agricultural and Mechanical College, USA.
Dongsheng, Z., L. Zhang, J. Liu, and L. Li. 2014. Plant density affects light interception and yield in cotton grown as companion crop in young jujube plantations. Field Crop Research. 169: 132-139. Ehsanullah, K., Jabran, M., Jamil, and A. Ghafar. 2011. Optimizing the row spacing and seeding density to improve yield and quality of sugarcane. Crop and Environment. 2(1): 1-5.
Ellsworth, D.S., and P.B. Reich. 1993. Canopy structure and vertical patterns of photosynthesis and relate leaf traits in a deciduous forest, Oecologia.
Mahboob, A., M. Saeed, S.K., Tanveer, and A. Iqbal. 2000. Respound of Fourth Ratooning of Sugarcane Different Patterns of Plantation and Seeding Densities. Pakistan Journal of Biological Sciences. 3(10): 1574-1576.
Natafim. 2013. Climate. Available: http://www.sugarcan-ecrops.com/climate/. Accessed Oct. 18, 2015.
Singh, G., S.C. Chapman, and P.A. Jackson. 1999. Yield Accumulation Sugarcane under Wet Tropical Conditions Effect of Lodging and Crop Age. Australian Journal of Agricultural Research. 21: 241-245.
Tao, L., L.N. Liu, C.D. jiang, and L. Shi. 2014. Effect of mutual shading on the regular of photosynthesis in field-grown sorghum. Photochemistry and Photobiology. 137: 31-38.