การเสริมโปรไบโอติกและอีเอ็มในอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลาหมอไทยที่เลี้ยงในกระชัง

Main Article Content

กีรวิชญ์ เพชรจุล
ทัศพร เครือศรี

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของการใช้สารเสริมโปรไบโอติกและอีเอ็มต่ออัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาหมอไทยที่เลี้ยงในกระชัง แบ่งเป็น 3 กลุ่มการทดลอง และให้อาหารตามสูตร การทดลองดังต่อไปนี้ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารส�าเร็จรูปโปรตีน 32% (ชุดควบคุม) ชุดการทดลองที่ 2 อาหารส�าเร็จรูปโปรตีน 32% ผสมสารเสริมโปรไบโอติก 0.75% และชุดการทดลองที่ 3 อาหารส�าเร็จรูปโปรตีน 32% ผสมสารเสริมอีเอ็ม 0.10% โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) จ�านวน 3 ซ�้า ท�าการเลี้ยงปลาหมอไทยที่มีน�้าหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.29 กรัม ในกระชังขนาด 5 x 5 x 1.5 ม. จ�านวน 750 ตัวต่อกระชัง ใช้เวลาในการเลี้ยง 90 วัน ท�าการเก็บข้อมูลทุก 15 วัน ผลการทดลองพบว่า น�้าหนักเพิ่มเฉลี่ย ความยาวเพิ่มเฉลี่ย และน�้าหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นต่อวันไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ส่วนอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อและอัตราการรอดตายมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดยเมื่อสิ้นสุดการทดลองปลาหมอไทยที่ได้รับสารเสริมโปรไบโอติกมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ อัตราการรอดตายดีที่สุด จากผลการทดลองสรุปได้ว่า อาหารส�าเร็จรูปโปรตีน 32% ผสมสารเสริมโปรไบโอติก มีผลต่ออัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อและอัตราการรอดตาย แต่ไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลาหมอไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

คุณาดล ศิลาฤดี. 2550. การศึกษาปริมาณโปรไบโอติกแบคทีเรีย Lactobacillus plantarum CR1T5 ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลากดเหลือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประมง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 64 หน้า.
จอมสุดา ดวงวงษา. 2555. การแปลงเพศปลาหมอไทยด้วยเอสโตรเจนชนิดธรรมชาติให้ได้เพศเมียล้วน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่. 32 หน้า.
ชนกันต์ จิตมนัส. 2556. การวินิจฉัยโรคและแนวทางในการป้องกันแก้ไขโรคในลูกปลานิล. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่. 64 หน้า.รัตนสุดา ไชยเชษฐ์. 2554. การใช้อีเอ็มเป็นโปรไบโอติกในอาหารปลาโมง. วารสารวิจัย มข. 16: 136-144.
วรรณพร ฮุ้ยสกุล. 2550. ผลของโปรไบโอติก (Lactobacillusspp.) ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สิริพร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. 2552. เทคโนโลยีการประมง. วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน. 22(469): 101-105.
EL-Haroun E.R., A.M. A-S Goda, and M.A.Kabir. Chowdhury. 2006. Effect of dietary probiotic biogen supplemen-tation as a growth promoter on growth performance and feed utilization of Nile tilapia Oreochromis niloticus (L.). Aquaculture Research. 37: 1473-1480.
Guarner, F. and G. J.Schaafsma.1998.Probiotics. Inter-national Journal of Food Microbiology. 39: 237-238.
Panigrahi, A., V. Kiron., J. Paungkaew., T. Kobayashi., S. Satoh, and H. Sugita. 2005. The viability of probiotic bacteria as a factor influencing the immune response in rainbow trout Oncorhynchus mykiss. Aquaculture. 243: 241-254.
Villamil, L., A. Figueras., M. Planas, and B. Novoa. 2003. Control of vibrio alginolyticus in artemia culture by treatment with bacterial probiotics. Aquaculture. 219: 43-56.