ผลของสารกำจัดวัชพืชเมื่อใช้ร่วมกับน้ำส้มควันไม้ต่อการควบคุมวัชพืชและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาหว่านข้าวแห้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การใช้สารกำจัดวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมาก ปัจจุบันมุ่งเน้นการผลิตข้าวให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคการใช้น้ำส้มควันไม้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอาจจะช่วยลดปริมาณการใช้สาร ส่งเสริมให้การผลิตข้าวมีความปลอดภัยมากขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชในอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ ร่วมกับน้ำส้มควันไม้ต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช และผลผลิตข้าวในสภาพนาหว่านข้าวแห้ง ดำเนินการวิจัยที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชร่วมกับน้ำส้มควันไม้ มีวิธีการกำจัดวัชพืช 11 กรรมวิธี คือกรรมวิธีการใช้สาร 1) oxadiazon อัตรา 120 กรัม(ai)/ไร่ (อัตราแนะนำ), 2) oxadiazon อัตรา 60 กรัม(ai)/ไร่, 3) oxadiazon อัตรา 60 กรัม(ai)/ไร่+ น้ำส้มควันไม้ (1 มล./น้ำ 500 มล.), 4) oxyfluorfen อัตรา 28.2 กรัม(ai)/ไร่ (อัตราแนะนำ), 5) oxyfluorfen อัตรา 14.1 กรัม(ai)/ไร่, 6) oxyfluorfen อัตรา 14.1 กรัม(ai)/ไร่+น้ำส้มควันไม้, 7) butachlor+propanil อัตรา 87.5 กรัม(ai)/ไร่(อัตราแนะนำ), 8) butachlor+propanil อัตรา 43.8 กรัม(ai)/ไร่, 9) butachlor+propanil อัตรา 43.8 กรัม(ai)/ไร่+น้ำส้มควันไม้ 10) กำจัดวัชพืชด้วยมือ และ 11) ไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลอง พบว่า น้ำส้มควันไม้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืช ให้กับสาร oxadiazon อัตรา 60 กรัม(ai)/ไร่ หรือที่ความเข้มข้นครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และยังเพิ่มผลผลิตข้าวจาก 358 เป็น 798 กก./ไร่ งานทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้น้ำส้มควันไม้สามารถช่วยลดอัตราการใช้ oxadiazon ได้ครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ
Article Details
References
ครรชิต พุทธโกษา. 2554. กรอบประเด็นการวิจัยของประเทศไทยให้พร้อมรับสถานการณ์การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
จิระพงษ์ คูหากาญจน์. 2553. การผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์เกษตรธรรมชาติ กรุงเทพฯ.
ทศพล พรพรหม. 2545. สารกำจัดวัชพืช: หลักการและกลไกการทำลาย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปัญญา ร่มเย็น. 2548. การจัดการวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง. เอกสารวิชาการ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต นครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, กรมวิชาการเกษตร.
มูลนิธิชีวิถี. 2554. ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพคนไทย. แหล่งข้อมูล: http://www.biothai.net/node/8691. ค้นเมื่อ 27 เมษายน 2556.
เย้ง ลี, สันติไมตรี ก้อนคำดี และพลัง สุริหาร. 2556. ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชต่อการควบคุมวัชพืชและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพนาหว่านข้าวแห้ง. แก่นเกษตร. 41(ฉบับพิเศษ): 237-243.
รณชัยช่างศรี. 2545. การแข่งขันของวัชพืชและประสิทธิภาพของสาร BISPYRIBAC SODIUM ในนาหว่านข้าวแห้งพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
รณชัย ช่างศรี กรรณิกา นากลาง Stephan Haefele และ David Johnson. 2551. การประเมินผลผลิตข้าวที่สูญเสียเนื่องจากวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง จังหวัดสุรินทร์. หน้า 164-176. ใน: เอกสารประกอบการประชุมแถลงผลงานกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2551 วันที่ 10-11 มีนาคม 2552.
ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร.สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม. 2546. การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำส้มควันไม้. สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม. นครราชสีมา.
Acenas, X.S., J.P.P. Nunez, P.D. Seo, V.U. Ultra, Jr, and S.C. Lee. 2013. Mixing pyroligneous acid with herbicide to control barnyard grass (Echinochloa crus-galli). Weed Turf. Sci. 2: 1-6.
Akbar, N., E. Ehsanullah, K. Jabran, and M.A. Ali. 2011. Weed management improves yield and quality of direct seeded rice. Aust. J. Crop Sci. 5: 688-694.
Awan, T.H., P.C.S. Cruz, and B.S. Chauhan. 2015. Agronomic indices, growth, yield-contributing traits, and yield of dry-seeded rice under varying herbicides. Field Crop. Res. 177: 15-25.
Bernard, H., P.F Chabalier, J.L Chopart, B. Leqube, and M. Vauclin. 2005. Assessment of herbicide leaching risk in two tropical soils of Reunion Island (France). J. Environ. Qual.34: 534-543.
Chauhan, B.S., and J. Opena. 2013. Weed management and yield of rice sown at low seeding rate in mechanized dry-seeded systems. Field Crop. Res. 141: 9-15.
Gigliotti, G., A. Onofri, E. Pannacci, D. Businelli, and M. Trevisan. 2005. Influence of dissolved organic matter from waste material on the phytotoxicity and environmental fate of triflusulfuron methyl. Environ. Sci. Technol. 39: 7446-7451.
Gomez, K.A., and A.A. Gomez, 1984. Statistical Procedures for Agricultural Research. 2nd Edition. John Wiley and Sons Inc, New York.
Hasanuzzaman, M., M.O. Islam, and M.S. Bapiri. 2008. Efficacy of different herbicide over manual weeding in controlling weeds in transplanted rice. Aust. J. Crop Sci. 2: 18-24.
Mu J., T. Uehara, and T. Furuno. 2003. Effect of bamboo vinegar on regulation of germination and radical growth of seed plants. J. Wood Sci. 49: 262-270.
Rao, A.N., D.E. Johnson, B. Sivaprasad, J.K. Ladha, and A.M. Mortimer. 2007. Weed management in direct-seeded rice. Adv. Agron. 93: 153-255.
Rico, C.M., S. Souvandouane, L.O. Mintah, I.K. Chung, T.K. Son, and S.C. Lee. 2007a. Effect of mixed application of wood vinegar and herbicide on weed control, yield and quality of rice (Oryza sativa L.). Korean J. Crop. Sci. 52: 387-392.
Rico, C.M., L.O. Mintah, M.K. Kim, I.K. Chung, T.K Son, and S.C. Lee. 2007b. Effect of mixtures of wood vinegar and sulfonylurea-based herbicide on the control of mixed weed flora and the yield of transplanted rice (Oryza sativa L.). Philippine Agr. Sci. 90: 187-195.
Tiilikkala, K., I. Lindqvist, M. Hagner, H. Setala, and D. Perdikis. 2011. Use of botanical pesticides in modern plant protection. P. 259-272. In: M. Stoytcheva. Pesticides in the Modern World-Pesticides Use and Management. In Tech, Croatia.
Wei, Q., X. Ma, and J. Dong. 2010. Preparation, chemical constituents and antimicrobial activity of pyroligneous acids from walnut tree branches. J. Anal. Appl. Pyrol. 87: 24-28.